การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ของประเทศพัฒนาแล้ว


ระบบประเมินคุณภาพงานวิจัยของ UK และ France

Research Excellence Framework (REF) เป็นระบบประเมินคุณภาพผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศอังกฤษ กำกับดูแลโดย Higher Education Funding Council for England (HEFCE) แต่ก่อนมีชื่อเรียกว่า Research Assessment Exercise (RAE) และเน้นแต่การใช้ bibliometrics หรือดัชนีชี้วัดโดยอาศัยจำนวนอ้างอิงผลงานวิจัยเป็นหลัก แต่ตอนนี้กลับมาให้ความสำคัญต่อระบบ peer review มากขึ้น แถมยังเพิ่มการประเมิน research impact คือประโยชน์ของผลงานวิจัยที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น ทั้งความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และการทำประโยชน์ต่อสังคมชุมชน

ส่วนประเทศฝรั่งเศส French Academy of Sciences, Institut de France หรือสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตสถานของเขา ได้ทำรายงานเสนอต่อกระทรวง Higher Education and Research เมื่อเดือนมกราคม 2554 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในการประเมินคุณภาพนักวิจัยแต่ละราย (http://www.academie-sciences.fr/activite/rapport/avis170111gb.pdf)สรุปได้ใจความว่า ประเทศฝรั่งเศสยังคงเชื่อมั่นในการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ peer evaluation ดูประวัติผลงาน รางวัลที่ได้รับ การได้รับเชิญไปบรรยายในที่ประชุมวิชาการ การได้รับเชิญเป็น reviewer วารสาร และถ้าเป็นนักวิจัยรุ่นเยาว์จะขอดูจดหมายรับรองด้วย แต่ถ้านักวิจัยที่ทำงานมานานกว่า 10 ปี หรือการพิจารณานักวิจัยจำนวนมากๆ จึงจะใช้ bibliometrics ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณเข้ามาช่วย เช่น total citations, 5,10,20 most-cited articles, 5,10,20 best publications, impact factor ของวารสารที่ตีพิมพ์, ค่า h index, g index แต่เขาค่อนข้างระวังเรื่องการให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับชื่อผู้แต่งในบทความ เช่น first author, last author, corresponding author และพฤติกรรมการตีพิมพ์ที่ไม่เหมือนกันในแต่ละสาขาวิชา

แถวยุโรปและอเมริกาไม่ค่อยใช้ bibliometrics ในการตัดสินนักวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการให้รางวัลหรือรับเข้าทำงาน แต่มหาวิทยาลัยในประเทศจีนและเอเซียกลับนิยมใช้กันมากกว่า วารสาร Nature ปี 2010 เคยลงบทความวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้ science metrics เอาไว้ค่อนข้างเยอะ สัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้รู้ระดับโลกหลายคน เช่น Tibor Braun ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการวารสาร Scientometrics / Carl T. Bergstrom แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้คิดค้นดัชนี Eigenfactor / David Pendlebury นักวิเคราะห์ดัชนีการอ้างอิงจากบริษัท Thomson Reuters ..เรื่องแบบนี้ ทะเลาะกันให้ตายก็ไม่มีวันจบ ว่าประเมินแบบใดจึงจะดี ตราบใดที่นักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ ยังคงใช้วิธีการสื่อสารด้วยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านวารสารวิชาการ และเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #Research Performance
หมายเลขบันทึก: 498459เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท