เคล็ดลับคุณกิจ : มองเห็นสิ่งผิดปกติว่าเป็น "สิ่งผิดปกติ"


รู้จักสังเกตเห็นความผิดปกติ เมื่อเห็นแล้วไม่นิ่งเฉยนำมาปรึกษาพี่ๆ

วันนี้เจอโจทย์ใหม่  (คนละอย่างกับโจทย์เก่าค่ะ)     คือว่าน้องลิ  (พนิดา)  ซึ่งเป็นน้องใหม่มาทำงานที่หน่วยภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 2 เดือนกว่า     นำผล (print out)   การตรวจ CD4, CD8  มาปรึกษา

บอกว่า   รายนี้รูปมันแปลกๆ นะ      เซลล์เกือบทั้งหมด    มันไปกองอยู่ที่ตำแหน่งของ lymphocyte       เอารูปมามองๆ ดูๆ แล้วก็บอกว่าไม่น่าจะใช่  lymphocyte นะ    หันไปดูผล CD3+ (T cell )   ได้ไม่ถึง 10 %   โอ...อย่างนี้ไม่ใช่แน่นอน    ถึงแม้ว่าคนไข้ในกลุ่มนี้บางรายอาจจะมีค่า CD3+  ค่อนข้างต่ำ    แต่ไม่เคยพบต่ำขนาดนี้มาก่อน     ประกอบกับผลจากการตรวจ CBC  ได้ค่า  lymphocyte = 25 %     แต่ผลที่ได้จากเครื่อง flow cytometer  ได้ค่า lymphocyte ประมาณ 80 %   แตกต่างกันขนาดนี้ไม่น่าจะถูกต้อง      

ตัดสินใจบอกให้น้องลิ  ย้อมเซลล์ใหม่      เพราะความผิดพลาดอาจเกิดจากขั้นตอนการย้อมก็ได้  (ย้อมเซลล์คือ   เติมน้ำยาซึ่งเป็น monoclonal antibody ซึ่ง tag ด้วยสารเรืองแสง)    

เมื่อนำเซลล์ที่ย้อมใหม่มา analyze ด้วยเครื่อง flow cytometer   ปรากฏว่าได้ผลเหมือนเดิม    ก็เลยต้องปรับค่าต่างๆ    ให้สามารถดึงเซลล์ (ใน monitor)   ให้แยกกลุ่มออกจากกันจนสามารถ   บอกได้ว่ากลุ่มไหนเป็นกลุ่มไหน   (ทำไปบ่นไปว่าทำไมหน้าตาของกลุ่มเซลล์ในจอภาพ  มันแปลกๆ   ถามน้องเค้าว่าเซลล์เก่าหรือเปล่า    น้องลิบอกว่าไม่ใช่   เป็นเลือดใหม่ๆ )   ผลแล็บคราวนี้ได้ค่า CD3+ (T cell )  = 69 %   แตกต่างจากเดิมมาก

พอมาถึงตอนจะออกผล     มากดคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย    กะว่าจะดูว่าคนไข้อยู่วอร์ดไหน   จะขอให้เจาะเลือดใหม่ดีกว่าเผื่อผลจะดูดีกว่านี้    พอมาเห็นผล CBC  ก็ถึงบางอ้อ   รายนี้มี blast  ถึง 60 %      ถึงว่าหน้าตามันแปลกๆ      เห็นอย่างนี้เราก็ไม่กล้าออกผล   เลยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอันดับหนึ่งคือคุณสมพร      คุณสมพรบอกว่าน่าจะออกผลได้เพราะที่ทำมานั้นแยกกลุ่มชัดเจนแล้ว        ส่วนเรื่องที่จะขอเจาะเลือดใหม่นั้นเลิกคิดได้เลยเพราะ    ผล CBC ครั้งล่าสุดของคนไข้    เหลือ WBC แค่ 600

เล่ามาตั้งยาวประเด็นคือว่า   น้องลิ   คนที่รับผิดชอบตรวจ CD4, CD8 คนนี้เป็นน้องใหม่เพิ่งได้รับการเทรนให้ทำแล็บนี้ได้ราวๆ 2 เดือน    สามารถทำแล็บนี้ได้ไม่มีปัญหา     โดยปกติเครื่อง flow cytometer จะถูกตั้งโปรแกรมไว้ว่า     จะใช้เกณฑ์นั้นๆ   เวลา analyze  แค่ปรับนิดๆ หน่อยๆ  ก็ได้แล้ว     แต่สำหรับรายที่เล่ามานี้ไม่ใช่ (ต้องปรับมากพอควร   พี่เก่าๆเลยต้องไปช่วย)      

ถึงแม้ว่าน้องเค้ายังไม่ชำนาญมากแต่ก็รู้จักสังเกตเห็นความผิดปกติ     เมื่อเห็นแล้วไม่นิ่งเฉยนำมาปรึกษาพี่ๆ    นี่ถ้าคิดเอาเองว่าสิ่งที่เห็นนั้น "ปกติ"   ไม่นำมาคุยกันล่ะก็......แย่เลย

เห็นแบบนี้แล้ว.....สมควรให้น้องลิ "ผ่านประเมิน"   อย่างไม่ลังเล  

(ขอเพิ่มเติมและขยายความตรงนี้เพิ่มนิดหนึ่งค่ะ     คำว่า "ผ่านประเมิน  ในที่นี้หมายถึง   ผ่านประเมินในสายตาของผู้ที่สอนงานให้โดยตรง    ส่วน "ผ่านประเมิน"  อย่างเป็นทางการนั้น    ต้องรอจากหัวหน้าหน่วยค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 49790เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ยินดีกับ ลิ ด้วยนะ ที่ผ่านประเมินแล้ว

จากที่กะปุ๋มไม่เข้าใจ Lab เท่าไรอาจเพราะไม่ค่อยได้สนใจเท่าที่ควรสมัยเรียนพยาบาลตอน ป.ตรี...แต่พอมาอ่านบันทึกนี้...ทำให้กะปุ๋มเข้าใจ คิดตามไปด้วย กับการเล่าเรื่องตอนนี้กะปุ๋มเหมือนมานั่งอ้าปากหวอ...ฟังคุณ nidnoi เล่าเรื่อง....ตอนท้ายถึงบางอ้อ!!!....ว่า อืม...พร้อมพยักหน้า....อย่างเข้าใจยิ่งขึ้น

ขอบคุณนะคะ...สำหรับเรื่องเล่า...นี้

วันหลังจากมาฟังใหม่นะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

อย่างนี้ก็เข้าเค้าอีกหนึ่ง "เคล็ดลับคุณกิจ" ---(สังเกตุ) น๊ะค่ะ

ยินดีด้วยกับน้องลิ --ผ่านประเมินแล้ว--^-^

น้องลิ   ผ่านประเมินในสายตาของผู้สอนงาน  คือพี่นิดหน่อย     เพราะรู้จักสังเกต   และสามารถ detect ความผิดปกติได้   โดยที่ไม่ได้สอน    บองบางอย่างมันสอนกันไม่ได้ค่ะ    เพราะว่าร้อยวันพันปีก็ไม่เคยเจอเคสแบบนี้มาก่อน

คุณกะปุ๋มคะ
ยินดีมากเลยค่ะ    ที่คุณกะปุ๋มอ่านเข้าใจ     เขียนขึ้นมาก็หวั่นๆ   ว่าใครๆเค้าจะอ่านเข้าใจมั๊ยเนี่ย   แต่ว่าเป็นเรื่องที่อยากเขียน   ก็เลย.....ซะหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท