Module 6 Finacial management Part 3


ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการศึกษาเรื่องนี้ ในอนาคต การต่อยอดการศึกษาวิจัยต่อไป

ค. ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการศึกษาเรื่องนี้ ในอนาคต

- สามารถต่อยอดการศึกษาวิจัยต่อไปได้อีกในเรื่อง การศึกษาหาต้นทุนการให้บริการสุขภาพในระบบอื่น ได้แก่ กลุ่มผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (SSS) และ กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และรัฐวิสาหกิจ (CSMBS)

 - ควรมีการจัดระบบข้อมูลหลักๆ ขององค์กรให้สะดวก ต่อการนำมาวิเคราะห์ และบริหารจัดการ

 - ควรเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในลักษณะไปข้างหน้า (Descriptive prospective study) ระยะเวลาในการศึกษาควรเป็น 1 ปีงบประมาณ เพื่อจะได้เห็นภาพรวมสถานการณ์ด้านการบริหารทรัพยากรทั้งองค์กร

 - ควรคิดต้นทุนทั้งองค์กร เนื่องการกระจายต้นทุนจะได้ใกล้เคียงใกล้กับความเป็นจริง

-  มีการจำแนกและจัดกลุ่มหน่วยต้นทุน การศึกษาและวิเคราะห์องค์กร สามารถแบ่งหน่วยต้นทุนออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

๑. หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-revenue producing cost center: NRPCC)   

๒. หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (Revenue producing cost center: RPCC)  

๓. หน่วยงานที่บริการผู้ป่วยโดยตรง (Patient service  : PS) และหน่วยที่ให้บริการอื่น (Non patient service  : NPS) ซึ่งแต่ละกลุ่มจำแนกออกเป็นหน่วยต้นทุนย่อยๆเพื่อใช้เป็นการอ้างอิงในการเก็บและบันทึกข้อมูลต่อไป 

-  ผู้บริหารเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ (CUP) สามารถนำผลการศึกษาต้นทุน ที่ได้ ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้การวิเคราะห์ต้นทุนสามารถดำเนินการได้หลายระดับ ได้แก่

-  ระดับภาพรวมขององค์กร

-  ระดับหน่วยงานย่อย เช่น แผนก กลุ่มงาน ของโรงพยาบาล หรือ แต่ละสถานีอนามัย (รพ.สต.)

-  ระดับศูนย์กำไร (Profit centre) / ศูนย์ต้นทุน (Cost centre)

-   ต้นทุนต่อผู้ป่วย เช่น ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยนอก (ราย) ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยใน (รายวันนอน)

-   ต้นทุนเฉลี่ยต่อการนอนสถานบริการหนึ่งวัน

-   การวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค หรือ กลุ่มโรค เช่น ต้นทุนเฉลี่ยการของแต่ละกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups: DRG) 

-   ระดับกิจกรรมการบริการ เช่น ค่าตรวจ Complete Blood Count (CBC), Blood chemistry (Electrolyte)

-   ต้นทุนเฉลี่ยตามศูนย์/ หน่วยความรับผิดชอบ (Responsibility center/ unit) แผนก หรือ กลุ่มงาน

-   ต้นทุนรายโรคเฉลี่ย (ต่อโรค)

-   ต้นทุนเฉลี่ยต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Relative Weight: RW) หรือ ค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับปรุง (Adjusted Relative Weight)

-   ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group: DRG)

-   ต้นทุนเฉลี่ยแยกตามสิทธิผู้ป่วย หรือกองทุน

สรุป สารสนเทศและข้อมูล ด้านต้นทุนบริการต่อหน่วยนี้ นอกจากเป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารการเงินการคลังของสถานบริการนั้น แล้ว ยังสามารถใช้เปรียบเทียบในสถานบริการระดับเดียวกันหรือระดับใกล้เคียงกัน รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลในภาพรวมของประเทศเพื่อจัดทำค่าต้นทุนต่อหน่วยมาตรฐานของระดับประเทศ ต่อไปได้

หมายเลขบันทึก: 499685เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท