zugus
นาย นัฐวุฒิ นัฐวุฒิ อินนอก

ประเภทไหมไทย


ประเภทไหมไทย

การผลิต สามารถแบ่งการผลิตไหมออกเป็น 2 ประเภท คือ ไหมหัตถกรรมและไหมอุตสาหกรรม

               ไหมหัตถกรรม 
          เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ไทยลูกผสม โดยรับไข่ไหมจากทางราชการหรือเกษตรกรต่อสายพันธุ์เอง เป็นการเลี้ยงไหมที่เกษตรกรจะสาวเส้นไหมและทอผ้าเองในครัวเรือน บางส่วนอาจจำหน่ายตั้งแต่ขั้นตอนรังไหม มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 160,000 ราย ให้ผลผลิตเป็นรังไหมสีเหลือง สำหรับผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 75 ของผลผลิตเส้นไหมทั้งประเทศ

                ลักษณะเฉพาะ
          รังไหมมีรูปร่างทรงรูปไข่ (oval) เปลือกรังหนาพอควร ความยาวเส้นไหมประมาณ 800 เมตร/รัง มีปุยไหมบ้างเล็กน้อย ผลผลิตรังไหมประมาณ 18 - 20 กิโลกรัม/แผ่น หรือมีจำนวนรังไหมประมาณ 900 รัง/กิโลกรัม

 

               ไหมอุตสาหกรรม
          เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ โดยใช้ไข่ไหมที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ผลผลิตเป็นรังไหมสีขาว แล้วจำหน่ายให้แก่โรงสาวไหมของเอกชนในรูปแบบของสมาชิกโรงสาว มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 5,000 ราย ซึ่งเกษตรกรสามารถเลี้ยงไหมได้ปีละ 8-10 ครั้ง สำหรับผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของผลผลิตเส้นไหมทั้งประเทศ

 

                    ลักษณะเฉพาะ
รังไหม โดยส่วนใหญ่เป็นรูปร่างทรงรูปไข่ หรือ รูปถั่วลิสง (peanut) เปลือกรังหนา ความยาวเส้นไหม 1,200 เมตร/รัง มีปุยไหมเล็กน้อย ผลผลิต 1 แผ่น ได้ประมาณ 30 - 35 กิโลกรัม หรือมีจำนวนรังไหม ประมาณ 60 รัง/กิโลกรัม

การสาวไหม คือ การดึงเส้นใยไหมออกจากเปลือกรังไหม โดยการต้มรังไหมในน้ำร้อน อุณหภูมิของน้ำสูงกว่าการสาวไหมอุตสาหกรรม คือ ประมาณ 60-80 องศาเซลเซียล เพื่อให้กาวไหมละลายและอ่อนตัว เส้นไหมจะคลายตัวออกแล้วหาเงื่อนเส้นไหมและสาวเส้นใยจากเปลือกนอกของรัง เรื่อยไปจนหมด ขนาดของเส้นไหมขึ้นอยู่กับจำนวนรังไหมที่ใส่รวมในหม้อต้ม
ก่อนที่จะทำการสาวไหม ต้องคัดแยกรังไหมดีและรังไหมเสีย และแยกการสาวไหมทั้งสองชนิดออกจากกัน เพื่อให้เส้นไหมที่สาวได้มีคุณภาพดี

การสาวไหม มี 2 ลักษณะ คือ สาวไหมด้วยมือ และสาวไหมด้วยเครื่องทุ่นแรกหรือเครื่องจักร การสาวด้วยมือจะนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะของเส้นไหมพุ่ง เนื่องจากข้อจำกัดความยาวของเส้นใยไหม

สาวไหมด้วยมือ อาจสาวไหมเปลือกนอกออกชั้นหนึ่งก่อน ซึ่งมีประมาณ 15-20% ของเปลือกรัง แล้วจึงสาวไหมชั้นใน เส้นไหมจากเปลือกนอก เรียกว่า ไหมลืบ เส้นมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ ขนาดใหญ่และหยาบ มีปุ่มปมและขี้ไหมปะปนอยู่ด้วย ส่วนไหมชั้นในจะเรียก ไหมน้อย มีขนาดเล็ก อ่อนนุ่ม เป็นเงา สีสม่ำเสมอ การสาวไหมด้วยมือแบบนี้ เกษตรกรจะสาวได้ประมาณวันละ 300 กรัมเส้นไหม (8 ชั่วโมงต่อวัน) เท่านั้น

สาวไหมด้วยเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักร ถ้าเป็นเครื่องสาวไหมขนดเล็ก เกษตรกรจะทำการสาวไหมได้เอง และสาวได้ไม่น้อยกว่า 600 กรัมเส้นไหมต่อวัน ขึ้นอยู่กับเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักร หากเป็นเครื่องสาวไหมขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ที่ใช้แรงงานไม่มาก การสาวไหมแบบนี้ผู้สาวจะต้องมีความชำนาญ ประสบการณ์ และการสังเกตเป็นอย่างดี เนื่องจากความเร็วของการสาวไหมมากขึ้น



                การฟอกย้อม
การฟอก (degumming) การฟอกไหม คือ การฟอกเอากาวไหมที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอกออกจากเส้นไหม เส้นไหมจากไหมพันธุ์ต่าง ๆ มีปริมาณกาวไหมแตกต่างกัน ดังนั้นระยะเวลาของการฟอกกาวจากเส้นไหมจึงแตกต่างกันตามไปด้วย
การฟอกกำจัดกาวไหม โดยต้มในน้ำร้อนเกือบเดือดกับสบู่แท้ สบู่เทียม และโซดาแอส ประมาณ 20-30 นาที แล้วอาจฟอกขาวต่อโดยใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์อีกประมาณ 30 นาที แล้วล้างในน้ำเย็น 4 ครั้ง ล้างในน้ำเดือดนาน 10นาที ล้างน้ำเย็นจนสะอาด จึงผึ่งให้แห้งในที่ร่ม

หมายเลขบันทึก: 500025เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อมูล ที่อยากรู้มานานเรื่องการสาวไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท