การประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเชิงปฏิบัติการภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดอุตรดิตถ์


รู้สึกภาคภูมิใจ ที่หลายโรงเรียนได้รับป้ายสนองพระราชดำริฯ และเกียรติบัตร แล้วแต่ยังมีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ประโยชน์จากการพัฒนาหลายๆด้าน ทั้งในเชิงวิชาการและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว การฟัง-ศึกษาทฤษฏีอย่างเดียว อาจไม่เข้าใจ ต้องทำให้ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อกลับไปแล้วจะสามารถดำเนินการต่อได้อย่างถูกต้อง

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจัดประชุม กลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเชิงปฏิบัติการภาคเหนือตอนล่าง ขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม  2555 ณ โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี  จังหวัดอุตรดิตถ์  เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2556 การพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์ ดำเนินงานได้อย่างถูกตรงตามนโยบาย  ทิศทาง  เป้าหมาย ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ขอสรุปสาระสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยภาพรวม ดังนี้

        

                                                       นางประสพศรี  เตมียบุตร 

นางประสพศรี  เตมียบุตร 
ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีพิษณุโลก  ที่ปรึกษา ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ภาคเหนือตอนล่าง    กล่าวเปิดงานสรุปความว่า       

รู้สึกภาคภูมิใจ  ที่หลายโรงเรียนได้รับป้ายสนองพระราชดำริฯ และเกียรติบัตร แล้วแต่ยังมีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งได้ประโยชน์จากการพัฒนาหลายๆด้าน  ทั้งในเชิงวิชาการและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว   การฟัง-ศึกษาทฤษฏีอย่างเดียว  อาจไม่เข้าใจ   ต้องทำให้ถูกต้อง   ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง  เมื่อกลับไปแล้วจะสามารถดำเนินการต่อได้อย่างถูกต้อง  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้คุ้มค่าที่สุด
 

DSC_410317-190855 DSC_410017-190855

              นายวิเชียร  ปั้นม่วง  รอง ผอ.กลุ่มบริหารวิชาการ กล่าวต้อนรับฯ / คณะที่ปรึกษา ประสานงาน


ผู้เข้าร่วมประขุมฯ  จำนวน 100 คน  จากโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 13 โรงเรียน คือ

1. โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  จังหวัดกำแพงเพชร
2. โรงเรียนเทศบาล 5 เด่น 5 เทศบาลนครเชียงราย  จังหวัดเชียงราย
3. โรงเรียนอุดมดรุณี  จังหวัดสุโขทัย
4. โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม  จังหวัดพิจิตร
5. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดตาก
6. โรงเรียนผดุงปัญญา  จังหวัดตาก
7. โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
8. โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม  จังหวัดเพชรบูรณ์
9. โรงเรียนวิทยานุกูลนารี  จังหวัดเพชรบูรณ์
10. โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์
11.โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี   จังหวัดอุตรดิตถ์
12.  โรงเรียนน้ำริดวิทยา  จังหวัดอุตรดิตถ์
13. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์     

สาระหลักของการประชุมประกอบด้วย  3 สาระ
 
1.  ธรรมชาติแห่งชีวิต 
2.  สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว 
3.  ประโยชน์แท้แก่มหาชน
 

 

   ศึกษาต้นไม้ " สังเกต- ใช้เครื่องวัด - ทำการทดลอง - วิเคราะห์ผล - สรุปผล - บันทึกรายงานผล  "
   

 

                                               เรียนรู้ด้วยความเบิกบานใจ


โดยมี นายชนันต์ติณณ์  เทียนทอง  เจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)  เป็นวิทยากรหลักในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  เน้นความรู้-ความเข้าใจ ในสาระทั้ง 3  และสามารถนำไปดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อศึกษาต่อไป... ได้อย่างถูกต้อง

  

DSC_410717-190855

                                                      นายชนันต์ติณณ์  เทียนทอง   

 

 

                                       นางประสพศรี  เตมียบุตร และ นายสมพงษ์   พลสูงเนิน 

นายสมพงษ์   พลสูงเนิน  อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า   ที่ปรึกษา ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ภาคเหนือตอนล่าง    เสริมเนื้อหาและอธิบายความในส่วนของเรื่องการเตรียมการรับการประเมินในแต่ละด้าน จำนวน 16 ด้าน  เช่น
ด้านการบริหารจัดการ    ด้านอาคาร-สถานที่ พัฒนา  ด้านวิชาการ   ด้านงบประมาณ   ด้านแผนงาน ฯ ด้านครูผู้สอน   ด้านการจัดกิจกรรมการเรียน-การสอน   รวมทั้งด้านทั่วไป  ฯลฯ  และการจัดทำแผน   ต้องมีการนำเสนอทั้งองค์กร   ตั้งแต่แผนของโรงเรียน  แผนของรองผู้บริหารแต่ละฝ่าย   แผนการจัดการของฝ่ายแผนงาน  แผนของหัวหน้ากลุ่มสาระฯ  แผนของครู  แผนของฝ่ายการเงิน  แผนของหัวหน้าบุคลากร  และแผนของครูประจำชั้น ฯลฯ





                                                             นายมนต์ชัย  ปาณธูป  
 

นายมนต์ชัย  ปาณธูป   ผู้อำนวยการโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี  ได้กล่าวต้อนรับ  คณะผู้เข้าร่วมประชุมฯ  และกล่าวชื่นชม  โรงเรียนสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและจะขอรับการประเมินฯ  ในขั้นสูงขึ้น  พร้อมทั้งเล่าถึง บทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง โรงเรียนที่กำลังขับเคลื่อนไปสู่มาตรฐานสากล   ประมาณ 14 โรงเรียน   จากจังหวัดนครสวรรค์-เชียงราย  เช่นเรื่อง TQA และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน   ในด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของ นักเรียนอาจมีการ ประเมินด้วยข้อสอบ TOEFL   ส่วนงานสวนพฤกษศาตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตนักเรียนโดยตรง   ซึ่งเป็น หนึ่งใน สมรรถนะหลัก ในด้านการคิด  การสื่อสาร  การวิเคราะห์  รวมทั้งด้านศิลป และ สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ และยินดีที่จะดูแลและให้ความช่วยเหลือ

 

                                       คุณครูมารศรี  นิลรัตน์  ตั้งคำถามเพื่อแลกเปลี่ยน-เรียนรู้               


คุณครูศศิพันธุ์  หนูเทพย์ 
ได้เล่าสู่กันฟัง ถึงเทคนิคของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ  โดยใช้วิธีการสอนแบบง่ายๆ   ไม่ได้เน้นหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์มากมายนัก   แต่นำหลักการมาปรับใช้  ในด้านการศึกษา- แลกเปลี่ยนเรียนรู้  บูรณาการในสาระเดียวกันและข้ามสาระฯ เพื่อลดภาระ งานของนักเรียนให้น้อยลง 

เทคนิคในการเลือกพืชศึกษา จะเลือกต้นไม้ที่ไม่ใหญ่โตนัก  ไม้ยืนต้นกว่าจะออกดอก-ออกผล กินเวลานานมาก  หากนำพันธุ์ไม้ที่ออกผลเร็ว  จะช่วยกระตุ้นความสนใจมากขึ้น     เมื่อได้เห็นความเปลี่ยนแปลง เด็กๆจะมีกำลังใจ

 

                                                    นางสาวประนอม  รัตนชัย
  

นางสาวประนอม  รัตนชัย   อดีตคุณครูโรงเรียนสตรีนครสวรรค์  ที่ปรึกษา ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ภาคเหนือตอนล่าง  ได้เสริมความรู้-ความเข้าใจ ในการสรุปช่วงท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ของ 3  สาระหลักฯ เพื่อเรียนรู้วิธีการ  สามารถนำไปดำเนินการ  และจัดการเรียนรู้ผ่องถ่ายให้กับนักเรียน  และพัฒนาต่อถึงการจัดทำนวัตกรรม    รู้จักที่จะปรับใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชา   รูปลักษณ์   สรรพคุณ  ฯลฯ  และสามารถไปเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  สู่ขั้นการนำไปวิเคราะห์  สังเคราะห์ โดยอิงหลักสูตรของแต่ละสาระฯ   สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายฯ หากบางคน ทำวิจัยไม่ได้ ก็ให้เขียนแบบบูรณาการก็พอ   ครูควรใช้การบูรณาการแบบพอเหมาะ  บางคนปฏิบัติยังไม่ครบกระบวนการ 5 ขั้น  (  สังเกต - รับรู้  ทำตามแบบ   คิดเอง-  ฝึกทำให้ชำนาญ  และทำเองโดยไม่มีแบบ)  ด้วยซ้ำ

การบูรณาการ  คือการรวมศาสตร์ทั้งหลาย  รวมความรู้ทั้งหลาย  มีการบูรณาการทั้งภายในและภายนอก

หัวใจของการบูรณาการ: ครูเป็นผู้วางแผนดึงศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน ออกมา

 

การบูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
    
1 การบูรณาการแบบสอดแทรก  เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
    
2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป  วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
   
3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ  เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
   
4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา  หรือสอนเป็นคณะ  เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  มีการวางแผน  ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด  หรือปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน (คัดลอกข้อความจาก http://portal.in.th/inno-kereen2/pages/1764/)  

***   ที่สำคัญ  เขาต้องการความรู้คู่คุณธรรม ต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไปถึงตรงนั้นให้ได้ ***  

 

 


นางเพ็ญศรี  พืชพันธุ์ 
ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ที่ปรึกษา ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ภาคเหนือตอนล่าง    ได้กล่าวปิดท้ายการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ  ด้วยเรื่อง ของการประเมินในเบื้องต้น ของ 8  โรงเรียน    ขอให้ไปตรวจสอบงานใน 5 องค์ประกอบให้สมบูรณ์   ส่วน 3 สาระฯ  แม้จะพร้อมแล้ว  แต่หากจะเพิ่มเติมใบงานก็สามารถทำได้  และทุกงานนั้น  ต้องเขียนสรุป ทั้ง 3 ด้าน   1 ความรู้ด้านวิชาการ    2  ความรู้ด้านภูมิปัญญา  3  ด้านคุณธรรม-จริยธรรม  โดยดูจากคู่มือเป็นหลัก  และขอให้พยายามทำให้ดีที่สุด

 

 เจ้าหน้าที่และคณะที่ปรึกษา โครงการฯ และคณะครูจากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

สำหรับโรงเรียน- สถานศึกษาที่ต้องการจะรับการประเมิน   ทางโครงการฯจะดำเนินการประเมินให้แล้วเสร็จ ก่อนเดือนกันยายาน  2556    เพราะต้องมีการเตรียมการจัดนิทรรศการในการประชุมวิชาการฯ  ซึ่งกำหนดสถานที่การจัดงานที่เขื่อนศรีนครินทร์  จังหวัดกาญจนบุรี


                *** ...   ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบนิเวศ / พันธุ์ไม้ / ภูมิปัญญาของชาวลับแล และประวัติศาสตร์ ...  ***




                                  

 
                                               
                               อนุสาวรีย์เล่าประวัติเมืองลับแล  ดินแดนที่ไม่กล่าวคำโกหก  / น้ำตกแม่พลู
                         
                                     
 
                                               ศึกษาต้นลองกอง - ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล

 
                                   ข้าวแคบ...อาหารพื้นเมือง / ข้าวแคบห่อหมี่  ปรุงรสตามสมัยนิยม



อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก..ยอดขุนพลผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวทีและความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ (ศึกษาที่นี่)  


***...
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  เข้าร่วมเป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2538  ดำเนินการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง....ได้รับเกียรติบัตรขั้น  เกียรติบัตรแห่งความมุ่งมั่น  อนุรักษ์สรรพสิ่ง สรรพชีวิต ด้วยจิตสำนึกของครูและเยาวชน   ....เนื่องจากเว้นระยะการรับการประเมินในขั้นสูงขึ้น... ***

 

                 
                                          *** ... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ...***

หมายเลขบันทึก: 499449เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท