การผสมพันธุ์ของผึ้ง


การผสมพันธุ์ผึ้ง





     คือพฤติกรรมที่ผึ้งตัวผู้จะบินออกไปผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญากลางอากาศผึ้งจะบินออก
ไปผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญากลางอากาศผึ้งจะบินออกไปผสมพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 3-7 วัน ผึ้งตัวผู้บอนออกไปเป็นกลุ่มและชอบทำเสียงแหลมซึ้งต่างจากผึ้งงาน เพราะความถี่ในการตีปีก
ต่างกัน ก่อนบินมันจะกินน้ำผึ้ง ทำความสะอาดหนวดและตาของมัน จากนั้นก็บินออกไปรวมกลุ่มกันก่อนยังบริเวณที่เรียกว่า “ที่รวมกลุ่มของผึ้งตัวผู้” ทันทีที่ได้กลิ่นจากผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้จะรับบินตามขึ้นไป ผึ้งตัวผู้ตัวแรกที่บินไปถึงก่อนจะได้ผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญาเมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว
อวัยวะสืบพันธุ์จะขาดจากตัว ทำให้ผึ้งตัวผู้ตกลงมาตาย ผึ้งนางพญาจะสลัดอวัยวะ
สืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้ออก และทำการผสมกับผึ้งตัวผู้ตัวต่อไปจนครบ 10 ตัว จึงจะบินกลับรัง โดยทั่วไปแล้วผึ้งนางพญาจะทำการผสมพันธุ์กับผึ้งตัวตัวผู้จากรังอื่นๆ ที่ต่างสายเลือดกัน ผึ้งนางพญาจะเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ไว้ได้ถึง 5-6 ล้านตัว (อสุจิ) เพื่อใช้ผสมกับไข่ไปจนตลอดชีวิตโดยไม่ต้องบินไปผสมกับตัวผู้อีกเลย

    อะไรคือสิ่งที่ดึงดูดผึ้งตัวผู้ให้บินขึ้นไปหาผู้นางพญาได้อย่างถูกต้อง?

    คำตอบคือ สารเคมีหรือเฟอโรโมนของผึ้งนางพญาจะทำให้ผึ้งตัวผู้มีพฤติกรรมตอบสนองทางเพศโดยบินเข้าหา
นางพญา สารนี้จะทำงานเฉพาะเมื่อมันอยู่ภายนอกรังและอยู่สูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 15 ฟุตเท่านั้น

    เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ อาหารหายาก ผึ้งงานจะกีดกันผึ้งตัวผู้ขากการกินน้ำผึ้งที่เก็บไว้และลากมันออกมานอกรัง ผึ้งตัวผู้จะอดตายในที่สุด บางครั้งผึ้งงานอาจดึงตัวอ่อนที่เจริญเป็นผึ้งตัวผู้ออกจากหลอดรวงและคาบออกนอกรังด้วย เมื่อเกิดขาดแคลนอาหารภายในรัง

    การวางไข่ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากการผสมพันธุ์ โดยผึ้งนางพญาจะเดินหาหลอดรวงที่ว่างที่ต้องการจะวางไข่ ผึ้งนางพญาใช้ส่วนหัวหนวด และขาหน้า สัมผัสตามหลอดรวงต่างๆ  เป็นการวัดขนาดของหลอดรวง เมื่อพบแล้วจะยื่นส่วนปลายท้องลงไปวางไข่ ปกติผึ้งนางพญาวางไข่ 1 ฟองภายใน 1 หลอดรวง ถ้าเป็นหลอดรวงใหญ่จะวางไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ไข่นั้นจะเจริญเป็นผึ้งตัวผู้ แต่ถ้าเป็นหลอดรวงเล็กจะวางไข่ที่ผสมด้วยอสุจิซึ่งจะเกิดเป็นเพศเมียคือ ผึ้งงานนั้นเอง ไข่ที่จะเกิดเป็นผึ้งนางพญาจะเป็นไข่ที่ได้รับการผสมเช่นกัน

    การวางไข่โดยมากจะเริ่มใน 2-3 วันหลังจากผสมพันธุ์ และดำเนินต่อไปตลอดชีวิตที่เหลือ ยกเว้ยช่วงที่ขาดแคลนเกสร ปกติผึ้งงานประจำรังจะให้อาหารนางพญาสม่ำเสมอ ในระยะวางไข่
และกำจัดของเสียของผึ้งนางพญา รวมทั้งเก็บไข่ที่หล่นนอกหลอดรวงโดยบังเอิญ

    การแยกรัง เป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่ผึ้งจะสร้างรังใหม่ ผึ้งนางพญาที่แก่แล้วมีโอกาสที่จะแยกรังมากกว่าผึ้งนางพญาที่มีอายุน้อย สัญญาณการแยกรังจะมี
อย่างน้อย 7-10 วันก่อนแยกรังโดยเริ่มแรกผึ้งงานจะสร้างหลอดรวงนางพญาด้านล่างของรวง ในขณะเดียวกันตัวอ่อนจะมีปริมาณผึ้งตัวผู้มากขึ้น เมื่อใกล้ถึงฤดูแยกรัง ผึ้งนางพญาจะเพิ่มอัตราการ
วางไข่ เพื่อเพิ่มประชากรให้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการหาอาหารมากขึ้น มีการรวบรวมน้ำหวานและ
เกสร เกือบทุกหลอดรวงจะเต็มไปด้วยน้ำผึ้ง เกสรหรือตัวอ่อนเมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้นถึงจุดหนึ่งจน
ไม่มีหลอดรวงว่างให้นางพญาวางไข่ ผึ้งงานจะป้อนอาการให้กับผึ้งนางพญาน้อยลง ทำให้น้ำหนึกตัวของนางพญาลดลง

    เมื่อนางพญาตัวใหม่ฟักตัวออกจากไข่ ช่วงนี้เองตัวอ่อนที่อยู่ในหลอดรวงปิดทั้งหมดจะไม่ต้องการอาหารเพิ่มอีก ดังนั้นจะมีผึ้งงานอายุน้อยจำนวนมากมายที่เกิดขึ้นและไม่มีงานทำ สภาพเหล่านี้จะเป็นสัญญาณให้มันเตรียมตัวก่อนแยกรังในขณะที่ผึ้งนางพญาตัวใหม่กำลังจะเกิดขึ้น ในวันที่อบอุ่นมีแสงแดดตามปกติระหว่าง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง ผึ้งจำนวนมากจะรีบออกจากรังพร้อมกับผึ้งนางพญาตัวเก่าที่มีน้ำหนักลดลงปริมาณร้อยละ 30 มันจะบินตามผึ้งงานไป โดยถูกห้อมล้อมด้วยผึ้งงาน ผึ้งงานที่แยกไปส่วนใหญ่อายุมากกว่า 20 วัน ผึ้งงานบางตัวจะหยุดใกล้รัง
และปล่อยกลิ่นนำทาง ทำให้ผึ้งตัวอื่นๆ ที่บินไม่ทัน สามารถบินตามกันไปในทิศทางเดียวกันรวมเป็นฝูงเพื่อไปที่ตั้ง สร้างรังใหม่ต่อไป ในรังเดิมจะมีผึ้งนางพญาตัวใหม่เกิดขึ้นปกครองผึ้งงานที่เหลืออยู่ต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #Apiculture1_55
หมายเลขบันทึก: 502557เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2012 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใครเป็นคนแรกที่วิจัยเรื่องนี้คิดว่าเขาต้องมีความพยายามอดทนอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท