ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

                ประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก  ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือ  และสิ่งแวดล้อม  ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แม้จะนำความเจริญมาสู่ประเทศ  แต่ก็นำผลข้างเคียงทางลบจำนวนมากมาสู่โลก  ประเทศไทยก็ไดรับผลเช่นเดียวกัน  เช่น  การเกิดภัยแล้ง  การขาดฝนในการทำเกษตรกรรมและการกินอยู่  การเกิดน้ำท่วมไร่นาบ้านเรือนเสียหาย  อันเป็นผลเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ  ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหานานัปการ  แต่เนื่องด้วยพระอัจฉริยภาพและพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเทศไทยจึงผ่านวิกฤติต่าง ๆ มาได้โครงการในพระราชดำริในด้านต่าง ๆ จำนวนมาก  ได้ยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่านับเป็นโชคอันมหาศาลของประชาชนคนไทยโดยทั่วกัน  สำหรับทางด้านการศึกษาและการพัฒนาคนนั้นพระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริต่าง ๆ ผ่านกระแสพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ ในหนังสือ  “ จอมปราชญ์นักการศึกษา”  เกรียงศักดิ์   เจริญวงศ์ศักดิ์  ได้วิเคราะห์กระแสพระราชดำรัสต่าง ๆ ซึ่งช่วยทำให้เห็นปรัชญาสาระสำคัญของแนวพระราชดำริด้านปรัชญาการศึกษา  การจัดการศึกษา  และการพัฒนาอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ  สาระสำคัญของแนวพระราชดำริ  ดังกล่าว  สรุปได้ดังนี้  (เกรียงศักดิ์    เจริญวงศ์ศักดิ์, 2524: 18 – 48)                                               

ความหมายของการศึกษา

                จากกระแสพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจต่าง ๆการศึกษาเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ในทุกๆ ด้านทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ และสติปัญญา  เพื่อช่วยให้เป็นพลเมืองดี  มีคุณภาพ  และมี ประสิทธิภาพสามารถใช้ความรู้และสติปัญญาของตนให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ  การศึกษากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานและพัฒนางาน

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

                การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่  พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนมุ่งสร้างปัญญาและคุณลักษณะของชีวิต เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีพเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้  สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้  และมีส่วนสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม

แนวทางการจัดการศึกษา

เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา  การจัดการศึกษาจึงควรมุ่งให้การศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝนขัดเกลาทางความคิด  ความประพฤติ และคุณธรรม โดยให้มีความเข้าใจในหลักเหตุผล  มีความซื่อสัตย์สุจริต  รู้จักรับผิดชอบและตัดสินใจในทางที่ถูกต้องเป็นธรรม  และควรให้มีการเรียนรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป  โดยเน้นการเรียนรู้แบบสหวิทยาการและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย

จากข้อสรุปข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาชีวิตของแต่ละบุคคลและพัฒนาประเทศชาติโดยส่วนรวม การศึกษาเป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตของแต่ละคนเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนจะต้องได้รับอย่างทั่วถึงกันทุกคน และใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

คำสำคัญ (Tags): #อุดรธานี 22
หมายเลขบันทึก: 502145เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท