หลักสูตรเปรียบได้กับแผนที่


หลักสูตรเปรียบเหมือนอะไร?

                             หลักสูตรเปรียบได้กับอะไร

        “หลักสูตรเปรียบได้ดังแผนที่ ช่วยแนะแนวปรับชี้จุดหมาย

สร้างถูกช่วยนำทางให้รอดตาย          จักกลับร้ายหากสร้างผิดคิดใคร่ครวญ”

 ความหมาย[1]

แผนที่ น. แบบที่เขียนย่อจากพื้นดิน บอกแม่น้ำฝั่งทะเล และอื่นๆ

หลักสูตร น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่างๆที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

วิเคราะห์ความ

                เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์(Saylor and Alexander 1981:5) กล่าวว่าหลักสูตรเปรียบเสมือนแผนการเดินทางและตารางที่ยืดหยุ่นได้ในการดำเนินการศึกษา หลักสูตรจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา และวิชาการทางด้านการศึกษาระดับชั้นต่างๆรวมอยู่ด้วย  ดังคำกล่าวที่ปรากฏจะเห็นได้ว่า หลักสูตรคือสิ่งชี้นำทางการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนมีเป้าหมายและทิศทางที่ถูกต้องในการศึกษาเล่าเรียน ตามความคิดของข้าพเจ้าจึงเปรียบหลักสูตรเสมือนแผนที่ที่จะช่วยบอกทิศทางในการเดินทางให้ไปสู่จุดหมายได้โดยไม่หลงออกนอกพื้นที่ จัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้รู้และเข้าใจเส้นทางการเดินทางได้โดยเที่ยงตรง

                นับเนื่องตั้งแต่การเริ่มสร้างหลักสูตรนั้นคล้ายคลึงกันกับการสร้างแผนที่ นั่นคือ ต้องประกอบไปด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง และเชี่ยวชาญจากหลายฝ่าย(Team)มาช่วยกันพิจารณา(Curriculum Planning)สร้างหลักสูตรขึ้น ซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่าหลักสูตรที่ดีนั้นย่อมไม่สามารถสร้างขึ้นโดยลำพังได้จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เนื่องเพราะหลักสูตรนั้นต้องสร้างให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน ท้องถิ่น ความต้องการในขณะนั้น เช่นเดียวกันกับแผนที่ที่ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและใช้ผู้รู้จากหลายฝ่ายในการจัดทำขึ้น  การตั้งเป้าหมาย(Goal)ของหลักสูตรจึงเปรียบเสมือนกับการตั้งเป้าหมายใหญ่หรือสถานที่ที่จะไปในแผนที่ เนื้อหาที่ปรากฏในหลักสูตรก็เสมือนรายละเอียดของหลักสูตรที่ช่วยขยายความให้รายละเอียดที่ชัดเจนโดยอาจปรากฏขึ้นทั้งในรูปแบบของวัจนและอวัจนภาษา (Verbal and Non-Verbal Language)

                จากนั้นจึงเป็นขั้นของการนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation) ซึ่งเปรียบกับการใช้แผนที่ในการเสาะแสวงหา Goal ที่ได้ตั้งไว้ หากผู้ใช้สามารถไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้จริงตามเกณฑ์ที่กำหนดนั่นย่อมเป็นการรับประกันคุณภาพที่ปรากฏของแผนที่ หรือหากเกิดข้อผิดพลาดจะได้หาแนวทางแก้ไข พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม ซึ่งแนวคิกเหล่านี้เชื่อมโยงกับ ขั้นตอนในการประเมินผลหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้แก้ไข พัฒนาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยังประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างดีที่สุด

โดยขอสรุปแนวความคิดหลักสูตรเปรียบได้ดังแผนที่เป็นตารางดังนี้

 

ความเปรียบเหมือน

หลักสูตร

แผนที่

1.   คณะหรือองค์กรในการจัดทำ เช่น คณะผู้บริหาร นักวิชาการ ครูอาจารย์

1.   ฝ่ายผู้รับผิดชอบสร้างแผนที่ เช่น นักธรณีวิทยา   ผู้รับผิดชอบผังเมือง

2.   รูปแบบประเมินความต้องการ(Need Assessments)

2.   เครื่องหมายแสดงทิศ

3.   พันธกิจ เป้าหมาย วิสัยทัศน์

3.   สถานที่ หรือจุดหมายในการเดินทาง

4.   รายละเอียดหลักสูตร

4. รายละเอียดแผนภาพ

5.   คณาจารย์ นักเรียน ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้

5. ผู้ใช้แผนที่นำไปใช้

6.   สรุป และประเมินผล

6. การเดินทางสู่เป้าหมาย

                               

               

 


เอกสารอ้างอิง

ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2542.กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, 2542.

ภาพแผนที่.ม.ป.ป.(ภาพออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.google.co.th/imgres.

Saylor G.J.and Alexander,W.M. Planning Curriculum for School.3nd  ed.NewYork: Holt:Rinehart and

Winston, 1974.

 



[1] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 :744

หมายเลขบันทึก: 498236เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท