การวิจัย Penicilin ที่ Oxford (1939)


             ในปี ค.ศ. 1939 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย Howard Floreyและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Ernst B. Chain และเพื่อนร่วมงานของพวกเขาที่ Sir William Dunn School of Pathology ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้เปลี่ยนเพนนิซิลลินจากเพียงแค่สิ่งแปลกประหลาด ไปเป็นยาที่สามารถรักษาโรคได้ การศึกษาของพวกเขาเกี่ยวกับการสกัดเพนนิซิลลินให้บริสุทธิ์ได้เริ่มอย่างจริงจังเมื่อปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สงครามกำลังเริ่มต้น ส่งผลให้การวิจัยดำเนินไปอยากยากลำบาก การดำเนินงานโครงการทดลองในสัตว์และการทดลองทางคลินิก พวกเขาต้องทำกระบวนการกรองเชื้อถึง 500 ลิตรต่อสัปดาห์ พวกเขาเริ่มเพาะเชื้อในสิ่งของต่างๆ เช่น อ่างอาบน้ำ หม้ออุจจาระ น้ำนมปั่น และกระป๋องอาหาร ต่อมาพวกเขาออกแบบและปรับเปลี่ยนการหมักเชื้อให้ง่ายต่อการย้าย และประหยัดพื้นที่ และยังเปลี่ยนน้ำซุปที่อยู่ใต้ผิวหน้าของเชื้ออีกด้วย ทีมของ "สาวเพนนิซิลลิน" ได้ถูกว่าจ้างในอัตรา 2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ เพื่อฉีดเชื้อและติดตามผลการหมักอย่างสม่ำเสมอ การทดลองดังกล่าวทำให้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกลายเป็นโรงงานผลิตเพนนิซิลลินเลยทีเดียว

ในขณะเดียวกัน นักชีวเคมี Norman Heatley ได้สกัดเพนนิซิลลินจากสารกรองปริมาณมากจากสายการผลิต โดยการสกัดให้อยู่ในรูปamyl acitate และเปลี่ยนกลับไปเป็นน้ำโดยใช้ countercurrent system

Edward Abraham นักชีวเคมีอีกคน ถูกว่าจ้างเพื่อดำเนินการผลิต จากนั้นจึงใช้เทคนิคที่คนพบใหม่ คืออะลูมินา คอลัมน์ โครมาโทกราฟี เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเพนนิซิลลินก่อนที่จะนำไปทดลองทางคลินิกต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #Penicillin research at Oxford
หมายเลขบันทึก: 498970เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท