แบบทดสอบทบทวนวรรณกรรมท้องถิ่น


วรรณกรรมท้องถิ่น

แบบทดสอบทบทวน วิชาวรรณกรรมท้องถิ่น คำชี้แจง นักเรียนเลือกคำตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว กาเครื่องหมาย( ) ในกระดาษคำตอบ ๑. ข้อใดเป็นลำดับการแสดงเพลงพวงมาลัยที่ถูกต้อง

ก.  บทไหว้ครู บทอวยพร บทโต้ตอบ            ข.  บทไหว้ครู บทเกริ่น บทอวยพร
ค.  บทเกริ่น บทอวยพร บทไหว้ครู            ง.  บทอวยพร บทเกริ่น บทไหว้ครู

๒. เพลงพวงมาลัยนิยมเล่นในเทศกาลใด

ก.  บวชนาค                                ข.  แต่งงาน      
ค.  ตรุษสงกรานต์                      ง. งานศพ

๓. ลูกคู่ในการแสดงเพลงอีแซวมีหน้าที่อะไร

ก.  ร้องรับและรำ                      ข.  ร้องรับและปรบมือ
ค.  ปรบมือและร้องนำ                 ง.  ร้องนำและรำ  

๔. เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงพื้นบ้านของภาคใด

ก.  ภาคเหนือ                              ข.  ภาคอีสาน                 
ค.  ภาคกลาง                         ง.  ภาคใต้             

๕. ข้อใดไม่เป็นการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน

ก.  ปลาชอบชมการแสดงเพลงพื้นบ้าน             ข.  นกชอบร้องเพลงพื้นบ้าน
ค.  ไก่ชอบแต่งเพลงพื้นบ้าน                ง.  เป็ดชอบประกวดร้องเพลง

๖. ข้อใดเป็นประโยชน์และคุณค่าของเพลงพื้นบ้าน ก. ทราบเกร็ดย่อยความรู้ในด้านต่าง ๆ ข. ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้น ค. ทำให้ทราบลักษณะของวรรณกรรมลายลักษณ์ท้องถิ่น ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก ๗. การละเล่นเพลงพื้นบ้าน แสดงถึงเรื่องใดของคนไทยเด่นชัดที่สุด

ก. สนุกสนาน                       ข. มีอารมณ์ขัน
ค. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์             ง. มีปฏิภาณไหวพริบในเชิงบทกลอน

๘. ความหมายของเพลงพื้นบ้าน ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ก. เพลงที่ชาวบ้านร้อง ข. เพลงที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้น ค. เพลงที่ชาวบ้านร่วมกันรื่นเริง ง. เพลงที่ชาวบ้านร่วมกันแสดง ๙. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของเพลงพื้นบ้านเด่นชัดที่สุด ก. แสดงเอกลักษณ์ของคนในหมู่บ้าน ข. ทุกคนร้องได้ ค. มีสัมผัสคล้องจอง ง. ให้ความบันเทิง ๑๐ . โดยทั่วไปแล้วเพลงพื้นบ้านจะมีลักษณะเด่น คือ ก. มีความสนุกสนาน ใช้ภาษาคมคาย มีภาษาบาลีสันสกฤต ข. มีความเรียบง่ายทั้งด้านแต่งกาย และการเล่น ค. เป็นวรรณกรรมอมุขปาฐะ มีความเป็นพื้นบ้านพื้นเมือง ง. มีภาษาถิ่นปะปนอยู่ จังหวะเร้าใจ ใช้ศัพท์สูงชวนฟัง ๑๑. เพลงพื้นบ้านที่ประกอบการทำงาน คือเพลงอะไร ก. เพลงเต้นกำรำเคียว ข. หมอลำ ค. เพลงเรือ ง. เพลงฉ่อย ๑๒. เพลงที่ใช้ร้องเกี้ยวพาราสีกัน หลังจากทำบุญตักบาตรแล้วมานั่งรอบโบสถ์ เรียกว่าเพลงอะไร ก. เพลงพวงมาลัย ข. เพลงลำตัด ค. เพลงรำวง ง. เพลงพิษฐาน ๑๓. "จะให้นั่งแต่หอทอแต่หูก นั่งเลี้ยงแต่กันแต่ไร" จากบทเพลงนี้ทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง ก. การทำงาน การเลี้ยงดูบุตร ข. การเลี้ยงลูกในสมัยโบราณ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ค. การทอผ้า การแต่งกาย ง. การปลูกเรือน การเลี้ยงดูบุตร ๑๔. "วัดเอ๋ย วัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพดสาลี เจ้าลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี ต้นข้าวโพดสาลี ตั้งแต่นี้จะโรยรา" เพลงกล่อมเด็กนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร ก. สอนให้รู้จักมีสัมมาอาชีพ ข. สอนให้มีความประพฤติดี ค. สอนเกี่ยวกับความรัก การทำมาหากิน ง. สอนให้เป็นผู้มีคุณธรรม ๑๕. เพลงกล่อมเด็กมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร ก. อบรมสั่งสอน ข. แสดงความในใจของแม่ที่มีต่อลูก ค. ต้องการให้เด็กนอนหลับ ง. ถูกทุกข้อ ๑๖. สำนวนในข้อใดมีความหมายไม่ตรงกับข้ออื่น ก. กบเกิดในกะลาครอบ ข. กบเกิดใต้บัวบาน ค. มดแดงแฝงมะม่วงงอม ง. จวักตักแกง ๑๗. เขาชมพ่ออยู่เสมอว่า พ่อเป็นข้าราชการที่ “มือสะอาด” คำว่ามือสะอาดหมายถึงอะไร

ก.  พ่อชอบล้างมืออยู่เสมอ               ข.  พ่อทำงานด้วยความขยันขันแข็ง 

ค. พ่อทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ง. พ่อทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ๑๘. เราเปรียบเทียบ “ความขาว” ในข้อใดได้ถูกต้อง

ก. ขาวเหมือน สำลีเม็ดใน                 ข. ขาวเหมือนสำลี                                          
        ค.ขาวเหมือนนุ่น         ง.  ขาวเหมือนเมฆบนท้องฟ้า

๑๙. ความหมาย “อยู่กับกลุ่มใดต้องปฏิบัติตามให้เข้ากับกลุ่มนั้น” ตรงกับคำพังเพยในข้อใด

ก.  น้ำขุ่นอยู่ในน้ำใสอยู่นอก               ข.  ปิดทองหลังพระ

ค. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม ง. จับปลาสองมือ ๒๐. ความหมาย “อยากได้มากเกินไปในที่สุดไม่ได้อะไรเลย” ตรงกับสุภาษิตในข้อใด

ก.  ขายผ้าเอาหน้ารอด                  ข.  ฝนทั่งเป็นเข็ม    

ค. โลภมากลาภหาย ง. ขี่ช้างจับตั๊กแตน ๒๑. “......เหมือนตาตั๊กแตน” สำนวนเปรียบเทียบในข้อใดที่เหมาะสมจะนำมาเติมใส่ในช่องว่าง

ก.  ขุน     ข.  เขียว               ค.  วาว     ง.  ใส

๒๒. “ตำรวจจับพวก สิบแปดมงกุฎมาลงโทษ” สำนวน สิบแปดมงกุฎ หมายถึงข้อใด

ก.  โจรที่ชอบขโมยมงกุฏร้านเพชร                ข.  โจร ๑๘ คนที่ชอบทำผิดกฏหมาย
ค.  พวกนักเลงที่ชอบสักมงกุฎไว้ที่แผ่นหลัง   ง.  พวกที่ยักยอก ต้มตุ๋น หลอกลวง เช่นแก๊งตกทอง  

๒๓. “พ่อดุแล้ว ทำเป็น ไม่รู้ร้อนรู้หนาว เลยนะ” ความหมายของไม่รู้ร้อนรู้หนาว

         ก.  ไม่กระตื้อรือร้น  เฉยเมย  ไม่สะดุ้งสะเทือน       ข.  ไม่รู้สึกร้อนเมื่อถูกไฟ         

ค. ไม่รู้สึกหนาวเมื่อถูกความเย็น ง. หมดสติ/ไม่รู้สึกตัว ๒๔. “อุดมมือกาวจริง ๆ มาบ้านฉันทีไรได้เรื่องทุกที” คำว่ามือกาวมีความหมายอย่างไร
ก. มีกาวติดที่ผ่ามือ ข. ขี้ขโมยชอบหยิบฉวยของ ค. มือสกปรกเปรอะเปื้อน ง. มีถุงมือ ๒๕. สำนวนเปรียบเทียบในข้อใดที่ใช้ไม่เหมาะสม ก. โกรธเป็นฟืนเป็นไฟไหม้ป่า ข. ดำเหมือนสีดำ

ค.  รักดังแก้วตาดวงใจ                   ง.  พูดเป็นต่อยหอย

๒๖. สำนวนเปรียบเทียบในข้อใดที่ใช้ไม่ถูกต้อง

ก.  ดำเหมือนตอตะโก                    ข.  ขมเหมือนบอระเพ็ด

ค. ซีดเป็นไก่ต้ม ง. เปรี้ยวเหมือนส้ม ๒๗. วันพรุ่งนี้สอบ คืนนี้ค่อยดูหนังสือ" ตรงกับสำนวนใด

         ก. หวังน้ำบ่อหน้า                    ข. ใจดีสู้เสือ
         ค. ตำข้าวสารกรอกหม้อ                   ง. ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม

๒๘. การทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์มากมายแล้วได้ผลไม่คุ้มค่ากับเงินทองที่ต้องเสียไป ตรงกับสำนวนใด

         ก. ตีงูให้กากิน                      ข. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
         ค. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น              ง. เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียนาน

๒๙. ต่างคนต่างแรงไม่ยอมกัน ตรงกับสำนวนใด

         ก. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่                ข. ขนมพอสมน้ำยา
         ค. ขิงก็ราข่าก็แรง                     ง. เกลือจิ้มเกลือ

๓๐. ให้ระมัดระวังคำพูดและการกระทำให้ดี อาจมีคนได้ยินหรือเห็นได้ ตรงกับสำนวนใด

         ก. ตาเป็นนกแขวก                  ข. ตาเป็นสับปะรด
         ค. ตาเฟื้องตาสลึง                        ง. กำแพงมีหู ประตูมีช่อง

๓๑."พูดให้เขวไปนอกเรื่อง" ตรงกับสำนวนข้อใด

         ก. ชักใบให้เรือเสีย                  ข. ชักน้ำเข้าลึก
         ค. ชักศึกเข้าบ้าน                        ง. ชักแม่น้ำทั้งห้า

๓๒."เกลียดสิ่งใดได้สิ่งนั้น" ตรงกับข้อใด

         ก. เกลียดเข้ากระดูกดำ                    ข. เกลียดความความถึง
         ค. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่                ง. เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง

๓๓.ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง

         ก. ธิดากับนพพร เป็นหัวแก้วหัวแหวนของพ่อแม่     ข. แดงพลอยติดร่างแห ได้รับเหรียญกล้าหาญ
         ค. หลายคนตราหน้า ว่าเขาจะได้เป็นรัฐมนตรีอีก      ง. ผู้หญิงคนนั้นสวมเสื้อบางเสียจนดูตัวเปล่าเล่าเปลือย

๓๔. . "หัวเรือใหญ่" หมายความว่าอย่างไร

          ก. นักเลง                       ข. มีตำแหน่งและมีอำนาจ
          ค. ทำตัวเป็นหัวหน้าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทุกเรื่อง      ง. ทำตัวว่ามีรสนิยมสูง ชอบแต่ของดีมีราคา

๓๕. "ฟังหูไว้หู" หมายความว่าอย่างไร

         ก. อย่าด่วนสรุปทันทีที่ได้ฟัง                ข. อย่าฟังความข้างเดียว
         ค. อย่าเสียโอกาสในการฟัง               ง. อย่าฟังโดยไม่จดลง

๓๖. "ปากหนัก" หมายความว่าอย่างไร

         ก. พูดรุนแรง                       ข. พูดช้า ๆ
         ค. ไม่ค่อยพูด                        ง. พูดได้ตรง

๓๗. สำนวนในข้อใดให้ระวังในการพูด ก. ไปไหนมาสามวาสองศอก ข. ชักใบให้เรือเสีย ค. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ง. กำแพงมีหูประตูมีช่อง ๓๘. ข้อใดใช้สำนวนถูกต้อง ก. สามีภรรยาคู่นี้เหมาะสมกันเหมือนไม้เบื่อไม้เมา
ข. เด็กคนนี้ฉลาดบอกอะไรนิดเดียวก็เข้าใจไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช ค. เขาคิดจะขี่ช้างจับตั๊กแตนอีกแล้ว มีเงินอยู่แสนเดียว แต่คิดจะปลูกบ้านราคาห้าแสน ง. เขายอมขายผ้าเอาหน้ารอด เพื่อเอาเงินไปจัดงานให้คุณพ่ออย่างสมเกียรติ ๓๙. ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ก. เขาเป็นคนดีคงจะไม่เป็นอะไรนักหรอก เพราะคนดีย่อมตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ข. ใครๆ ก็ย่อมทำผิดพลาดได้เสมอ เพราะสี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ค. ลูกชายของเขาเก่งเหมือนพ่อ อย่างนี้เขาเรียกว่าเชื้อไม่ทิ้งแถว ง. เธอไปหว่านล้อมเขาอยู่ทำไม จะชักใบให้เรือเสียเท่าไรเขาก็ไม่ยอมทำตามหรอก ๔๐. ข้อใดมีความหมายแสดงความเสียเปรียบ ก. กินน้ำใต้ศอก ข. ตาบอดได้แว่น ค. อาภัพเหมือนปูน ง. ใกล้เกลือกินด่าง

หมายเลขบันทึก: 502440เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2012 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท