เปิด 10 บัญญัติสกัดโรค ที่มากับน้ำท่วม แนะรู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันได้


เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ด้วยระยะที่เข้าสู่ฤดูฝน และมักมีฝนตกหนักเป็นบางพื้นที่อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันได้  จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้ หากประชาชนดูแลรักษาอนามัยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วย ด้วยโรคต่างๆ ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางผิวหนัง โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก อันตรายที่เกิดจากสัตว์ และพืชที่มีพิษต่างๆ

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก  มีความห่วงใยในสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยหรือเสี่ยงต่อน้ำท่วม จึงขอย้ำเตือนถึงข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อป้องกันโรคและภัยที่มากับน้ำท่วมดังต่อนี้

1. สวมเสื้อชูชีพก่อนลงน้ำ ใส่รองเท้าบู๊ต หรือสวมถุงพลาสติกก่อนลุยน้ำ

2. ล้างมือ ไม่กินอาหารค้างมื้อ ดื่มน้ำสะอาด

3. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด

4. เก็บเศษอาหารและขยะใส่ถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้แน่น

5. มีโรคเรื้อรังอย่าลืมรับประทานยาประจำตัว

6. หากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด

7. ถ้ามีอาการป่วยรีบแจ้งหน่วยแพทย์หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน อย่าปล่อยไว้เกิน 2 วัน

8. สวมหน้ากากอนามัย และปิดปาก จมูก เวลาเป็นหวัด

9. ดื่มผงเกลือแร่โอ อาร์ เอส เมื่อมีอาการท้องเสีย

10. นำเด็กไปฉีดวัคซีนตามนัดหลังน้ำลด

       เภสัชกรเชิดเกียรติ  กล่าวต่อว่า กรมควบคุมโรค ได้จัดทำคู่มือประชาชนสำหรับโรคที่มากับน้ำท่วม และได้แจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัย สื่อมวลชนหรือผู้ที่สนใจสามารถดูได้ทางเว็บไซต์ที่ http://www.ddc.moph.go.th/emg/flood/alladvice.php หากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ โทรศัพท์ 1422  

ข้อความหลัก " น้ำดื่ม อาหารสุก ร่างกายสะอาด ระวังสัตว์พิษ สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคและภัยที่มาจากน้ำท่วม”

กรมควบคุมโรค  ห่วงใย  อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี

ที่มา http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/2555/09_11_flood.html

 

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 502179เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท