ประวัติเมืองสุพรรณบุรี


สุพรรณิการ์ดอกไม้ประจำจังหวัด

เมืองสุพรรณบุรี   ที่สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองนั้น ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ยังมีคูและกำแพงเมืองปรากฏอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้  แต่ตัวเมืองในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ  สันนิษฐานว่าคงย้ายมาเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในสมัยกรุงธนบุรีกำลังมีศึกพม่าเข้ามาประชิดติดพัน ยังไม่มีเวลาว่างที่จะทรงคิดในเรื่องการสร้างบ้านเมืองใหม่ขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็แสดงว่าเมืองที่ย้ายมาตั้งขึ้นใหม่นี้ ยังคงเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ บ้านเรือนราษฎรก็มีแต่เฉพาะตามริมแม่น้ำเท่านั้น ลึกจากลำน้ำเข้าไปยังเป็นป่าอยู่แทบทั้งสิ้น  ตามที่สุนทรภู่กวีเอกของไทยไปเที่ยวเมืองสุพรรณ ยังพรรณาไว้ในโคลงนิราศสุพรรณว่า "ได้พบเสืออยู่ในบริเวณเมืองสุพรรณบุรีนี้" ตั้งแต่สมัยโบราณมีคติถือกันโดยเคร่งครัดต่อกันมาว่า "ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ" แต่จะห้ามมาแต่ครั้งใดและด้วยเหตุผลประการใดนั้นไม่มีผู้สามารถจะตอบได้ จนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงถือกันเป็นประเพณีอยู่เช่นนี้เรื่อยมา  เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนี้ พระยาอ่างทองยังทูลห้ามไว้ โดยถวายเหตุผลว่า เทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้านาย ถ้าเสด็จไปมักจะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ทรงเชื่อ ทรงขืนเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีเป็นพระองค์แรก เพื่อจะทรงตรวจราชการที่เมืองนี้ ควรจะช่วยเหลือให้ความสะดวกอย่างไร หรือควรทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอย่างไร ไม่ใช่การไปทำความชั่ว เทพารักษ์ประจำเมืองคงจะไม่ให้โทษเป็นแน่ เมื่อเสด็จกลับจากตรวจราชการครั้งนั้นแล้ว  ก็ไม่ทรงได้รับภยันตรายประการใด เจ้านายพระองค์อื่นทรงเห็นเช่นนั้นก็ทรงเลิกเชื่อถือคติโบราณ และเริ่มเสด็จประภาสกันต่อมาเนืองๆ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นมาก็ไม่มีผู้ใดพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมืองสุพรรณอีกเลย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสุพรรณก็รวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี ซึ่งประกอบด้วย เมืองนครชัยศรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2438 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด  เมืองสุพรรณบุรีจึงเป็นจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่นั้นมา ...


ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ........ต้นมะเกลือ เป็นไม้มงคลที่ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 เพื่อให้พสกนิกรชาวสุพรรณบุรีนำมาปลูกเป็นสิริมงคล ต้นมะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 8-15 เมตรบางต้นที่มีความสมบูรณ์มากอาจสูงถึง 30 เมตร ลักษณะลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขาทุกส่วนของลำต้น เปลือกนอกเป็นสีดำขรุขระ ประโยชน์ของต้นมะเกลือมีมากมาย และใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น คือ ลำต้นใช้ทำไม้ถือกบ (กบใสไม้) ทำเครื่องตกแต่บ้าน ผลมะเกลือใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เปลือกใช้ผสมเครื่องดื่มพื้นเมืองบางชนิดเพื่อกันบูด

ดอกไม้ประจำจังหวัด.........สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ

จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5358 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า อำเภอศรีประจันต์ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทอง
อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอสองพี่น้อง อำเภอสามชุก

อณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสิงห์บุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี

 


บุคลสำคัญ ของจังหวัดสุพรรณบุรี

สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณศิริ) ชาวสุพรรณผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิให็กับถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน ที่เป็นพระสังฆราชา จนได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์สูงสุด ถึงสมเด็จพระสังฆราช คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องที่ 17 (ปุ่น สุขเจริญ) สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ประสูติที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศึกษาปริยัติธรรม ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกด้วย ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบศึกษาค้นคว้า ชอบฟังปาฐกถา จนมีความรู้กว้างขวาง และมีความสามารถด้านการประพันธ์ ปรากฎผลงานมากมาย เช่น หนี้กรรมหนี้เวร พุทธชยันตี ลิขิตสมเด็จ และยังเป็นองค์เทศนา (ปฎิภาณ) ที่เป็นเยี่ยม ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก องค์ที่ 17 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม และอยู่ในพระสมณศักดิ์นี้จนสิ้นพรธชนม์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2516 อนุสรณ์สถานที่ชาวสุพรรณยังระลึกถึง พระคุณของท่านจวบจนทุกวันนี้คือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ขึ้น ที่บ้านเกิดของท่าน คืออำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุร

 

คำสำคัญ (Tags): #สุพรรณ
หมายเลขบันทึก: 500555เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รู้ละเอียดจัง เป็นคนสุพรรณหรือเปล่าเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท