หลักการสอนดนตรีแบบโคดาย, ตอนที่ 3 จบ (The Kodaly Method Part3 End)


การร้อง คืออุปกรณ์สำคัญ ในการพัฒนาความซาบซึ้งทางดนตรี

การจัดขั้นตอนในการสอน

                โคดายให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักเดียวกับจิตวิทยาการพัฒนาการเด็ก คือ การเรียนการสอนดนตรีควรมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับลักษณะการพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นสิ่งง่ายไม่สลับซับซ้อนควรนำเสนอก่อนสิ่งที่ยาก ดังเช่นในเรื่อง การสอนทำนองแบบโคดาย เริ่มด้วยการสอนเพลง ที่ประกอบไปด้วย โน้ต3ตัว คือ la so mi ก่อน แล้วเพิ่มเป็นเพลงที่มีโน้ต 4 ตัว คือ so mi re do แล้วจึงเป็นเพลงที่ใช้บันไดเสียง “เพนตาโทนิก” คือ มีตัวโน้ต5ตัว ได้แก่ la so mi re do ซึ่งเป็นลักษณะเด่น ของเพลงพื้นบ้านของฮังการี และสุดท้ายจึงนำเพลงในบันไดเสียงไดอะโทนิก คือ มีตัวโน้ต 7 ตัว ได้แก่ do re mi fa so la ti มาสอน  หรือในเรื่องของอัตราจังหวะโดยปกติ อัตราจังหวะสอง ทั้งปกติและผสม (2/4,6/8) จะพบได้มากกว่าเพลงในอัตราจังหวะสาม (3/4) การสอนจึงควรใช้อัตราจังหวะสองก่อน ส่วนในเรื่ององค์ประกอบดนตรีอื่นๆ (เสียงประสาน รูปแบบ สีสัน ลักษณะของเสียง) ก็มีการจัดเรียงจากง่ายไปยากเช่นกัน จึงสามารถกล่าวได้ว่าวิธีการของโคดายเน้นการจัดระบบขั้นตอนของสาระดนตรีเป็นอย่างมาก

                หลักการของโคดายเน้นการร้องเป็นหลัก โดยมีการจัดสาระดนตรีอย่างเป็นระบบ ระเบียบ และใช้ระบบสัญลักษณ์แทนเสียงดนตรีให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งการใช้ระบบการอ่านโตแบบ ซอล-ฟา โดยให้ตัว

โทนิคคือ โด ในบันได เสียงเมเจอร์ และ ลาในบันไดเสียงไมเนอร์ เคลื่อนที่ไปตามบันไดเสียงต่างๆ (movable-do) รวมทั้งสัญญาณมือเพื่อช่วยในการอ่าน วรรณคดีดนตรีที่เป็นหลักในการเรียนการสอนระยะแรก คือเพลง พื้นบ้าน ระยะต่อมาจึงใช้เพลงศิลปะ

                โคดายเน้นการร้องเพลงเป็นหลัก การเล่นเครื่องดนตรีเป็นกิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนในระยะต่อมา การร้องจะรวมไปถึงการอ่านโน้ตด้วยในกระบวนการร้อง โคดายเน้นการฝึกให้ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับเรื่องระดับเสียง และจังหวะของทำนองอย่างสม่ำเสมอ วิธีการหนึ่งคือการฝึกให้ผู้เรียนได้ยินเสียงทำนองในความคิด คือการให้ผู้เรียนร้องเพลงและให้หยุดร้องแต่ให้ร้องในใจเป็นระยะๆ สลับกันไปตามสัญญาณที่ผู้สอนกำหนดให้ ทำให้ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับเสียงทั้งในความคิดและสามารถร้องได้ด้วย นอกจากนี้ยังเน้นให้จดจำเกี่ยวกับระดับเสียง และบทเพลงที่เรียนไปด้วยเสมอ เช่นครูอาจจะทำสัญญาณมือในวรรคต้นของเพลงใดเพลงหนึ่งที่เรียนไป และให้ผู้เรียนตอบว่าเพลงอะไร หรืออาจจะตบจังหวะของทำนองเพลงหนึ่ง และให้ผู้เรียนตอบว่าเป็นจังหวะของทำนองเพลงอะไร หรืออาจจะฮัมทำนองเพลงตอนใดตอนหนึ่งของเพลงหนึ่ง และให้ผู้เรียนตอบชื่อเพลง

ลำดับการสอน Melody

1.       s  m

2.       l  s  m

3.       m  r  d

4.       s  m  r  d

5.       l  s  m  r  d                                                            (the do-pentatonic scale)

6.       l  s m  r  d  l,

7.       l  s m  r  d  l,  s,

8.       l  s m  r  d  l,                                                         (the la-pentatonic scale)

9.       d’  l  s  m  r  d

10.   s  m  r  d  l,  s,                                                      (the so-pentatonic scale)

11.   r’ d  l  s  m  r                                                        (the re-pentatonic scale)

12.   l  s  f  m  r  d

13.   m  r  d  t  l  s,

14.   s  f  m  r  d  t,  l,  s,

15.   d’  t  l  s  f  m  r  d                                               (the diatonic major scale)

16.   l  s f  m  r  d  t  l                                                   (the diatonic minor scale,the aeolian mode)

17.   d  ta  l  s  f  m  r  d                                              (the mixolydian mode)

18.   l  s  fi  m  r  d  t  l                                                (the dorian mode)

19.   l  si  f  m  r  d  t  l                                                (the harmonic minor scale)

20.   d di r ri m f fi s si l li t d                                  (the ascending chromatic scale)

21.   d t ta l lo so sa f m ma r ra d                         (the descending chromatic scale)

  1. รูปแบบ Form

                    ผู้เรียนจะเริ่มเรียนรู้ถึงทำนองสั้น ซ้ำๆกัน อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความเหมือนกันและความแตกต่างกันของทำนองสามารถเริ่มสอนตั้งแต่ยังเล็กอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ ศัพท์เฉพาะทางดนตรี ในขณะเดียวกันทำนองวรรคถามและวรรคตอบ (question and answer) สามารถใช้สอนให้เด็กเข้าใจในเรื่อง รูปแบบได้ โดยการร้องชื่อคน หรือการใช้บทกลอน  การร้องหรือพูดซ้ำๆในบทกลอน ช่วยให้เด็กคิด พัฒนาแนวทำนองโดยไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก

    ตัวอย่างการสอนเรื่องรูปแบบ(Form)จากเพลง Hot Cross buns

    Hot cross buns,                                        

    Hot cross buns,                                         Same

    One a penny, two a penny                         Different

    Hot cross buns                                          Same as first two

    เราสามารถสอน เรื่องรูปแบบ A-A-B-A จากเพลงนี้ได้

    การประสานเสียง

                    เด็กควรได้รับการสอนในเรื่องการประสานเสียงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การร้องเพลงพื้นเมืองในรูปแบบ แคนอนและรูปแบบซ้ำทวนแบบอื่น ให้บ่อย จะทำให้เด็กรับรู้เรื่องการประสานเสียงแบบนี้โดยธรรมชาติ การอธิบายอย่างง่ายที่สุดสามารถทำได้โดยใช้สัญญาณมือ
                    ลักษณะการประสานเสียงเหล่านี้ ทำให้เด็กรู้จักโดยการร้องเป็นอันดับแรก และเริ่มวิเคราะห์ในระยะต่อมาโดยการเขียนโน้ต ก่อนเริ่มต้นวิชาการประสานเสียงอย่างเป็นระบบนั้นเนื้อหาเกือบทั้งหมดที่เกี่ยวกับการประสานเสียง เช่นขั้นคู่เสียง บันไดเสียง คอร์ด การสอดประสานทำนองทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะได้เรียนทุกครั้งในขั้นตอนสรุปเนื้อหาหลังจากทำกิจกรรมในชั่วโมงเรียนเสมอ ดังนั้นหลักสูตรจึงมุ่งไปที่การให้ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติดนตรีด้วยตัวเองเสมอ การเรียนจะมีรายละเอียดและการเน้นต่างกันออกไปตามขั้นตอนที่วางไว้ 

    สรุป วิธีการสอนแบบ โคดาย

                    การสอนแบบโคดาย เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้

    • การร้อง คือ พื้นฐานของการเรียนดนตรี
    • ใช้ทั้ง เพลงพื้นบ้าน และเพลงวรรณคดี
    • Tonic Sol-fa, สัญญาณมือ, และสัญลักษณ์จังหวะ

    วิธีการสอนของโคดาย คือ

    เน้นการร้องเป็นหลัก โดยใช้วรรณคดีดนตรีพื้นบ้านซึ่งถือว่าเป็นดนตรีในลักษณะภาษาแม่ของผู้เรียน ในกระบวนการเรียนการสอนยึดหลักพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก การเสนอเนื้อหาดนตรีมีการจัดเป็นขั้นตอนอย่างรัดกุม และมีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆเพื่อช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีลักษณะเป็นรูปธรรมซึ่งช่วยให้ผู้เรียนรับรู้ดนตรีในลักษณะของเสียงง่ายขึ้น

     

     

หมายเลขบันทึก: 501944เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท