ศิลปะการลงจากม้า


คุณเป็นคนหนึ่งที่ควบขี่อยู่บนหลังม้ามาแสนนาน จนชีวิตเริ่มเสียสมดุล ปี ใหม่นี้ ก็ควรจะเริ่มทบทวนวิถีชีวิตแบบเดิมได้แล้วจากนั้นควรบอกตัวเองให้มองหาวิธีลงจากหลังม้าเป็นพักๆ แล้วค่อยกลับขึ้น ไปควบขี่ใหม่ก็ยังได้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการควบขี่อยู่บนหลังม้าเพียงอย่างเดียว

   เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ท่ีผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมประชุมงานวิจัยที่ มจร.วังน้อย และโชคดีท่ีได้รับหนังสือของท่าน ว วชิระเมธี ซึ่ีงในหนังสือนี้เล่าถึง  นิทานเรื่องศิลปะการลงจากหลังม้า...... น่าสนใจมาก  จึงอย่กแบ่งปันดังนี้คะ
.......ชายคนหนึ่ง เมื่อเรียนจบแล้ว ได้รับของขวัญชิ้นหนึ่ง จากพ่อเป็นม้าหนุ่ม ...ม้าตัวนี้ ฝีเท้าดีมาก ท่วงทีงามสง่า แข็งแรง เขาดีใจมากกับรางวัลแห่งชีวิตชิ้นนี้ ทันทีที่ได้ม้าจากพ่อ จึงกระโดดขึ้น ควบขี่ทันทีอย่างมีความสุข แต่พลัน ที่เขากระโดดขึ้นขี่ ม้าตัวนี้ก็ออกวิงอย่างรวดเร็วไม่ยอมหยุด บังคับอย่างไรก็ไม่เป็นผล ท่ามกลางความเร็วของฝีเท้าม้า เขาไม่กล้าจะกระโดดลงเพราะเกรงอันตราย

...ในเมื่อไม่กล้ากระโดดลงจากหลังม้า บัณฑิตหนุ่มจึงต้องควบขี่อยู่บนหลังม้าเช่นนั้น อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น ผมสีดำสนิท ม้าพาเขาวิ่งจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง จากประเทศสู่ประเทศ จากวันสู่คืน จากเดือนสู่ปี จากวัยหนุ่มแน่น ผ่านวัยกลางคน จนกระทั่งผมสีดำของเขากลายเป็นผมสีดอกเลาขาวโพลนเต็มหัว
.....แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังไม่ได้ลงจากหลังม้า ร่างกายของเขา ทรุดโทรม อมโรค เหี่ยวย่น หน้าตาของเขามีแต่ริ้ว รอยของวันเวลา ดวงตาของเขาแห้งโหยขาดชีวิตชีวา เหมือนซากศพที่ยังมีลมหายใจ
......วันหนึ่ง ขณะควบขี่อยู่บนหลังม้าผ่านไปทางย่านชุมชนแห่งหนึ่งผู้คนหลายร้อยคน เห็นเขาควบม้ามาแต่ไกล ต่างพากันมุงดูเมื่อเขาควบม้าเข้ามาใกล้ๆ ด้วยความเร็วสูง ชาวบ้านจึงตะโกนถามด้วยความสนใจใคร่รู้ว่า เขากำลังจะควบม้าไปไหน ชายชราอดีตบัณฑิตหนุ่มตะโกนตอบสวนออกไปว่า
......“ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ผมกำลังจะไปไหน เพราะนับแต่ขึ้น ขี่อยู่บนหลังม้า ผมก็ยังไม่เคยลงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าคุณอยากรู้ว่าผมกำลังจะไปไหน ก็ลองถามม้าของผมดูสิ”
.....แล้วม้าจะตอบแทนเขาได้ไหม?
....ใช่หรือไม่ว่า เราแต่ละคนที่กำลังทำงานงกๆ แทบล้มประดาตาย จนไม่มีเวลาหยุดพักผ่อน ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ให้ครอบครัว ให้ธรรมชาติ ให้สังคม หรือให้หมอ(ยามรู้สึกว่าไม่สบาย/หรือผิดนัดกับหมอบ่อยๆ) ให้วัด (=ให้การฟื้นฟูจิตวิญญาณ) ให้การเดินทางท่องเที่ยว หรือให้การเติมเต็มทางปัญญาด้วยการอ่านหนังสือดีๆ หรือการเรียนรู้เพิ่มเติมจากหลักสูตรต่างๆ ก็ไม่ต่างอะไรกับบัณฑิตหนุ่มคนนั้น ที่นับแต่ขึ้น ขี่อยู่บนหลังม้าแล้ว ก็ไม่รู้จักศิลปะที่จะลงจากหลังม้าเพื่อเอาเวลาไปเรียนรู้และพัฒนาชีวิตในมิติด้านอื่นๆ บ้าง
.....หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ควบขี่อยู่บนหลังม้ามาแสนนาน จนชีวิตเริ่มเสียสมดุล ปี ใหม่นี้ ก็ควรจะเริ่มทบทวนวิถีชีวิตแบบเดิมได้แล้วจากนั้นควรบอกตัวเองให้มองหาวิธีลงจากหลังม้าเป็นพักๆ แล้วค่อยกลับขึ้น ไปควบขี่ใหม่ก็ยังได้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการควบขี่อยู่บนหลังม้าเพียงอย่างเดียว
....หรือหากคนใกล้ตัวของคุณ เป็นนักขี่ม้ามายาวนานจนเสพติดชีวิตบนหลังม้า หากมีเวลา คุณก็ควรนำบทความนี้ใ ห้เขาอ่าน แล้วถามเขาว่า
....“เมื่อไหร่คุณจะลงมาจากหลังม้าเสียที”
.....ศิลปะการลงจากหลังม้าเป็นพักๆ หรือลงแบบลาขาด เพื่อจัดสมดุลชีวิตไม่ใช่ศิลปะขั้นสูง ใครๆ ก็ทำได้ ถ้ามีสติแต่ถ้าปราศจากสติเสียแล้ว แม้มีใครไปตะโกนบอกให้ลงจากหลังม้า บางทีเขาอาจด่าตอบ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จงปล่อยเขาให้ควบม้าต่อไปจนสาแก่ใจของเขาเถิด


หมายเลขบันทึก: 500536เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท