เมตตากับสปอย(ตามใจ)


ระหว่างเมตตากับสปอยดูเหมือนคล้ายกัน แต่ต่างกัน

เมตตา...บางครั้งอาจไม่ต้องสปอย ซึ่งคำว่าสปอยดูเหมือนเป็นภาษาพูดที่พูดที่ใช้กันมาก เช่น แม่สปอยลูก นั่นก็คือ แม่ตามใจลูก...

ซึ่งดูเหมือนเมตตาลูก...แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่

ความหมายของสปอยจะไม่ได้แยกในเรื่องดีหรือชั่ว

แต่...เมตตาจะแยก

เมตตาจะไม่ไปสนับสนุนด้านชั่วแต่จะสนับสนุนด้านดี(ธรรม)  แต่สปอยไม่แยก

ดังนั้นบางคนที่ดูเหมือนเมตตาแต่ก็อาจกำลังสปอยก็ได้ เช่น สปอยให้บุคคลหนึ่งฮึกเหิมกระทำชั่ว เพิ่มอัตตามากขึ้น

บางครั้งข้าพเจ้าดูเหมือนโหด และดุ นั่นก็เพราะว่าข้าพเจ้าไม่ไปสปอยเขา ไม่ไปตามใจเขาในการส่งเสริมให้เขากระทำชั่วทั้งกาย วาจา ใจ

การได้ฟังธรรมในเช้านี้ ณ ลานธรรม

ทำให้เกิดความใจที่ใจว่า ... หากเราเมตตาใคร เราไม่จำเป็นต้องไปคอยสปอยกิเลสเขา

หากการกระทำเราทำให้เขาต้องเจ็บปวด เพราะเหตุจากเราไม่ไปส่งเสริมกิเลสเขา ... แล้วเราก็ต้องถูกมองว่าเป็นคนไร้เมตตา

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ... ไม่แคร์

เพราะหน้าที่ของข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องไปตามใจกิเลสของใคร  (จดหมายถึงครู l ปัญหาไม่ใช่ท้อ แต่คือ ไม่ทำ (44/90) )

มีแต่...ความจริงใจที่จะนำพาผู้คนละออกจากสิ่ง ครอบ"ใจ" นั่นน่ะคือ สิ่งที่ข้าพเจ้าพึงทำอย่างเต็มกำลังทั้งกายและใจ

ดั่งเรื่องลูกวัวน้อยขวิดหลวงปู่สรวง... (จดหมายถึงครู l สิ่งที่ได้เรียนรู้วันสอบตก (43/90) )

...

๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

คำสำคัญ (Tags): #mind#spiritual#จิตวิญญาณ
หมายเลขบันทึก: 501866เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณมากครับ กับการแบ่งปัน ดี ดี
  • ชอบมาก ครับ เมตตา กับ ตามใจ แยกชัดเจนครับ
  • บางครั้งเมตตา อาจทำให้ดูเลวร้ายบ้าง ในบางสายตาที่มองเพียงครึ่งเดียว
  • แต่การตามใจ ไม่ได้มองลึกถึงผลที่จะตามมา
  • จะนำไปใช้ และขยายผลต่อครับ

          เมื่อก่อน ผมทำเรื่องวินัยเชิงบวก กับโรงเรียน  มีคุณครูแสดงความคิดเห็นมาว่า  วินัยเชิงบวก   จะทำให้เด็กนิสัยเสีย   เพราะไปสปอยเด็ก    ผมก็เลยบอกว่า  วินัยเชิงบวก ไม่ใช่การตามใจเด็ก  ไม่ใช่การสปอยเด็ก

         วินัยเชิงบวก  น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเมตตา นะครับ   ยกย่องยอมรับในสิ่งที่เขาทำดี  ส่วนสิ่งที่เขาทำไม่ดี ไม่ถูก  วินัยเชิงบวกจะไม่ไปสนใจตรงนั้น

        

ขอบพระคุณในความเห็นค่ะ ชอบจังเลยค่ะวินัยเชิงบวก^

จริง ๆ แล้วคำว่า เมตตา ไม่ได้แยกว่า ดี หรือ ชั่ว นะครับ เป็นคำกลาง

ขออธิบายทำความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ซึ่งผมเห็นว่ามีคนพูดถึงธรรมะหมวดนี้บ่อย แต่ไม่เข้าใจธรรมะหมวดเลยนะ

ธรรมะหมวดนี้ จะมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา (ธรรมะของผู้ใหญ่)

ดูผ่าน ๆ ก็จะคิดว่ามีข้อธรรมหมวดนี้มีอยู่ 4 ข้อ แต่แท้ที่จริง ธรรมหมวดนี้มีข้อธรรมอยู่ 3 ข้อนะครับ

กล่าวคือ ข้อธรรม ตั้งแต่ข้อที่ หนึ่งถึงสามนั้น เป็นข้อธรรม สำหรับผู้ใหญ่ ที่ใช้ในการปกครองและดูแลผู้ที่น้อยกว่าเรา หรือลูกน้อง

โดยมีข้อธรรม ข้อที่สี่ เป็นหัวใจ และใช้ควบคุมข้อธรรมทั้งสามข้อ

อธิบายว่า ข้อธรรม เมตตา จะต้องมีข้อธรรมอุเบกขาในการควบคุม

          ข้อธรรม กรุณา จะต้องมีข้อธรรมอุเบกขาในการควบคุม
          ข้อธรรม มุทิตา  จะต้องมีข้อธรรมอุเบกขาในการควบคุม

เพราะธรรมของผู้ใหญ่นั้นต้องมีอุเบกขาเป็นตัวควบคุมเสมอ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่ดีจริง

          ขอยก กรุณา คือความสงสาร ในการสงสารที่มีข้อธรรมอุเบกขาควบคุมนั้น  เพื่อไม่ให้ผู้ที่ใช้ข้อธรรมนี้สงสารมากไปหรือน้อย
          สมมติว่า มีเด็กสองคนมาขอความช่วยเหลือ  คนที่หนึ่งเคยขอความช่วยเหลือมาก่อนหน้านี้แล้ว  แต่ได้พาเพื่อนมาขอความช่วยเลือ หรืออาจเป็นเพื่อนกันที่อยู่ในชั้นเดียวกันก็ได้ (เป็นการสมมติเรื่อง) โดยคนที่มาขอความช่วยเหลือคนนี้มาขอ...  ผู้ที่ใช้ธรรมหมวดนี้ก็จะให้ความช่วยเหลือ ผ่านความสงสาร คือ กรุณา  โดยไม่ช่วยเหลือมากจนเกินกว่าคนที่เคยช่วยเหลือมาแล้ว ซึ่งอาจเป็นคนที่รู้จักกันกับผู้ที่มาขอความช่วยเหลือคนนี้
         สรุป  ก็คือทำตัวเองให้เป็นกลาง ไม่ช่วยมากหรือน้อย  ไม่ได้แยกว่าดีหรือไม่ดี  ชอบหรือไม่ชอบ รักหรือไม่รัก  เพราะเราได้มีคำว่าอุเบกขา เป็นตัวควบคุม ไม่ยินดียินร้ายมากไปหรือน้อยไป โดยทำตัวเฉย ๆ กับการกระทำนั้น ๆ 
         ถ้าเราไม่มี อุเบกขา เราก็จะช่วยเหลือคนอื่นจนอาจออกนอกหน้าไปสำหรับคนที่ชอบ  ส่วนคนไม่ชอบก็ช่วยนิด ๆ หน่อย แบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมหมวดนี้ 

         ธรรมะบางครั้งไม่ต้องคิดมากก็เป็นธรรมะ  แต่การใช้ธรรมะก็ต้องคิดมากเพื่อเข้าใจธรรมะ
        ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ไปฟังคุณหมอเดว(นพ.สุริยเดว ทรีปาตี) ท่านได้ถอดบทเรียนจากแม่ตัวอย่าง พบว่าเด็กที่จะเป็นอริยชนมาจาก

  • แม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกดู ด้วยจิตวิญญาณความเป็นแม่ ทุกรูปแบบ จะทำให้ลูกมีจิตสำนึกที่ดี
  • แม่ที่ให้ลูกร่วมทุกข์ไปด้วยกัน จะทำให้ลูกฮึดสู้ชีวิต  ไม่ใช่ปล่อยให้ลูกมีแต่สุขไม่รู้จักทุกข์
  • ถ้าพาลูกผ่านวิกฤตไปด้วยกัน  ลูกจะเรียนรู้ประสบการณ์

ขอบพระคุณในความเห็น...นะคะ

...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท