การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี


การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

โครงร่างสารนิพนธ์

เรื่อง

การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี

 โดย

นางสาวรุจิรา สุยะเหล็ก

รหัสประจำตัว  549904108

 โครงร่างสารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ปีการศึกษา 2555

 

1.ชื่อโครงการวิจัย               การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี

 2.ประเภทของการวิจัย       การวิจัยพื้นฐาน

 3.สาขาวิชาที่ทำการวิจัย    รัฐประศาสนศาสตร์

 4.ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย        นางสาวรุจิรา สุยะเหล็ก     รหัส 549904108     หมู่เรียน MPA54.1    หลักสูตร    รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 5.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

สุขภาพของมนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ สังคม  และสติปัญญาขณะเดียวกันการดำรงชีวิตก็มิอาจแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวได้หากยังต้องมีความสัมพันธ์กับคนอื่น  เริ่มจากพ่อ แม่  ญาติพี่น้องไปจนถึงผู้คนในสังคมด้วยเหตุนี้บุคคลต้องมีสุขภาพทางกายและจิตใจจะต้องสัมพันธ์กันด้วยดีควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ทางสังคมถึงจะทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีได้ แม้จะปลอดโรคหรือปัจจัยทางกายภาพที่เป็นตัวก่อโรคก็ใช่ว่าบุคคลจะมีสุขภาพหรือสุขภาวะที่ดีได้ การเสริมสร้างสุขภาพในลักษณะต่าง ๆ  จึงเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ครอบคลุมร่างกายทั่วทุกระบบ การปรับตัวลักษณะนี้นอกจากการปรับตัวทางด้านร่างกายแล้วต้องมีการปรับตัวด้านพฤติกรรมและการปรับตัวระดับจิตสำนึก หากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมก่อให้เกิดแบบแผนในระดับบุคคล เรียกว่า วิถีชีวิต บุคลิกภาพ และอุปนิสัย หากเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องทั้งชุมชนหรือสังคมย่อมกลายเป็นวัฒนธรรม สุขภาพซึ่งเป็นเรื่องของดุลยภาพในท่ามกลางปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งแนวทางในการรักษาสุขภาพที่เน้นการดำรงชีวิตให้มีความประสานสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ การส่งเสริมให้บุคคลมีชีวิตที่สมดุลบุคคลแต่ละคนจะมีบทบาทมากที่สุดในการดูแลสุขภาพของตนเอง บุคคลภายนอกหรือเทคโนโลยีมีส่วนช่วยหนุนเสริมเท่านั้น การมีสุขภาพดีไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดีรวมทั้งมีครอบครัวที่อบอุ่นและชุมชนที่เอื้ออาทรต่อกัน (ปาริชาติ เทพอารักษ์,2550:16)จากสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยด้านการมีสุขภาวะ พบว่า ในปัจจุบันยังมีปัญหาในหลายๆ ด้านที่จะต้องเร่งแก้ไขทั้งในด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพในการเรียนรู้

ปัจจุบันชุมชนชนบทไทยอยู่ในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ สถานการณ์ในระดับหมู่บ้าน ชาวบ้านมีการบริโภคแบบทุนนิยมครอบงำ ทำให้เกิดลักษณะแบบชนบทกึ่งเมือง เกษตรกรทำไร่ นา เฉพาะในฤดูเพาะปลูก นอกฤดูกาลมักออกไปรับจ้าง ใช้แรงงานนอกชุมชน ทำให้ในชุมชนมีแต่ผู้สูงอายุ และเด็กอาศัยในชุมชนเป็นหลัก ครอบครัวไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ในขณะที่ความเจริญด้านวัตถุ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ได้มีการกระจายไปทุกพื้นที่ สภาวะดังกล่าวทำให้สุขภาพร่างกายของประชาชน เกิดโรคภัยไข้เจ็บคล้ายกันเกือบทุกชุมชน ได้แก่โรคความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคที่เกิดจากความเครียด เช่น โรคกระเพาะ มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ด้านสุขภาพจิตใจ เกิดความเครียดจากภาวะหนี้สิน สิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ ด้านสุขภาพสังคม ครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กและเยาวชนมั่วสุมทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลเสีย อัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ความขัดแย้งทางการเมือง การจัดตั้งกลุ่มองค์กรแบบแยกส่วน เช่นมี กรรมการหมู่บ้าน อบต. สภาผู้นำ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ด้านสุขภาพทางปัญญา ผู้ที่อยู่ในวัยที่เป็นสติปัญญาของชุมชน อยู่ในภาวะที่ออกไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน การใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นในการต่อสู้กับกระแสบริโภคนิยมจากภายนอกยังมีน้อย ภาพรวมสุขภาวะดังกล่าว เป็นคล้ายกันทั่วทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลในประเทศไทย แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน โครงการ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (วาทินี ส่งกลิ่น,2548:2)รวมทั้งการมีกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ จำนวนมาก แต่ยังขาดข้อมูลสุขภาพ 4 มิติ และการพัฒนาตัวชี้วัดจากชุมชนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อตอบปัญหาสำคัญว่าปัญหาสุขภาพ 4 มิติ กาย ใจ สังคม สติปัญญาของประชาชนในชุมชนว่ามีปัญหาที่ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เป็นชุมชนที่มีการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชนให้ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

ดังนั้น การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน จึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจ ที่จะมีการพัฒนาให้ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ให้เกิดการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน โดยในงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อศึกษาให้เกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ประโยชน์ที่ได้รับทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ทำให้ทราบถึงการจัดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนในหมู่บ้านค่ายเก่า สามารถนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า และสามารถเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในด้านการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       1. เพื่อศึกษาพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

       2. เพื่อศึกษาให้เกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

 7.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       1.ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

       2.ทำให้ทราบถึงการจัดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

       3.สามารถนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

 8.ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

       ยิ่งยง   เทาประเสริฐ (2547) ศึกษาเรื่อง “ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา” พบว่า วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคมนับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิตโดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจากเอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ  แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่าซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยมและในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม    การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย  วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ย่อมมีเนื้อหา รูปแบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่าความแตกต่างนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้วก็สมควรให้กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การติดต่อแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมอื่น

       บริรักษ์ อุ่นคำ (2549) ศึกษาเรื่อง “มีการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพของบ้านป่าไม้แดง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่” พบว่า องค์การอนามัยโลก(WHO)จึงให้ความหมายของการมีสุขภาพแข็งแรง (Health) ไว้คลอบคลุม 4 มิติ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และ ปัญญาหรือจิตวิญญาณ และได้กำหนดแนวทางการสร้างความแข็งแรงทางสุขภาพไว้ตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) ไว้ 5 ด้าน คือด้านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ( Healthy public policy)ด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสุขภาพ (Health Environment) ด้านสร้างความเข้มแข็งของชุมชน(Community Strength )ด้านส่งเสริมพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Personal Skill Develop)ด้านการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข (Health Services System Reorient) เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสมีสุขภาพที่ดี

       โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2550) ศึกษาเรื่อง “หลักการพื้นฐานของสุขภาพองค์รวมในการบำบัดทางเลือกและสุขภาพองค์รวม” พบว่า สุขภาพแบบองค์รวมว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทั้งชีวิตมากกว่าการเน้นแค่ความเจ็บป่วยหรือการจัดการกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยพิจารณา “คนทั้งคน” ที่เกี่ยวเนื่องกันของร่างกายจิตใจ และจิตวิญญาณ รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนคนนั้น  สุขภาพแบบองค์รวมเน้นความสัมพันธ์ที่มีดุลยภาพของระบบสุขภาพที่ไม่มีการแยกขาดระหว่างร่างกาย จิต สังคม และนิเวศน์วิทยา กระบวนการทางสุขภาพจึงไม่แยกขาดตัดตอนออกจากกระบวนการทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม สุขภาพแบบองค์รวมจึงมิได้หมายถึงเฉพาะเทคนิคการดูแลสุขภาพแต่รวมถึงการปรับวิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ การกินอาหาร ตลอดจนการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมของบุคคลด้วยภารกิจของการสร้างระบบสุขภาพที่เป็นองค์รวมจึงเป็นเรื่องของการสร้างองค์ความรู้หากเห็นความสำคัญของการที่จะทำให้จินตนาการใหม่ของระบบสุขภาพที่ต้องการให้เกิดบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นจริงและเข้าใจลักษณะองค์รวมของความเป็นมนุษย์จะต้องมีความเข้มแข็งทางวิชาการอย่างมากและมีการสร้างความรู้และทักษะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในการสร้างกลไกเพื่อพัฒนาความรู้ในการเข้าใจสุขภาพในมิติองค์รวมมากขึ้น และทำอย่างไรให้คนทำงานบริการระดับต้นมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งสามารถผสมผสานศาสตร์และศิลป์ที่จะทำให้บริการสุขภาพมีมิติของความเป็นมนุษย์

       พระไพศาล วิสาโล (2550) ศึกษาเรื่อง “สุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม”พบว่าให้ทรรศนะในการพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคลและสังคมที่เน้นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความผาสุกทั้งในร่างกาย จิตใจ   สังคม  และธรรมชาติ     โดยให้คำจำกัดความของสุขภาพแบบองค์รวมว่า “การคิดแบบองค์รวม” เป็นการเชื่อมโยงชีวิตของผู้คนกับสังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา จึงควรปรับทรรศนะเรื่องสุขภาพทั้งหมดของประชาชนและสาธารณะรวมถึงศึกษาวิจัยการแพทย์พหุลักษณ์ทุกด้านโดยเน้นความเข้าใจวิธีคิดของประชาชน จึงเป็นการศึกษาระบบคิดหรือศึกษาวัฒนธรรมในทรรศนะคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการพัฒนาที่มีเป้าหมายให้เกิดความหลากหลายที่บูรณาการขึ้น เป็นการเปิดคุณค่าให้สังคมมีทางออก ดังนั้นสุขภาพองค์รวมจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องวัฒนธรรม ความหลากหลายของท้องถิ่น การส่งเสริมให้มีองค์กรชุมชนเพื่อให้ชุมชนเป็นตัวของตัวเอง สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ จิตใจ วัฒนธรรม การเมือง สิ่งแวดล้อม ที่สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นประชาธิปไตย มีการกระจายอำนาจมีความชอบธรรม ส่งเสริมการจัดตั้งสถานบำบัดธรรมชาติ เช่น เกษตรผสมผสาน เกษตรไร้สารเคมี ทำให้ได้สัมผัสธรรมชาติ สัมผัสกับเพื่อนบ้านรวมถึงชุมชนรอบข้างได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษได้อยู่กับธรรมชาติ

       เสาวภา  พรสิริพงษ์ (2550 ) ศึกษาเรื่อง “คู่มือการอบรมการแพทย์แผนไทย” พบว่าทั้งนี้โครงสร้าง ก็คือ สถาบันของสังคมที่เกิดมาจากความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์นั่นเอง เขาเชื่อว่ามนุษย์ในทุกสังคมวัฒนธรรมมีความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ และหน้าที่หลักของวัฒนธรรมคือ การตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์หรือเปรียบเทียบเสมือนเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน 3 ด้านของมนุษย์ คือ ความต้องการด้านความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Biological and Psychological Needs) ความต้องการด้านสังคม (Instrumental Needs) และความต้องการทางด้านจิตใจ (Symbolic Needs) โดยวัฒนธรรมทุกด้านมีหน้าที่ต้องทำคือการตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่างดังกล่าว ส่วนย่อยของวัฒนธรรมมีหน้าที่เพื่อสนองความต้องการของปัจเจกชนในสังคมนั้น

       ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช (2550) ศึกษาเรื่อง “กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่:กรณีศึกษาบ้านสบยาบ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย” พบว่า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community ActionResearch: CAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการเป็นชุมชนน่าอยู่โดยอาศัยแนวคิดทฤษฏีต่าง ๆ มาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ได้แก่ ศักยภาพของชุมชนการมีส่วนร่วมของชุมชน เมืองน่าอยู่ และการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีกิจกรรมหลัก3 ประการ คือ การวิจัย การพัฒนาศักยภาพ และการปฏิบัติจริง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน3 ขั้นตอน คือ 1) การมองเป้าหมายร่วมกัน 2) การสร้างโครงสร้าง/ กลไกพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) การทำโครงการร่วมกัน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึกการดำเนินงานของชุมชน และสัมภาษณ์ประชาชนข้อมูลได้รับการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ แยกแยะตามหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนด วิเคราะห์และนำเสนอ

 

กรอบแนวคิด

ตัวแปรอิสระ                                                         ตัวแปรตาม

 

ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล                              การจัดการความรู้ด้าน

                                                             การพัฒนาศักยภาพชุมชน

-      เพศ                                                           -ด้านร่างกาย

-      สถานภาพ                                                   -ด้านจิตใจ

-      อายุ                                                           -ด้านสังคม

-      อาชีพ                                                         -ด้านสติปัญญา

-      ระดับการศึกษา

-      รายได้ต่อเดือน

 

 9.ขอบเขตของการศึกษา

 

9.1ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และแหล่งข้อมูลที่จะศึกษา

1.ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวน 2,342 คน

2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 331 คน โดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน(Kerjcie and Morgan) 

9.2 ด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านสุขภาวะชุมชน 4 มิติ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

9.3 ด้านตัวแปร   

ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่าได้แก่ เพศสถานภาพ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน

ตัวแปรตาม คือ การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน ทางการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชนทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา

ปัญหาการวิจัย คือ ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่ามีการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพชุมชนเป็นอย่างไร         

 10.ระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย

                วันที่ 1 กรกฎาคม  2555  ถึง วันที่ 1 มิถุนายน 2556  เป็นเวลา 12 เดือน

 นิยามศัพท์เฉพาะ

การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้านค่ายเก่า ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างมีกระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชนและเกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

การพัฒนาศักยภาพ  หมายถึง การนำเอาความสามารถที่ซ่อนเร้นภายในร่างกาย นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีกระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน

สุขภาวะ  หมายถึง  การทำให้สุขภาพทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา เกิดภาวะสมดุล  เชื่อมโยงกันเป็นบูรณาการ จนนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพแก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

ชุมชน (Community)  หมายถึง กลุ่มคนที่มารวมตัวกันโดยมีเป้าหมายและกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

การพัฒนาสุขภาวะชุมชน หมายถึง การดำเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า

สุขภาวะทางกาย หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย

สุขภาวะทางจิต หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า มีจิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ มีสมาธิ

สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านค่ายเก่าด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี และมีสันติภาพ

สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า มีความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว

 11.วิธีดำเนินการวิจัย

 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ซึ่งจะมีการศึกษาดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวน 2,342 คน

1.2กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 331 คน โดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน (Kerjcie and Morgan)

 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2.1 ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลที่นำมาประกอบการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น 331 ชุด

2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี จากตำรา เอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ วารสาร กฎหมาย ระเบียบ บทความวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ และงานวิจัยต่างๆ โดยได้นำเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมาเรียบเรียงเพื่อนำมาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ค้นคว้าวิจัย

 2.2 วิธีการสร้างเครื่องมือ

ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีกรอบแนวคิดในการวิจัย และตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ จากนั้นนำเครื่องมือให้อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ และผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณา ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และความเหมาะสมของแบบสอบถาม แล้วดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำ โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด(Close End Question) และปลายเปิด (Open End Question) มีเนื้อหาเป็น 3 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างโดยสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ลักษณะคำถามเป็นแบบปลายปิด (Close Ended Question) 

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อ การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี มีลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบปลายปิดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบตามความคิดเห็น มีเกณฑ์   5  ระดับ คือ

                                ระดับมากที่สุด                    =  5    คะแนน

                                ระดับมาก                           =  4    คะแนน

                                ระดับปานกลาง                    =  3    คะแนน

                                ระดับน้อย                          =  2    คะแนน

                                ระดับน้อยที่สุด                    =  1    คะแนน

                               

ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี เป็นการแสดงความคิดเห็น เพื่อต้องการแก้ไข ปรับปรุง  การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะคำถามแบบปลายเปิด (Open Ended Question)

 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

                ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการออกเก็บข้อมูลภาคสนามมีวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน  คือ

                ผู้วิจัยได้ดำเนินการสำรวจภาคสนาม โดยนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วไปสอบถามประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยให้ประชาชนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง  (Self – Administered Survey)               

4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                เพื่อให้การศึกษาวิจัยดำเนินการไปอย่างน่าเชื่อถือ  ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

                1.  ลงหมายเลขประจำตัวแบบสอบถามโดยเริ่มจากฉบับแรกถึงฉบับสุดท้ายตามลำดับ เพื่อสะดวกในการดำเนินการขั้นตอนต่อไป และเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบภายหลัง

                2.  นำแบบสอบถาม ทุกฉบับที่ได้กลับคืนมาและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ แล้วนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                3.  นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทางสังคมศาสตร์

 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ใช้สถิติต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1.  การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ สถานภาพ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage)

2.  การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะชุมชน แก่ประชาชนในหมู่บ้านค่ายเก่า ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

                โดยพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตามแนวคิดของเบสท์ (Best) มีรายละเอียดดังนี้

                ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แสดงว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

                ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แสดงว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

                ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แสดงว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

                ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แสดงว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย

                ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 แสดงว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด

               

12.สถานที่ทำการวิจัย

                หมู่บ้านค่ายเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 13.แผนการดำเนินการวิจัย

<td valign="top" widt

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ระยะเวลา (ปีพ.ศ.2555 – 2556)

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

1. กำหนดประเด็นหัวข้องานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ออกแบบงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. การเขียนรายงานการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศักยภาพชุมชน
หมายเลขบันทึก: 503143เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท