เคล็ดไม่ลับของไขผึ้ง


เคล็ดไม่ลับของไขผึ้ง

 ไขผึ้ง (Bees Wax)

  ไขผึ้งเป็นสารที่ผึ้งงานผลิตจากต่อมไขผึ้ง (wax gland) เพื่อใช้สร้างรวงผึ้ง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง ไขผึ้งที่ผลิตออกมา
จากต่อมไขผึ้งจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ (wax scale)  สีขาวใส  มีน้ำหนักเบา  เกล็ดมีขนาดประมาณ 1x1 มิลลิเมตร  หนาประมาณ
0.2-0.5 มิลลิเมตร  ถ้านำแผ่นไขผึ้งประมาณ  800,000 เกล็ดมาชั่ง  มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม  และผึ้งต้องกินน้ำหวานมากถึง  8
กิโลกรัม  เพื่อผลิตไขผึ้ง 1 กิโลกรัม (สมนึก บุญเกิด , 2544)

แหล่งที่มาของไขผึ้ง
       ไขผึ้งส่วนใหญ่ได้มาจากการเลี้ยงผึ้งอุตสาหกรรมหรือผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera)  โดยรวบรวมจากรวงผึ้งเก่า (old comb)
รวงส่วนเกิน (burr comb)  และจากส่วนที่ได้มาจากกการปาดรวงน้ำผึ้ง (capping wax)  ก่อนนำไปเข้าเครื่องสลัดน้ำผึ้ง ไขผึ้งที่ได้
จากแหล่งที่มาต่างกัน  มีผลต่อคุณภาพของไขผึ้ง  ดังนี้
           1. ไขผึ้งที่ได้จากการนำรวงผึ้งเก่ามาหลอม  มักมีสีคล้ำ  เพราะมีสิ่งเจือปนมาก  เช่น  ชันผึ้ง  เกสรผึ้ง  และคราบดักแด้ต้อง
นำไปฟอกสีก่อน ถ้าต้องการขายให้ได้ราคาสูงขึ้น ไขผึ้งที่ได้มาจากส่วนนี้ราคาถูกที่สุด  เพราะมีสิ่งเจือปน  ได้แก่ สารพวกคาโรทีนอยด์
และไอโอดีน
           2. ไขผึ้งที่ได้จากรวงส่วนเกิน  เมื่อทำการขูดทำความสะอาดคอนผึ้งที่ผึ้งกำลังสร้างรวงส่วนเกิน ผึ้งงานสร้างรวงส่วนเกินขึ้นมา
ตรงบริเวณที่มีช่องว่างในรัง  ซึ่งกว้างเกินระยะช่องผึ้ง (bee space) หรือ 3/8 นิ้ว  ที่ผึ้งใช้เป็นทางเดิน  เพื่อการติดต่อกันระหว่างผึ้ง
งานด้วยกันเอง  รวงส่วนเกินนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผึ้งรังนั้นมีประชากรมากขึ้น เพราะนางพญาไข่ดก และแหล่งอาหารในธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
           3. ไขผึ้งที่ได้จากการปาด หรือเปิดฝารวงน้ำผึ้ง  ก่อนที่จะนำคอนน้ำผึ้งไปเข้าเครื่องสลัดน้ำผึ้งไขผึ้งที่ได้จากการปาดรวงน้ำผึ้ง 
เป็นไขผึ้งที่มีคุณภาพดีที่สุด  ไขผึ้งชนิดนี้มักใช้ทำเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง

องค์ประกอบของไขผึ้ง
           ผึ้งงานต้องกินน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง  จำนวนมากถึง  8  กิโลกรัม  เพื่อผลิตไขผึ้งได้เพียง  1 กิโลกรัม ไขผึ้งจึงมีองค์ประกอบของ
โมเลกุลของธาตุหลักเช่นเดียวกับน้ำผึ้ง  คือ  คาร์บอน  ไฮโดรเจน  และออกซิเจน โดยมีสัดส่วนของสารประกอบชนิดต่าง ๆ ดังนี้
           1. ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbons)  14%
           2. โมโนเอสเทอร์ (monoesters)  35%
           3. ไดเอสเทอร์ (diesters)  14%
           4. ไตรเอสเทอร์ (triesters)  3%
           5. ไฮดรอกซี่โมโนเอสเทอร์ (hydroxy  monoesters)  4%
           6. ไฮดรอกซี่โพลีเอสเทอร์ (hydroxyl  polyesters)  8%
           7. กรดเอสเทอร์ (acid esters)  1%
           8. กรดโพลีเอสเทอร์ (acid polyesters)  2%
           9. กรดอิสระ (free acid)  12%
          10. แอลกอฮอล์อิสระ (free alcohols)  1%
          11. สารที่ยังไม่ทราบชนิด (unidentifiect)  6%

คุณสมบัติของไขผึ้ง
          1. ไขผึ้งบริสุทธิ์จะไม่มีสีหรือเห็นเป็นสีใส ๆ โปร่งแสง  ไขผึ้งละลายได้ดีในน้ำมัน  โดยเฉพาะน้ำมันสน  แต่ไม่ละลายในน้ำ
  ถ้านำไขผึ้งที่แข็งไปต้มในน้ำ  ไขผึ้งจะหลอมละลายลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ                 
          2. ไขผึ้งมีจุดหลอมเหลวเฉลี่ยที่ 63-65 องศาเซลเซียส  ถ้าได้รับความร้อนสูงกว่าจุดหลอมเหลว จะเกิดเปลวไฟหรือติดไฟ 
ลุกไหม้เหมือนก๊าซจะเป็นอันตราย  ดังนั้นการหลอมไขผึ้ง  ควรใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือนึ่งในน้ำร้อน         
                     3. ไขผึ้งถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ  ไขผึ้งจะหดตัวและทำให้เปราะแตกง่าย  เช่น  เก็บไขผึ้งไว้ที่ 10 องศาเซลเซียส ปริมาตร
ของไขผึ้งจะลดลงประมาณ 10 เปอร์เซนต์

การนำไปใช้ประโยชน์
         ไขผึ้งที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากไขผึ้งนั้นมีคุณภาพกายภาพและทางเคมี  สูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้
จากไขเทียม  ไขผึ้งนอกจากนำไปทำเทียนไขแล้ว ยังใช้ทำเครื่องสำอาง  กระบวนการทำ  ผ้าบาติก งานโลหะ ใช้เป็นสารกันน้ำ 
สารขัดเงา   สารหล่อลื่น  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้              
                1. ใช้ทำเครื่องสำอาง  ประมาณร้อยละ  35-40

                2. ใช้ในงานเภสัชกรรม  ประมาณร้อยละ  25-30

                3. ใช้ทำเทียนไข  ประมาณร้อยละ  20

                4. ใช้ทำอื่น ๆ  ประมาณร้อยละ  10-20
ประเทศที่ใช้ไขผึ้งมากที่สุดในโลก คือ  อเมริกา  ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น  และเยอรมัน  ตามลำดับ  และที่สำคัญคือ  ไขผึ้งแท้ถูกนำ
  กลับมาใช้ทำแผ่นรังเทียม  เพื่อประหยัดเวลาในการสร้างรวงรังให้แก่ผึ้ง  ทำให้เก็บน้ำผึ้งได้มากขึ้น

วิธีการเก็บไขผึ้ง
            1. ไขผึ้งที่หลอมแล้วต้องห่อหุ้มด้วยพลาสติก  ระบุขนาด  น้ำหนัก และวัน เดือน ปี ที่ผลิต
            2. สถานที่เก็บไขผึ้ง  เก็บที่อุณหภูมิห้อง  โดยห้องนั้นต้องสะอาด  แห้ง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก   และไขผึ้งต้องไม่สัมผัสกับ
แสงอาทิตย์โดยตรง

วิธีหลอมไขผึ้ง
            1. คอนผึ้งเก่าที่จะนำมาหลอมเป็นไขผึ้ง  ให้นำออกจากกรอบคอนผึ้งทั้งส่วนที่เป็นไม้และลวดให้เรียบร้อย

           2. หลอมไขผึ้งในถังสแตนเลส 2 ชั้น ที่มีชั้นน้ำร้อนคั่นกลางห้ามหลอมไขผึ้งในถังสแตนเลสที่ผิวโลหะสัมผัสกับความร้อนโดยตรง

            3. ให้รีบหลอมรวงผึ้งเก่าโดยเร็ว  และจัดการเศษที่เหลือจากการหลอมรวงผึ้งเก่า เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

คำสำคัญ (Tags): #Apiculture1_55
หมายเลขบันทึก: 502528เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2012 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ข้อมูลดีมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท