หลักการสอนดนตรีแบบโคดาย, ตอนที่1 (The Kodaly Method Part1)


การร้อง คืออุปกรณ์สำคัญ ในการพัฒนาความซาบซึ้งทางดนตรี

หลักการสอนแบบโคดาย

”กระบวนการสอนแบบโคดาย” ถูกพัฒนาขึ้นที่ประเทศฮังการี ในปี ค.ศ.1940-1950 โดย นักประพันธ์เพลงนาม “Zoltan Kodaly”  ซึ่งผู้ร่วมงานและนักเรียนนักศึกษาของZoltan Kodaly ได้ครอบคลุมระบบดนตรีศึกษา ของประเทศฮังการีในขณะนั้น

แปลก..ที่ทั้งหมดในเนื้อหาของ ”หลักการสอนแบบโคดาย”นี้ แทบไม่ได้ถูกคิดค้นโดย โคดาย แต่ได้ถูกพัฒนาขึ้น ในโรงเรียนฮังการี ภายใต้แรงบัลดาลใจและคำแนะนำของ โคดาย รวมทั้งเป้าหมายทางการเรียน ปรัชญา และหลักการก็เป็นของ โคดาย  กิจกรรมที่ใช้ในการสอนนั้น โดยต้นกำเนิดแทบทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นโดยโคดาย การสอนโน้ตแบบ Sol-fa ถูกคิดค้นจาก ประเทศอิตาลี และระบบ tonic Sol-fa มาจาก ประเทศ อังกฤษ การอ่านสัญลักษณ์ของจังหวะ ถูกคิดค้น โดย Cheve ในประเทศฝรั่งเศส หลายเทคนิคของระบบ Sol-fa ถูกนำมาจาก งานของ Jaques-Dalcroze, สัญญาณมือ ดัดแปลงมาจาก วิธีการสอนของ John Curwen ในประเทศอังกฤษ จุดเด่นของวิธีการสอนแบบ โคดายนี้คือ เทคนิคต่างๆที่กล่าวมานี้ ได้ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันรวมเป็นวิธีการสอนแบบครบวงจร  โดยตัววิธีการสอนเองก็ได้รับการสนับสนุนจาก ปรัชญาทางดนตรีศึกษา

                โรงเรียนประถมที่บรรจุ หลักสูตรการร้องเพลงอย่างจริงจัง เกิดขึ้นแห่งแรกในปีค.ศ. 1950 ที่เมือง Kesckemet เมืองเกิดของโคดาย ภายใต้การควบคุมของ Marta Nemesszeghy ผู้อำนวยการโรงเรียนและเพื่อนสนิทตั้งแต่ในวัยเด็กของโคดาย ที่โรงเรียนนี้  นักเรียนจะได้เรียนดนตรีทุกวัน จันทร์-ศุกร์  ซึ่งหลักสูตรการเรียนนี้ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจาก ปรากฏการณ์ความสำเร็จในการเรียนดนตรี ของ Marta Nemesszeghy และนักเรียนโรงเรียน Kesckemet ในปีต่อมา ได้มีการพัฒนาและเผยแพร่วิธีการนี้ อย่างรวดเร็วทั้งโรงเรียนในระดับอนุบาลไปจนถึงระดับวิทยาลัยการดนตรี Franz Liszt ในเมือง Budapest ปัจจุบันนี้มีโรงเรียนประถมศึกษาในฮังการีมากกว่า 240 โรงเรียนที่สอนดนตรีในรูปแบบนี้  หลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาเหล่านี้ได้กระจายไปแล้วทั่วโลก มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูให้มีความเข้าใจในรูปแบบการสอนแบบโคดาย ในประเทศญี่ปุ่น,จีน,นิวซีแลนด์,ออสเตรเลีย,ประเทศส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป,ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และอีกหลายแห่งทั่วโลก

ปรัชญาพื้นฐานของ โคดาย มีดังนี้

  • All People Capable of Linguistic Literacy Are Also Capable of Musical Literacy.
  • Singing Is The Best Foundation For Musicianship.
  • Music Education To Be Most Effective Must Begin With The Very Young.
  • The Folk Songs of a child’s Own Linguistic Heritage Constitute a Musical “Mother Tongue”

And Should Therefore Be The Vehicle For All Early Instruction.

  • Only Music of The Highest Artistic Value, Both Folk And Composed, Should Be Used in Teaching.
  • Music Should Be At The Heart of The Curriculum, A Core Subject, Used As a Basis For Education.
หมายเลขบันทึก: 501818เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2012 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท