ความหมายของแผนธุรกิจ


ความหมายของแผนธุรกิจ
บทความนี้ได้มาจาก tuxmba.com เห็นว่ามีประโยชน์ก็เลยอยากนำมาแบ่งปันครับ

ความหมายของแผนธุรกิจ    แผนธุรกิจจะเป็นเหมือนแผนที่หรือเข็มทิศให้ผู้ประกอบการรู้ทิศทางที่กำลังจะไป และรู้ด้วยว่าควรจะไปด้วยวิธีการอย่างใด ใช้เวลาเท่าใด ในแผนธุรกิจนั้นจะต้อง แสดงถึงแนวคิดและรายละเอียดของโครงการธุรกิจที่เรากำลังจะทำ ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงินและการจัดการ เป็นต้น ควรมีการกำหนดระยะเวลา ของแผนธุรกิจด้วย เช่น ในช่วง 1 ปี, 3-5 ปี ข้างหน้า ธุรกิจจะเติบโตไปอย่างไร

              ผู้ที่จัดทำแผนธุรกิจ มักจะเป็นเจ้าของ กิจการเองหรือกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของกิจการ ซึ่งจะรู้ความต้องการเป้าหมาย และรายละเอียดของธุรกิจที่จะจัดทำมากกว่าคนอื่น แต่ก็อาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยจัดทำก็ได้ ในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่ค่อยชำนาญนัก ในการจัดทำเอกสาร ซึ่งก็อาจใช้วิธีถ่ายทอดลักษณะ โครงการให้ ผู้เชี่ยวชาญได้รับทราบก็ได้ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่การจัดทำแผนธุรกิจไม่ได้ถูกจัด ทำเพื่อเจ้าของกิจการ เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่อาจจะต้องจัดทำให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นด้วย ซึ่งมีข้อสังเกตุ ว่าเจ้าของกิจการที่จัดทำแผนธุรกิจมักมองโลกในแง่ดีเป็นส่วนใหญ่และกล้าเสี่ยง คือมักจะ มองว่าโครงการมีความเป็นไปได้สูง ลงทุนแล้วจะคุ้มค่าแต่สำหรับ ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนเป้าหมายที่จะชวนเข้ามาร่วมธุรกิจ มักจะมองความเป็นไปได้ของ โครงการแบบ ระมัดระวัง ดังนั้นข้อแนะนำสำหรับผู้จัดทำแผนธุรกิจคือ การจัดทำแผนธุรกิจควรพยายามมองโลกในแง่ของความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อจะทำให้การพิจารณาความ เป็นไปได้ของโครงการผ่านการยอมรับของทุก ฝ่ายสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ แผนธุรกิจอาจใช้เป็น ต้นร่างในการใช้เป็นเอกสาร สำหรับขออนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงิน หรือการระดมเงินทุนจากการ ขายหุ้นให้แก่ประชาชน (Initial Public Offering) ที่เรียกว่าเป็นเพียงต้นร่างก็ เพราะแผนธุรกิจมักจะมีแผนและขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ในรายละเอียด ซึ่งบางอย่างไม่จำเป็นต้องนำมาเสนอบุคคลภายนอก หรืออาจสรุปแต่สาระสำคัญ มาก็ได้ ดังนั้นโดยทั่วไปในทางปฏิบัติบางกิจการเมื่อมีความประสงค์จะ ระดมเงินทุนจากภายนอก เจ้าของกิจการมักจะให้ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) เข้ามาศึกษาแผนธุรกิจ ในกรณีจะขอเงินกู้ที่ปรึกษาทางการ เงินจะยกร่าง เอกสารที่เรียกว่า บันทึกเสนอขอเงินกู้ (Information Memorandum) ส่วนในกรณีระดมทุนจากการออกขายหุ้นสามัญ ที่ปรึกษาทางการ เงินก็จะยกร่างเอกสารที่เรียก ว่า หนังสือชี้ชวน (Prospectus) ซึ่งรายละเอียดก็คล้ายกับ แผนธุรกิจนั่นเอง แต่จะดึงข้อมูลในส่วนที่สำคัญและจำเป็นที่ สถาบันการเงิน หรือนักลงทุนให้ความสนใจ

อ้างอิงจาก http://www.tuxmba.com/entrepreneur-club/26-business-plan?start=2
หมายเลขบันทึก: 499202เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท