DBA : การคิดเชิงกลยุทธ์


การคิดเชิงกลยุทธ์

การคิดเชิงกลยุทธ์

  การคิดเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากว่าในปัจจุบันหากผู้บริหารสูงสุดขององค์กรมีการคิดแบบกลยุทธ์ก็จะสามารถทำให้องค์กรสามารถแข่งขันในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้

ความหมายของกลยุทธ์

 กลยุทธ์หมายถึงแผนการหรือวิธีการที่มีการคิดแบบรอบคอบ เดิม  กลยุทธ์นั้นใช้ในสงครามบางครั้งเรียกว่ายุทธศาสตร์ต่อมานำมาใช้ในการบริหารทางธุรกิจหรือแม้กระทั่งบางครั้งนำมาใช้ในการบริหารองค์กร ลักษณะของการคิดเชิงกลยุทธ์นั้นมีลักษณะเป็นกระบวนการ หมายความว่า เป็นชุดความคิด คือตั้งแต่วางแผน ดำเนินการตามแผน จนบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่วางไว้

ความหมายของการคิดเชิงกลยุทธ์

หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางการวางแผน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ และการคิดเชิงกลยุทธ์นั้นมีปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการคิดแบบเชิงกลยุทธ์คือ ความแม่นยำของสมมุติฐาน หมายความว่า การคาดเหตุการณที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ หมายความว่าสามารถประเมินคู่แข่งขันได้  ความสามารถในการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลง  ความสามารถในการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจ นอกจากนั้นต้องมีความสามารถในการวางแผนด้วย ดังนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์นั้นหากจัดลำดับแล้วมีขั้นตอนกระบวนการดังนี้ กำหนดเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง วิเคราะห์และประเมินสถานะ หาทางเลือกกลยุทธ์ วางแผนปฏิบัติการ วางแผนคู่ขนาน การทดสอบในสถานการณ์จำลอง ลงมือปฏิบัติการ การประเมินผล

เหตุใดต้องมีการคิดเชิงกลยุทธ์

หากคุณอยากประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการคิดแบบเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงกลยุทธ์นั้นช่วยฉุดจากความฝันสู่โลกแห่งความจริง หมายความว่า เราสามารถสร้างให้เป็นจริงตามเป้าหมายได้หากเราสามารถวางแผนและคิดเชิงกลยุทธ์ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ การคิดเชิงกลยุทธ์ทำให้เราสามารถมองเห็นทางออกที่หลากหลายได้  การคิดเชิงกลยุทธ์ช่ยให้เราพัฒนาทักษะการตัดสินใจในสภาวการณ์ต่างๆได้ การคิดเชิงกลยุทธ์ทำให้เราปรับตัวได้ ภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อม จากที่กล่าวมาข้างต้นหากเราฝึดการคิดแบบกลยุทธ์แล้วสามารถทำให้เราสามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งส่วนตัวและองค์กร

สำรวจสถานการณ์คิดเชิงกลยุทธ์

 ผู้ที่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถดังนี้  ความสามารถในการคิดอย่างเป็นกระบวนการ  ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินสถานะ ความสามารถในการกำหนดแนวทาง ความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถในการวางแผน ความสามารถในการดำเนินการ และความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้า และจากคุณสมบัติเหล่านี้นักคิดเชิงกลยุท์ที่ดีจะต้องมีการวางแผนแล้วประเมินสถานการณ์ดูว่าสามารถทำได้ไหมหากทำได้ก็สามารถลงมือปฏิบัติได้เลยโดยต้องคิดแบบองค์รวมหมายความว่าจะต้องไม่กระทบต่อปัจจัยรอบด้านด้วย

 ชัดในปัญหาและเป้าหมายของกลยุทธ์

 ประเด็นสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์นั้นสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงหากไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงก็ไม่สามารถวางแผนการแก้ไขปัญหาได้ การแก้ไขปัญหานั้น สามารถแก้ไขปัญหาด้วย 4 ขั้นต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสถานะของปัญหาและเป้าหมายถ้าหากปัญหาหมดไปแล้วสถานะจะเป็นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดหนทางในการแก้ไขปัญหา

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหา

ขั้นตอนที่ 4 เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป้าหมายเกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ในการแก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีการคิดแบบกลยุทธ์นั้น สำคัญต้องเริ่มจากการ ศึกษาปัญหาให้ชัดเจน เช่น หากนักศึกษาไม่ชอบมาเรียนปัญหาเกิดจากอะไรที่แท้จริง ประการที่สอง ต้องชัดเจนในเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา นักคิดเชิงกลยุทธ์หากเกิดปัญหาแล้วการแก้ไขปัญหาเมื่อทราบต้นเหตุแห่งปัญหาแล้วก็ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ประการที่สามคือ ชัดในเป้าหมายพึงประสงค์ หมายถึง การชัดเจนในเป้าและสามารถวัดได้ ในการกำหนดเป้าหมายสำคัญจะต้องเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เทอมนี้จะสอบให้ได้ A ทุกวิชา จะต้องทำงานให้เสร็จก่อนเวลา 15.00 น.เป็นการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน บางครั้งอาจมีหลายเป้าหมายแต่ต้องเลือกเป้าหมายที่ดีที่สุดเท่านั้น การกำหนดเป้าหมายนั้นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมาย ระยะสั้น  จากนั้นดำเนินตราเป้าหมายที่วางไว้

       วิเคราะห์และประเมินสถานะสามสิ่งที่ต้องรู้จัก

 ดังนั้นก่อนที่นักคิดเชิงกลยุทธ์จะดำเนินตามเป้าหมายใดๆ ก็แล้วแต่ จะต้องประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อมั่นใจว่าโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากที่นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องรู้ถึงสามสิ่งดังนี้คือ 

1. รู้จักตนเอง รู้จุดออ่น จุดแข็งของตนเอง  หมายความว่า หากเราสามารถวิเคราะห์ตนเองได้ว่าเรามีจุดออ่นจุดแข็งอย่างไร เราก็สามารถวางแผนเพื่อให้ชนะคู่แข่งขันได้  โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดออ่นในตัวเรานั่นเอง ทั้งนี้เราถึงองค์กรได้ด้วยเช่นกัน

2. รู้จักสภาพแวดล้อม รู้โอกาสและอุปสรรค  หมายความว่า  สภาพแวดล้อมภายนอกมีความสำคัญมากเราจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกว่ามีสถานการณ์เป็นเช่นไร โดยการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การรู้จักสภาพแวดล้อมทำให้เราสามารถเตรียมความพร้อมในอนาคตได้เป็นอย่างดี

3. รู้จักอนาคต รู้ความไม่แน่นอนของอนาคต  คงเป็นการดีหากเรารู้อนาคต เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นหากเราสามารถวิเคราะห์อนาคตได้ดี เราก็จะสามารถสามารถดำเนินตามแผนได้ประสบความสำเร็จ

     หาทางเลือกและการวางแผนกลยุทธ์

     หลังจากที่เราประเมินสถานการณ์แล้วเราจะพบว่าเป้าหมายที่เราวางไว้ สามารถดำเนินไปได้ 3 สภาวะคือ  ความแน่นอน ความไม่แน่นอน และสภาวะมีความเสี่ยง  หลังจากวิเคราะห์สภาวะความเสี่ยงแล้วเราจำเป็นต้องกำหนดทางเลือกของเป้าหมายที่ดีที่สุด กล่าวคือ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุด จากนั้นกำหนดกลยุทธ์ที่สอดเคล้องกับเป้าหมาย หลังจากนั้นก็เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการวางแผนปฏิบัติการต่อไป

       ลงมือปฏิบัติการ

         ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติการเป็นขั้นตอนที่ต้องพยายามทำตามแผนที่วางไว้ และวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องมีวิธีดังนี้

 ยืดหยุ่นตามสถานการณ์   หมายความว่า ในการตั้งเป้าหมายนั้นบางครั้งจะต้องมีการยืดหยุ่นของเป้าหมาย

 มุ่งตอบสนองสถานการณ์เฉพาะหน้า พยายามยึดโยงเป้าหมาย หลักในการเอาชนะสถานการณ์เฉพาะหน้ามีดังนี้ มีความคิดในแง่บวกเสมอ พยายามเข้ายึดเป้าหมายให้ได้ มีความสามารถในการควบคุมตัวเอง ตอบสนองสถานการณ์อย่างรวดเร็ว พยายามหาโอกาสจากอุปสรรค  

 ตรวจสอบสถานการณ์อยู่เสมอ  สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบสถานการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย

เทคนิคทางเลือกกลยุทธ์ในสถานการณ์ต่างๆ

        เทคนิคการเลือกกลยุทธ์ในสถานการณ์ต่างๆมีดังนี้

กลยุทธ์ภายใต้สภาวะที่มีโอกาส   นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องมีความพร้อมหากมีโอกาสมาเราพร้อมที่จะลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทันที ดังสภาษิตที่ว่า เวลาและสายน้ำไม่เคยคอยใคร

        กลยุทธ์ภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องรู้จักสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์บางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับกลยุทธ์ก็ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ไป

        กลยุทธ์ภายใต้สภาวะเผชิญอุปสรรค  นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องหลิกอุปสรรคให้เป้นโอกาส

        กลยุทธ์ภายใต้สภาะวิกฤต  นักคิดเชิงกลยุทธ์จะต้องรู้จักประเมินสถานการณ์แล้วเลือกกลยุทธ์การถอย เพื่อตั้งหลักคิดกลยุทธ์ใหม่

การจะเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์นั้นสำคัญจะต้องฝึกฝนโดยเริ่มตามลำดัลดังนี้ คือ ความต้องการ  ความตั้งใจ การตั้งเป้าหมาย

       

อ้างอิง : การคิดเชิงกลยุทธ์   ศาสตาจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  

 

หมายเลขบันทึก: 500911เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท