มุกดา
นางสาว มุกดา มุก ฉัตรมณีรุ่งเจริญ

การเรียนการสอนแบบบูรณาการ


รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ความเป็นมาของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของการศึกษาแต่ละระดับ  การจัดการศึกษาได้มุ่งเน้นการพัฒนาตัวผู้เรียนมีความสมดุลโดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นการฝึกทักษะการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งหมายถึงการหลอมรวมทุกสิ่งทุกอย่างดังกล่าวเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตของผู้เรียน

การเรียนการสอนแบบบูรณาการ  เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด  และประสบการณ์  ความสามารถ  และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน  ทำให้ได้รับความรู้  ความเข้าใจลักษณะองค์รวม

รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ   มี  4  รูปแบบ

1.  การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก  (Infusion  Instruction)  การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น ๆ  เข้าไปในการสอนของตน  เป็นการวางแผนการสอนและสอนโดยครูเพียงคนเดียว

2.  การสอนบูรณาการแบบขนาน  (Parallel  Instruction)  การสอนตามรูปแบบนี้  ครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอนแต่ต้องวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินในร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้นๆ

3.  การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary  Instruction)  การสอนตามรูปแบบนี้คล้าย ๆ  กับการสอนบูรณาการแบบขนาน กล่าวคือครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  มุ่งสอนหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนเป็นส่วนใหญ่  แต่มีการมอบหมายงาน  หรือโครงการ ร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน

4.  การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ  (Transdisciplinary  Instrction) การสอนตามรูปแบบนี้ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ  จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  ร่วมกันวางแผน  ปรึกษาหารือ  และกำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

การเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นการสอนแบบกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งทางด้านสติปัญญา(Cognitive) ทักษะ (Skill) และจิตใจ (Affective) สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

หมายเลขบันทึก: 499261เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท