Peesing


ชายแดนที่ปลายด้ามขวาน

ในปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคมอย่างมากมาย และส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่เคยเป็นปกติสุข จนกลายเป็นความเดือดร้อนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ประชาชนคาดหวังที่จะให้ข้าราชการที่มีอำนาจในพื้นที่ช่วยแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่สามารถจัดการได้ ในที่สุดประชาชนต้องเดินขบวนประท้วงและเดินทางเข้าร้องเรียนต่อรัฐบาลส่วนกลางที่กรุงเทพฯ สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเช่นเดียวกับประชาชนในจังหวัดต่างๆ แต่ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่า เพราะประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิหลังด้านประวัติศาสตร์ถ้าหากการแก้ไขไม่ถูกต้อง ปัญหาต่าง ๆ ก็จะยิ่งบานปลายจนกลายเป็นความรุนแรง เช่นสภาพการณ์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้กลายเป็นสนามรบของผู้ถืออาวุธของหลายกลุ่ม

สถานการณ์ 4 จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และหกอำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอหาดใหญ่และอำเภอสะบ้าย้อย ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทุกวันนี้ เมื่อเราเดินทางข้ามผ่านระหว่างจังหวัดสงขลาเข้ามาจังหวัดปัตตานี ประตูสู่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีทั้งลวดหนาม, ป้อมตำรวจ, ด่านทหาร, บ้านเมืองเงียบเหงา, ไร่สวนรกร้าง, และธุรกิจที่ซบเซา หากรวมไปถึงข่าวการก่อเหตุร้ายรายวัน มันมีความรู้สึกเหมือนข้ามผ่านไปยังชายแดนของอีกประเทศหนึ่ง เพียงแต่ไม่ต้องขอวีซ่า หรือประทับตราหนังสือเดินทาง ด้วยวัฒนธรรม ภาษาที่สื่อสาร และศาสนา ที่ต่างกัน ทำให้บุคคลทั่วไปไม่กล้าที่จะไปท่องเที่ยวมากนัก เพราะกลัวไม่ปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน หากจะพูดถึงปัญหา 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วที่มาที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เหล่านักวิชาการต่างๆ และเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เป็นมาในอดีต นั้นสามารถนำมาเชื่อมโยงและชี้ให้เห็นได้ว่ามันเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน โดยความรุนแรงได้เพิ่มและยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว   เราทุกคนต่างทราบกันดีถึงปัญหาชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่อยู่นอกพื้นที่จะรับรู้ได้จากสื่อต่างๆ ที่ประโคมข่าวในแต่ละครั้งที่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น ส่วนคนที่อยู่ภายในพื้นที่จะได้รับทราบจากสถานการณ์ภายในที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และความขัดแย้งที่สะสมมากันอย่างช้านาน

ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้หามาตรการ ต่างๆมุ่งตรง เพื่อที่จะช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  และแนวทางการแก้ปัญหาอันหนึ่งที่ได้รับจากในหลวง คือ “เข้าใจ เข้าถึง และ พัฒนา” ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยให้สังคมทุกสังคม ที่มีความขัดแย้งกันได้มีความสงบสุขขึ้น  เราขอเสนอ 2 จุดใหญ่ของการแก้ปัญหา ขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะมีการดำเนินการแก้ปัญหาในขั้นต่อไป คือ ศาสนา และ การศึกษา ที่ต้องหา มาตรการ และวิธีการให้แนวทางนี้บรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้

สำหรับปัญหา4จังหวัดชายแดนใต้ อย่างที่ประชาชนทั่วไปทราบกันดีว่า มีความแตกต่างกัน ทาง ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่ที่เหมือนกันคือเราเป็น “คนไทย” หากจะย้อนไปในอดีต ครั้งเมื่อในสมัยนโยบาย บูรณาการ แห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2464 มีผลบังคับให้บุตรหลานของคนทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียนชั้นประถมศึกษาซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนบางกลุ่มมองว่าความพยายามในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและ ส่งเสริมให้ทุกคนสามารถอย่างออกเขียนได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานในอนาคต เป็นการกีดกันชนชาติมาเลย์มุสลิมออกจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ต่อมารัฐบาลไทยสั่งปิดบรรดาโรงเรียนต่างๆที่มิได้สอนภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักสูตรของรัฐทั้งหมดลงทั่วประเทศในปีพ.ศ. 2466 ซึงรวมไปถึงโรงเรียนของชาวมาเลย์มุสลิมด้วย เป็นผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการจลาจลขึ้นในพื้นที่อย่างรุนแรง

 ปี พ.ศ. 2482 มีการประกาศใช้ระเบียบวัฒนธรรมไทยโดยเผด็จการ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ชาวไทยต้องใส่เครื่องแต่งกายและประเพณีนิยมแบบไทย ผู้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวนี้จะต้องถูกปรับไหมและรับโทษอย่างเข้มงวด ทั้งนี้รวมไปถึงชาวไทยมุสลิมด้วย สถานการณ์ก็เลวร้ายหนักขึ้นเมื่อการใช้ภาษามาเลย์และวัตรปฏิบัติบางอย่างทางศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลไทยภายใต้เผด็จการจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2487(ค.ศ.1944)

 ปี พ.ศ. 2504(ค.ศ.1961) รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้แนวนโยบาย "ปฏิรูปการศึกษา" ขึ้นในพื้นที่จังหวัดของชาวมาเลย์มุสลิม รัฐบาลให้การยอมรับโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิม (ปอเนาะ) โดยให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ประยุคระบบการศึกษาไทยเสียใหม่ ให้ครอบคลุม และ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมาเลย์มุสลิม เหล่านี้ก็เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความจงรักภักดีในสถาบันหลักอันประกอบด้วยชาติ ศาสนา(ทุกศาสนาในประเทศไทยได้รับความเคารพอย่างเท่าเทียมกัน) และพระมหากษัตริย์

อย่างไรก็ตาม ชาวมาเลย์มุสลิมบางกลุ่มในภาคใต้กลับมองว่า นโยบายบูรณาการแห่งชาตินั้นมีเป้าหมายในการหลอมรวมชนชาวมาเลย์มุสลิมเข้ากับศูนย์อำนาจที่กรุงเทพฯ เป็นการท้าทายต่อวิถีศรัทธาและ อัตลักษณ์ของชุมชนมาเลย์มุสลิม ภายใต้ระบอบการปกครองที่หมายมุ่ง "วิวัฒน์" เกิดการยุยงจากผู้ไม่หวังดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้ชาวมาเลย์มุสลิมดำเนินการตอบโต้ ในหลากหลายวิธีการรวมไปถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทย โดยมิได้มองว่าประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คนบางกลุ่ม บางวัฒนธรรม อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่าชาวมาเลย์ในภาคใต้ด้วยซ้ำไป และก็ไม่ใช่ว่า คนทุกกลุ่มเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย แต่เพื่อความสงบและปรองดองของคนไทยด้วยกัน คนทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่าในประเทศไทย ทำทุกอย่าง เพื่อให้ตนสามารถอาศัยร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันด้วยความสงบ หากกลุ่มใดไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐ กลุ่มคนเหล่านั้นมักจะแสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วง  ซึ่งเป็นเพียงวิธีการเดียวที่ชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล ซึงเป็นการจำกัดสิทธิอย่างชัดเจน และเป็นแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม

                นี่คือนโยบายหนึ่งที่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง และจนมาถึงปี พ.ศ.2544 เริ่มที่จะมีแนวโน้มความรุนแรงของปัญหามากขึ้นโดย ผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นนั้นยังคงคลุมเครือเสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั้งเดิมในภูมิภาค อย่างเช่น พูโล บีอาร์เอ็นและจีเอ็มไอพี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (อันเป็นสาขาหนึ่งของบีอาร์เอ็น) และกลุ่มติดอาวุธที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบีอาร์เอ็น แต่ด้วยวิธีการทำงานของกองโจรในภาคใต้ ซึ่งโจมตีคลังอาวุธทหารและโรงเรียน ไม่เหมือนกับวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก  ในตอนแรก รัฐบาลมองว่าการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจำนวนมากก็เชื่อว่า กลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากตำรวจเสียชีวิตไป 14 นาย ภายหลังจากรัฐบาลได้ประกาศยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจที่มีเรื่องไม่ค่อยดีนักในด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งได้เริ่มการปราบปรามอย่างกว้างขวางในทันที การปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความไม่พอใจต่อการละเมิดดังกล่าวได้นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 และ 2548 ในการโจมตีหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเจ็ดเดือน ก็มั่นใจได้ว่ามันไม่ใช่ปัญหาระดับท้องถิ่นแล้ว และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547   ถัดจากนั้นมาไม่นาน มีเหตุการณ์ปะทะกับผู้ก่อการร้ายใน มัสยิดกรือเซะ ผลความสูญเสียที่เกิดขึ้นยิ่งมากขึ้น และปีเดียวกันก็เกิดเหตุสลดอีกครั้ง จากทางรัฐบาลความประมาทหรือประการใดกัน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขนย้ายผู้ต้องหาในคดีปิดล้อมสถานีตำรวจ อำเภอตากใบ จำนวน 85 คนเสียชีวิต ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นเหตุสะเทือนขวัญในหมู่พี่น้องมุสลิมเป็นอย่างมาก

                               Pensang  Junthawee ;2012(24.08.12)

หมายเลขบันทึก: 499853เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท