ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว


"การแพทย์ชนบท" จะมีขึ้นมาทำไม?? บันทึกนี้สามารถไขข้อข้องใจนั้นได้!!

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว


  

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นนายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ  



ประวัติ

เกิด ::  31 พฤษภาคม 2454
ถึงแก่อสัญกรรม ::  8 กรกฎาคม 2554 สิริอายุ 100 ปี

               เกิดที่อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดบรมนิวาส เรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 และได้เข้ารับการศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) และได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมัน

                ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขในปี 2523 และปี 2524

                สมรสกับ แฉล้ม พริ้งพวงแก้ว ที่เป็นนางพยาบาลที่อยู่ด้วยกันมานาน มีบุตรชาย 3 คน และบุตรหญิง 2 คน

                ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มีภาวะช็อก และ ไตวาย

 

 

การทำงาน

          1.ช่วงหลังจบการศึกษา

                    - ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

                    -ในปี 2478 ได้จัดตั้งโรงพยาบาลเอกเทศขึ้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อรับมือกับการระบาดของอหิวาตกโรค

                    - เริ่มงานศัลยกรรมและงานทันตกรรมที่โรงพยาบาลเทศบาลนครสวรรค์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีงานนี้ในชนบท

           2.ช่วงการทำงานที่จังหวัดเชียงราย

                    - ปี 2480 ย้ายมาประจำที่จังหวัดเชียงราย

                    - สร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงรายขึ้น ชื่อว่า “โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์”                  

                    - ร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สร้างนิคมโรคเรื้อนแม่ลาว ณ ตำบลธารทอง อำเภอพาน

                    - เริ่มการรักษาโรคทางศัลยกรรมชนบทกับโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคคอพอกในประชาชน

                    - เริ่มการป้องกันโรคคอพอก โดยการให้ไอโอดีนในหญิงที่ตั้งครรภ์และในเด็ก สร้างอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน

                    - ให้เจ้าหน้าที่เสนารักษษ์จากทางกองทัพมาเป็นผู้ช่วยในการผสมยา ช่วยในงานผ่าตัด และ การให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการดมทางจมูก

                    - สร้างตึกสูติกรรม นรีเวชกรรม ให้แม่มาคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย

                    - สร้างตึก พนม นครานุรักษ์ ใช้สำหรับเป็นอาคารสงฆ์อาพาธ

                    - ให้บริการทางทันตกรรมกับนักเรียนและประชาชนในชนบท

                    - สร้างอาคารสำหรับรังสีวิทยาขึ้นในโรงพยาบาล และสร้างโรงครัว โรงซักฟอก และ โรงเก็บศพ

                    - จัดตั้งธนาคารเลือดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย

                    - ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน จัดทำสถานีอนามัย และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลออกเยี่ยมประชาชน

           3.ช่วงระหว่างสงคราม

                    - ได้ทดลองใช้น้ำมะพร้างอ่อนช่วยชีวิตผู้ขาดน้ำในป่าลึก

                    - ศึกษาการใช้ต้นกาสามปีกในการรักษาโรคไข้จับสั่น

                    - ศึกษาการใช้ต้นโมกหลวงเพื่อรักษาโรค Amaebic Dysentery (โรคบิดมีตัว)

                    - ใช้ Morphine ในการรักษาพยาบาล

           4.ช่วงที่ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร

                    - ในปี 2494 เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิงหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ในปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลราชวิถี) และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผดุงครรภ์

                    - เป็นผู้แทนของไทยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือทางด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขทั่วประเทศ

                    - ได้ขอผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยาจากสหรัฐอเมริกาเพื่อมาศึกษาโรค Thalassemia

                    - จัดตั้งธนาคารเลือดในพระนคร ทำให้ประเทศไทยมีเลือดให้ผู้ป่วยทั้งชนิดเลือดสดและน้ำเหลืองแห้ง ส่งให้ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด และ เปิดอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายเลือด

                    - จัดตั้งโรงพยาบาลวิสัญญีทางการให้ยาระงับความรู้สึก สร้างตำราวิสัญญีพยาบาล

                    - จัดตั้งโรงพยาบาลผดุงครรภ์

                    - สร้างโรคพยาบาลสำหรับสตรีและเด็ก และ สร้างสถานนุเคราะห์เด็กที่บ้านราชวิถี

                    - สร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด

                    - จัดตั้งสมาคมศัลยกรรมแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย

                    - ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดโครงสร้างในกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ต่อมาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

 

ผลงานที่เน้นๆของ ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว นั้น จะเกี่ยวข้องกับด้าน…

                - การกระจายการแพทย์ออกไปสู่ต่างจังหวัดและชนบท (จัดตั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัด)

                - ศัลยกรรม (การใช้ยาระงับความเจ็บปวด , การใช้ morphine)

                - สูติกรรม และ นรีเวชกรรม (จัดตั้งโรงพยาบาลเกี่ยวกับสตรีและเด็ก , โรงพยาบาลผดุงครรภ์)

                - โลหิตวิทยา (จัดตั้งธนาคารเลือด , ศึกษาเรื่องโรค Thalassemia)

 

 

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

          ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่

                    - แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                    - แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                    - สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                    - แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                    - สังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

          - มหาวชิรมงกุฎ

          - ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

          - เหรียญชัยสมรภูมิ

          - เหรียญอาษากาชาดชั้น 1

          - เหรียญราชวัลลภ

 


งานด้านสาธารณะประโยชน์อื่นๆ

          - มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร

          - มูลนิธิหมอชาวบ้าน

          - มูลนิธิเด็ก

          - มูลนิธิแพทย์ชนบท

          - มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

          - สหทัยมูลนิธิ

          - ศูนย์รวมน้ำใจ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535

          - มูลนิธิสุขภาพไทย

  

 

ข้อคิดที่ได้จากการศึกษา

 “ความจำเป็นคือบ่อเกิดแห่งความคิดสร้างสรรค์ 

          การเป็นหมอที่ดี ไม่ควรเอาแต่ศึกษาความรู้ในตำราเท่านั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ ความคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยวิชาความรู้ และการสังเกต

 “ไม่ควรยึดเอาวิชาความรู้เป็นใหญ่ ให้ยึดเอาสังคมเป็นใหญ่ 

          ให้คิดอยู่เสมอว่าความรู้หรือการศึกษาที่เรามีนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดโอ้ แต่มีไว้เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า 

“มองการทำงานในแง่กว้าง

          หลักสำคัญในการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนนั้น คือ การมองในแง่กว้าง เพื่อที่จะแก้ปัญหานั้นๆได้ดีและเกิดประสิทธิภาพต่อส่วนรวมมากขึ้น

 “หากเราตั้งใจทำสิ่งดีๆด้วยความบริสุทธิ์ใจ สุจริตและยุติธรรม ย่อมทำให้สังคมได้รับประโยชน์ และทำให้สังคมมีความสุข 

 “การออกไปทำงานบ้านนอกคือการเรียนภาคปฏิบัติที่สำคัญ และเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ได้สร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น 

          การทำงานไม่ว่าจะทำที่ใดไม่สำคัญ ยิ่งเราบุกบั่นฝ่าฟันมากเท่าไหร่ สิ่งตอบแทนที่ได้กลับมายิ่งมีคุณค่ามากเท่านั้น ดังนั้นการทำงานในชนบทก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างหนึ่งที่ได้ช่วยสร้างความสุขให้กับบุคคลที่ยากไร้ 

“การเอาใจใส่ดูแลประชาชนโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ

          ไม่เกี่ยงว่าคนไข้จะเป็นใคร มาจากไหน หรือว่ามีฐานะเพียงใด แค่เราทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดก็พอ

 “มีความมุ่งมั่น อดทน และหมั่นศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา

           เพราะกาลเวลายังคงเดินต่อไป สิ่งต่างๆก็ล้วนแต่มีเกิดและดับตามกาลเวลา ก็ไม่ต่างอะไรกับความรู้ที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเป็นหมอที่ดีคือการที่ตามความรู้ให้ทันกับเวลาที่ไม่มีวันหยุดเดิน

 

 

>> เรื่องน่ารู้เพิ่มเติม <<

การเปลี่ยนชื่อจากคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเป็นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

          ในสมัยรัชกาลของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดตั้งโรงพยาบาล
          ในปี 2429 จึงได้จัดตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ด้านใต้ของพระราชวังสถานพิมุข โดยตั้งชื่อว่า “โรงพยาบาลวังหลัง”                
          ในปี 2431 พระองค์ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาล และได้พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงศิริราชพยาบาล” ต่อมา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เห็นว่า การจัดหาแพทย์นั้นมีความยากลำบาก จึงกราบทูลให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ขึ้น ในปี 2436 ก็ได้เปิด “โรงเรียนแพทยากร” ขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีการพัฒนาจนได้รับพระราชทานนามขึ้นใหม่ว่า “โรงเรียนแพทยาลัย” ในปี 2443
          ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ได้สถาปนา “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” ขึ้นในปี  2459 จึงได้จัดโรงเรียนแพทยาลัยเข้าเป็นคณะในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยด้วย และพระราชทานนามว่า “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”  ต่อมาในปี 2461 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
          ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดระเบียบบริหารราชการใหม่และได้ก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ขึ้นในปี 2486 ได้โอนคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลเข้ามาเป็นคณะในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงถึงปี 2512 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้พระราชทานนามใหม่ให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” จึงได้เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็น “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” มหาวิทยาลัยมหิดล
          ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นั้นได้เข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์โดยที่สมัยนั้นยังคงเรียกว่า “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในสังกัดของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หลังจากที่ท่านจบแล้วจึงได้ย้ายสังกัดมาเป็นของมหาวิทยาลัยมหิดล ก็คือ “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล” ในปัจจุบัน

 

 

>> อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ <<

1.ศ.นพ.เสม :: วิกิพีเดีย

http://th.wikipedia.org/wiki/เสม_พริ้งพวงแก้ว

2.ศ.นพ. เสม :: มูลนิธิเด็ก

http://www.ffc.or.th/ffc_scoop/2554/scoop_2554_07_08.php

3.ศิริราชพยาบาล :: วิกิพีเดีย

http://th.wikipedia.org/wiki/คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 498805เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท