ประวัติศาสตร์ด้านกีฏวิทยาทางการแพทย์


กีฏวิทยาการแพทย์...สาขาที่ศึกษาสัตว์ขาข้อ และแมลงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

 กีวิางย์ 


วัตถุประสงค์

            เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา อาการ แนวทางการรักษาและการป้องกันของโรคทีเกิดจากแมลงโดยศึกษาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน


                        

 

            กีฏวิทยา (Entomology) หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยเรื่องราวของแมลง(Insects) แมลงเป็นสัตว์หลายเซลล์ (Metazoa) ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertibrate) จัดอยู่ใน Phylum Arthropoda สัตว์ที่อยู่ใน Phylum นี้จะเรียกรวมๆกันว่า Arthropods (สัตว์ขาข้อ) ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้นอกจากแมลงแล้วยังมีปู กุ้ง ตะขาบ กิ้งกือ เห็บ ไร แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล เป็นต้น

            สัตว์ขาข้อบางชนิดมีประโยชน์ต่อคน เช่น ปู กุ้ง แมงดาทะเล และแมลงบางชนิดใช้เป็นอาหาร สัตว์ขาข้อบางชนิด เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ผีเสื้อ ช่วยผสมเกสรดอกไม้ แต่บางชนิดให้โทษแก่คน เช่น มีพิษทำให้เกิดโรคและเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คนหรือสัตว์ ตลอดจนทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร วิชาที่ว่าด้วยเรื่องราวของแมลงที่เป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คน ทำให้เกิดโรคในคนและมีพิษต่อคนเรียกว่า " กีฏวิทยาทางการแพทย์ " 

 

 

โรคที่มีแมลงเป็นพาหะนั้นมีมากมาย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างโรคที่สำคัญๆ 4 โรค ดังต่อไปนี้

 

1. โรคมาลาเรีย

ยุงก้นปล่องพาหะของโรคมาลาเรีย

สาเหตุ

มาลาเรียมียุงก้นปล่อง (Anopheles spp.)เป็นพาหะ เกิดจากเชื้อปรสิต สกุล Plasmodium 4 ชนิด ได้แก่

1. Plasmodium falciparum เป็นชนิดร้ายแรงที่สุด    2. Plasmodium vivax

3. Plasmodium malariae                                   4. Plasmodium ovale

อาการ

    หลังจากได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการนำคล้ายกับเป็น หวัด คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารได้ ลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า ไข้จับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง และตามด้วยเหงื่อออก

    อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ

1. ระยะสั่น  (ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดง)    2. ระยะร้อน     3. ระยะเหงื่อออก 

การรักษา

    มาลาเรียเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ยารักษามาลาเรียชนิดแรกทำจากเปลือกของต้นซิงโคนา และเรียกชื่อว่า ควินิน ตัวยายับยั้งการแบ่งตัวของปรสิต ส่วนยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาที่มีใช้อยู่มีดังนี้คือ  1. Chloroquine  2. Mefloquine  3. Doxycyclin  4.Proguanil

การป้องกัน

    เมื่อจะต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดของมาลาเรีย ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังนี้

    1. การนอนในมุ้ง

    2. การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด 

    3. การใช้ยาทากันยุงกัด (Mosquito repellent) ยาทากันยุง หรือยาทาไล่ยุง 

    4. การใช้ยาจุดกันยุง (Mosquito coils and sticks)

    5. การใช้ตาข่ายกันยุงกัด หรือ การใช้มุ้งลวด 

 

2. โรคไข้รากสาดใหญ่

  

ไรอ่อนพาหะของโรคไข้รากสาดใหญ่ 

สาเหตุ

    เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ชื่อ O. tsutsugamushi โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะ ซึ่งอาศัยอยู่ในหนู ติดต่อทางบาดแผลที่ถูกตัวอ่อนของตัวไรกัด เมื่อผู้ที่ถูกกัด ขยี้ตัวไรอ่อน เชื้อโรคที่อยู่ในตัวไรจะแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลหรือรอยถลอก โดยทั่วไป มีระยะฟักตัว 10-12 วัน แต่อาจแตกต่างกันได้ตั้งแต่ 6 – 21 วัน

อาการ

    หลังถูกไรอ่อนกัด 10-12 วัน จะมีอาการปวดศีรษะที่ขมับและหน้าผาก มีไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น ลักษณะไข้สูงตลอดเวลา (ไข้อาจเป็นอยู่นาน 2-3 สัปดาห์) หน้าแดง ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีปวดน่อง ต่อมน้ำเหลืองโตและเจ็บโดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้แผลรอยกัด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตับโต ม้ามโต บริเวณที่ถูกกัดจะเจ็บ และมีแผลบุ๋มสีดำ รูปร่างกลมออกรี ขอบนูนเรียบ ลักษณะคล้ายแผลรอยไหม้จากบุหรี่จี้ (Eschar) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 ซม. ซึ่งพบอยู่นานประมาณ 6-18 วัน อาจตรวจพบได้ตั้งแต่ 5 วันก่อนมีไข้ บางรายอาจไม่พบก็ได้ รอบ ๆ แผลจะมีอาการบวมแดง แต่ไม่เจ็บ มักจะพบที่รักแร้ ขาหนีบและรอบ ๆ เอว ร่วมกับพบผื่นแดงตามลำตัวและแขนขา มักไม่คัน โดยพบได้ประมาณวันที่ 3-8 หลังจากมีไข้ และผื่นจะคงอยู่ประมาณ 4-5 วันก่อนจะจางลงไป ผู้ที่ได้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้นก็ได้ ประมาณวันที่ 5-7 หลังมีไข้จะมีผื่นสีแดงคล้ำขึ้นที่ลำตัวก่อน แล้วกระจายไปแขนขา ผื่นจะมีอยู่ 3-4 วันก็หายไป

การรักษา

    การให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อ O. tsutsugamushi เป็นวิธีเดียวที่ช่วยลดอาการของโรค ลดอัตราการเจ็บป่วย อัตราตาย และการแพร่กระจายของโรคในผู้ป่วย

ป้องกัน

    1. หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสแหล่งที่อยู่อาศัยของไรอ่อน เช่น กองฟางในท้องนา ป่า ไร่สวน
    2. ใช้ยาทากันแมลงกัดเมื่อจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
    3. แต่งกายให้รัดกุม เช่น โดยเอาขากางเกงใส่เข้าไปในรองเท้าและใส่เสื้อในกางเกง ใส่รองเท้าบู๊ท ส่วนที่อยู่นอกร่มผ้าให้ทายากันแมลงกัด
    4. หลังจากออกจากพื้นที่เสี่ยงให้เปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำชำระร่างกายทันที
    5. หลังจากออกจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการไข้ภายใน 2 อาทิตย์ ให้พบ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ทันที

 

3. โรคไข้สมองอักเสบ

 

ยุง Culex tritaeniorhynchus พาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ 

สาเหตุ     

    เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ 

อาการ

    ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง

การรักษา

    ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน

    1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
    2. ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
    3. ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV

 

4. โรคเท้าช้าง

ยุงลายเสือพาหะของโรคเท้าช้าง 

สาเหตุ

    โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา 

อาการของโรค

อาการของโรคแบ่งได้เป็น อาการเฉียบพลัน อาการโรคเรื้อรัง และไม่มีอาการ

    1.อาการเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีไข้ เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง (lymphangitis และ lymphadenitis) โดยมากตรวจพบเชื้อในท่อน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะต่างๆที่สำคัญได้แก่ บริเวณขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อนำเชื้ออสุจิ(spermatic cord) ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันจะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ

    2.อาการโรคเรื้อรัง มักจะมีอาการบวมโดยเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ตำแหน่งที่เชื้อพยาธิตัวแก่ชอบอาศัยคือบริเวณอัณฑะ ทำให้เกิดถุงน้ำในท่อนำเชื้ออสุจิ และหากเป็นมากจะเกิดอาการบวมของอัณฑะผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำดูแข็งเหมือนยาง ส่วนมากเกิด hydrocoele และ elephantiasis  

    พบว่าร้อยละ 95 จะเป็นที่ขากับอวัยวะเพศ บริเวณที่พบน้อยรองลงไป ได้แก่ที่แขนและเต้านม 

    3.ไม่มีอาการ กลุ่มที่ไม่มีอาการจะแบ่งออกเป็น 2 พวกได้แก่ 1. ตรวจพบพยาธิในกระแสเลือดแต่ไม่มีอาการ พวกนี้มักจะมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน 2. ไม่พบตัวพยาธิแต่ตรวจพบ Circulating filarial antigen (CFA)ในเลือด เมื่อให้ยารักษาระดับ Circulating filarial antigen (CFA) จะลดลง

การรักษา

    การรักษามุ่งเน้นที่การป้องกันมิให้เชื้อติดต่อไปสู่บุคคลอื่นโดยการรับยาเพื่อลดปริมาณเชื้อพยาธิให้น้อย จนไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่น การใช้ยารักษาอาจจะใช้ยาชนิดเดียวหรืออาจจะใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันก็ได้เท่าที่มีรายงานการใช้ยารักษามีดังนี้ให้ยาปีละครั้งโดยอาจจะให้ยา 1 หรือสองชนิด ivermectin(150-200 mg/kg PO as single dose; may repeat q2-3mo) ,diethylcarbamazine(DEC) and albendazole ให้ยา DEC (6 mg/kg per day) 

    การดูแลส่วนที่บวม ล้างส่วนที่บวมด้วยน้ำและสบู่วันละ2 ครั้งยกอวัยวะส่วนนั้นในเวลานอน

    ให้ออกกำลังส่วนที่บวมเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตัดเล็บให้สั้น สวมรองเท้า หากมีแผลเล็กน้อยให้ทาด้วยยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ที่มีนำเหลืองไหลก็ให้รับประทานอาหารที่มีน้ำมากและมีสารอาหารสูง

การป้องกัน

    1. การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น มุ้ง ยาทากันยุง และยังมีการศึกษาว่าหากใช้ยา DEC (6 mg/kg per day x 2 days each month)สามารถป้องกันการติดเชื้อ

     2. ทำลายยุงและแหล่งลูกน้ำป้องกันไม่ให้ยุงกัน มุ้ง ยาทากันยุง ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคนี้

 

 

 

 เอกสารอ้างอิง

1. http://dpc9.ddc.moph.go.th/group/insec92/vbdc92/malaria.htm

2. http://healthy.in.th/disease/scrub%20typhus/

3. http://www.ayo.moph.go.th/disease_ctr/file_upload/subblocks/โรคไข้สมองอักเสบ%20เจอี%20(Japanese%20encephalitis).htm

4. http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/elephantiasis/elephantiasis.htm

5. http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/elephantiasis/elephantiasis.htm


 


  สมาชิกในกลุ่ม 

 

553070021-1       นายเชาวน์ดิชพงศ์  พงศ์นฤชิต

553070050-4       นายปิยวัฒน์   เอียวสวัสดิ์

553070084-7       นางสาวคมปรียา   อุปลานนท์

553070024-5       นายณัฐดนัย      เกตุดาว

553070053-8       นายพงษ์เพชร  สำราญทรัพย์สิน

553070078-2       นางสาวสุชาดา  ดาวสุริยการ

553070173-8       นายพิจักษณ์   สิริรัตนากุล

553070183-5       นายฟ้าประทาน  พงษ์พาณิชย์

553070175-4       นางสาวพิชญ์สุมาลย์  สดมพฤกษ์

553070187-7       นางสาวมะลิวัลย์   สุระเสน

553070096-0       นางสาวกฤตติกา  อำนวยเงินตรา

553070158-4       นางสาวประภารัตน์  น้อยสุวรรณา

553070165-7       นายพงศธร   มีถาวรกุล

553070152-6       นายธีระวัฒน์   บุญทศ

553070207-7       นางสาวสิรินาถ  สุริยฉาย

553070146-1       นายธัญนริศ   คำมีรัตน์

553070167-3       นางสาวพชรพร   มงคลแสงสุรีย์

553070258-0       นางสาวพีรยา    บุญยะลีพรรณ

553070232-8       นางสาววีรยาภรณ์  ไตรรัตนาภิกุล

553070245-9       นางสาวสิริวิภา   ศรีรับขวา

หมายเลขบันทึก: 499024เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่เราสังเกตได้ค่อนข้างยาก ถึงตาจะมองเห็นแต่ก็กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมได้ดี ต้องคอยเฝ้าระวังไว้ เพราะดูแล้วโรคที่แมลงเป็นพาหะให้ก็แรงไม่ใช่น้อย =_=;;

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก ดีมากเลย

โอ good ๆ ดีมากๆเลยนะเนี่ยยยยย สุดยอดดดดด

โวววว ได้ความรู้เยอะขึ้นมากเลยน่ะเนี่ยย ขอบคุณที่มากแบ่งปันกันน่ก๊าบบบ

เป็นข้อมูลที่ดีมากๆเลย ได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย...ขอบคุณมาก

แมลงเป็นสัตว์ตัวเล็กๆแต่ร้ายกาจสุดๆ T T

เป็นความรู้ที่แปลกดีนะครับ แล้วก็ค่อนข้างหาอ่านยาก

สิ่งเล็กๆ แต่เป็นสาเหตุสำคัญในหลายๆโรคเลยนะเนี่ย

ไม่น่าเชื่อเลยนะเนี่ย เป็นความรู้ที่ดีมาก ๆ เลย

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท