เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่โลกาภิวัตน์(Globalization)ทำให้การบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM)เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้เพราะบริษัทต่างๆ พบว่าตลาดการซื้อขายเริ่มเปลี่ยนไป มีคู่แข่งทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการเติบโตทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์เป็นแนวทางในการทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น CRM มุมมองของลูกค้าสู่บริษัท กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM (Customer Relationship Management) เป็นทางออกหนึ่งในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้ลูกค้า ยังคงอยู่กับบริษัทได้นานขึ้น
แนวคิดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
เมื่อกล่าวถึงแนวคิดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คูมาร์ (Kumar ,2011) ได้ให้ความเห็นว่า ลูกค้า คือพระราชา เป็นประโยคที่ขององค์กรทั้งหลายยึดถือกันมายาวนานถึงหนึ่งศตวรรษ และในปัจจุบันคำกล่าวนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก อีกทั้งลูกค้าของบริษัทยังกลายเป็นบุคลที่คู่แข่งเสาะแสวงหามากที่สุดด้วย แน่นอนว่าจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและโลกาภิวัตน์ ที่ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะมีคู่แข่งในรูปแบบใดเข้ามาดึงลูกค้าไป ซึ่งสอดคล้องกับชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ ได้กล่าวว่า การบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) มีบทบาทอย่างมากเมื่อการค้าขายเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างมีประสิทธิผล การสร้างทัศนคติที่ดีที่มีต่อบริษัทหรือองค์กรให้เกิดขึ้นในใจของลูกค้า การสร้างเจตคติที่ดี ความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในตัวของลูกค้า แนวความคิดทางการตลาดแบบเดิมได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดทางการตลาดแบบสร้างสัมพันธ์
ความหมายของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
ในประเด็นความหมายการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เพ็พเพอร์และมาร์ธาโรเจอร์(Pepperand Martha Rogers,1993) ได้กล่าวว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจ หมายถึง การเปลี่ยนแนวคิดจากการหาลูกค้ามาสู่การรักษาลูกค้า แนวคิดเดิมเน้นการนับจำนวนลูกค้าเพื่อ วัดความสำเร็จของธุรกิจ แนวคิดใหม่เสนอว่าควรเน้นที่จำนวนครั้งของการใช้สินค้าหรือการรักษาลูกค้ามากกว่า เพื่อสร้างความจงรักภักดีเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคืออะไร ในทางตรงกันข้ามเพราะอะไรลูกค้าไม่ใช้แบรนด์ของเราและการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการสร้างความจงรักภักดีต่อบริษัท ซึ่งมีความสอดคล้องกับ เจนคินส์ (Jenkins, 1999) ได้ให้นิยามการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ CRM หมายถึง กระบวนการในการทำนายพฤติกรรมของลูกค้าและเลือกการปฏิบัติการเพื่อส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกค้าในการก่อให้เกิดผลกำไรต่อบริษัท (Chun-Hsien Su , Tsai, August, Chu-Ling Hsu,2010)
จุดประสงค์หลักของ CRM
ในประเด็นจุดประสงค์หลักของ CRM เพ็พเพิร์ด (Peppard, 2000) ได้อธิบายว่า คือ การสร้างความสัมพันธ์ทางความรู้สึก การมัดใจลูกค้า เข้าใจความต้องการของลูกค้า การแยกความแตกต่างระหว่างลูกค้ากับส่วนแบ่งการตลาด จะต้องวิเคราะห์ความจงรักภักดีของลูกค้า สอดคล้องกับคอตเลอร์ (Kotler,2004) ได้กล่าวให้เหตุผล จุดประสงค์ของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) คือการสร้าง customer equity ให้อยู่ในระดับสูง customer equity คือยอดรวมของคุณค่าตลอดชีพของลูกค้าทั้งหมดของบริษัทที่คิดเป็นมูลค่าตามอัตราลด (Discounted) ยิ่งลูกค้ามีความภักดีมากเพียงใด customer equity ก็สูงขึ้นเท่านั้น Rust, Zeithamlและ Lemon ได้แยกแยะให้เห็นตัวผลักดัน 3 ประการ ของ customer equity : ได้แก่ value equity, brand equity และ relationship equity.
องค์ประกอบหลักของCRM
CRM ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง ได้แก่ บุคคล กระบวนการและเทคโนโลยี บุคคลทุกฝ่ายในองค์กร ผู้บริหารถึงพนักงานทุกคนและตัวแทนจำหน่ายจำเป็นจะต้องเชื่อมั่นใน CRM เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าที่เข้มแข็ง ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นหัวใจของประสบความสำเร็จทางธุรกิจ CRM นั้นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายด้าน แต่เทคโนโลยีก็มิใช่ทั้งหมดของ CRM เพราะ CRM เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า การขาย การตลาด การตอบสนองลูกค้า และผู้นำการตลาด (Destination CRM.com, 2010) สอดคล้องกับ ดนัย เทียนพุฒ (2549)ชี้ว่า กระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อจัดการสารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละบุคคล และจัดการอย่างระมัดระวังในจุดสัมผัสลูกค้า (Customer Touch Points) เพื่อทำให้ลูกค้าจงรักภักดี จุดสัมผัสลูกค้าคือ ทุกโอกาสที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ตรงของบุคคลหรือผ่านการสื่อสารมวลชนเพื่อสังเกตความสัมพันธ์
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
ในประเด็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เกซิโบ (Gazabo, 2011)ได้ให้ความเห็นว่า นักการตลาดเริ่มให้ความสำคัญกับลูกค้าในลักษณะของการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบเป็นรายบุคคล โดยมีแนวคิดว่าคนเรามีความชอบไม่เหมือนกัน การทำการตลาดโดยมองลูกค้าเป็นกลุ่มๆ(Segmentation) อาจจะตอบสนองได้ดีไม่เพียงพอ จึงมุ่งเน้นไปที่มุมมองของลูกค้าเป็นรายบุคคล เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าเป็นราย ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ เรนนาดซและคูมาร์(Reinartz and Kumar, 2002) ได้กล่าวว่า ลูกค้าที่ภักดีเป็นลูกค้าที่สร้างกำไรให้กับองค์กร ความภักดีของลูกค้าและการทำกำไรมีความสัมพันธ์กัน ผู้บริหารสามารถคาดการณ์การทำกำไรจากลูกค้าแต่ละราย โดยพิจารณาจากความภักดีของลูกค้าดังนี้
1. ลูกค้าที่ภักดีมีค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการให้บริการต่ำกว่า
2. ลูกค้าที่ภักดีเต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อสินค้า
3. ลูกค้าที่ภักดีเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิพลของบริษัท
ต่อมา เอเดรียนและเพ็นนี (Adrian and Pennie ,2006) ได้ให้ความเห็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ว่า เป็นการเพิ่มจำนวนลูกค้าและรักษาจำนวนลูกค้าโดยการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะยิ่งทำให้crmมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์ตีความและใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
จากการศึกษาการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้าเพื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและปัจจัยอื่นๆ(Ricardo Salazar, ValentimCelso, Alberto &VellosoSaldanha Jorge,2011).รวมทั้งจากการศึกษางานวิจัยแนวคิดเดิม CRM เน้นไปที่ลูกค้าที่ทำกำไรให้บริษัท ระบบเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเพื่อให้ลูกค้าพอใจ ซึ่งเหมือนกับการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร งานวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์แบบองค์รวมทุกด้าน แนวคิดใหม่ TCRM มี 5 องค์ประกอบ ซึ่งแนวคิดระบบใหม่จะมีประสิทธิภาพส่งผลต่อการทำกำไรให้ธุรกิจ เคอรี่และโคลโล (curry and Kkolou ,2004)
กล่าวโดยสรุป ความสำคัญของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น ช่วยให้องค์กรรู้ความสนใจ ความต้องการของลูกค้า ทำให้องค์กรสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมให้กับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว จะช่วยเพิ่มความจงรักภักดี(Loyalty) ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการซื้อซ้ำ หรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าขององค์กร ทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มช่องทางและโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น กิจกรรมทางการตลาด ที่กระทำต่อลูกค้า ผู้บริโภค คนกลางช่องทางการจัดจำหน่าย แต่ละรายอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าเกิดความรับรู้ที่ดี พอใจสินค้า-บริการของบริษัท ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (WIN-WIN STRATEGY)
เอกสารอ้างอิง
เกซิโบ. ลูกค้ากับแบรนด์สายใยแห่งความผูกพัน. แปลจาก Customer and Brand Engagement (โดยบุริน โอทกานนท์). [2554, พ.ค. 16]. [Online]. Available : http://inside.cm.mahidol.ac.th/.[2555, ก.ย. 4].
คูมาร์,วี. (2553). บริหารลูกค้าอย่างไรให้มีกำไร. แปลจาก Managing Customers for Profit (โดย ณัฐยา สินตระการผล). กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
ค็อตเลอร์,ฟิลลิป. (2547). การจัดการการตลาด. แปลจาก Marketing Management (โดย ธนวรรณ แสง สุวรรณ และคณะ). พิมพ์ครั้งที่12. กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็ดดูเคชั้นอินโดไชน่า.
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ .วิธีรักษาลูกค้าและการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์. BrandAge. [Online]. Available : http://www.pattanakit.net . [2555, กันยายน 7 ].
ดนัย เทียนพุฒ.(2549) การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า : CRM. [2549, ธ.ค. 10]. [Online]. Available : http://www.bloggang.com. [2555, ก.ย. 6].
Anvari, Roya & Amin, Salmiah bt Mohmad.(2010). The Cutomer Relationship Management Strategies: Personal Needs Assessment of Training and Customer Turnover. Enropean Journal of Social Science. [Online]. (2010, May). Available :http://schlar.goole.co.th [2012/09/5].
Chun-Hsien Su , Tsai August & Chu-Ling Hsu.(2010). The TQM extension: Total customer relationship management. Total Quality Management & Business Excellence; Jan2010, Vol. 21 Issue 1, p79-92, 14p, 3 Diagrams, 1 Chart. [Online]. (2010, Jan). Available :http:// http://www.tandfonline.com/doi/abs. [2012/08/28].
Destination CRM.com.(2010). What isCRM.mailto:editor@ destinationCRM.com. [Online].(2010, Feb 19). Available : http://www.destinationcrm.com. [2012/08/13].
Koh Hian Chye & Chan Kin Leong Gerry.(2002). Data Mining and CustomerRelationship Marketing in the Banking Industry. Singapore Management Review. [Online]. (2002). Available: http:// scholar.google.co.th/scholar. [2012, Sep 2].
Payne, Adrian &Frow, Pennie. (2006). Customer Relationship Management :fromStrategyto Implementation. Journal of marketing Management.[online](2006,Feb). Available. http://www.tandfonline.com/doi/abs/.
[2012, Sep 02].
Pepers, D. & Rogers, M.(2001). The One to One Future : Building Relationships One Customer at a Time. Randir. [online].( 2001, dec 03).Available: http://everything2.com/title/The+One+to+One+Future. [2012, Sep 01].
Ricardo Salazar, Valentim Celso, Alberto &Velloso Saldanha Jorge. (2011). Consumer behavior and customer relationship management: understanding the mind of the consumer as priority in orienting organizational longevity. Asia Pacific Journal of Research in Business Management;[online]. (2011,Jun). Available. http://www.indianjournals.com/ijor.aspx. [2012,sep 09].
Werner Reinartz & V. Kumar (2002). The Mismanagement of customer Loyalty, Harvard Business Review. [online].( 2002, july). Available. http://scholar.google.co.th/scholar. [ 2012,Sep 7].
ไม่มีความเห็น