รู้ค่า g ไป...ทำอะไรได้ : สำรวจปิโตรเลียม


รู้ค่า g ไป...สำรวจปิโตรเลียม

          การสำรวจโครงสร้างที่เหมาะสมเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเป็นวิธีการที่ใช้เพื่อเสาะหาแหล่งพลังงาน โดยบริเวณที่มีการสะสมของเชื้อเพลิงฟอสซิลมักเป็นชั้นหินที่มีลักษณะเฉพาะ และการวางตัวของชั้นหินที่แปลกกว่าปกติ ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี แต่มีวิธีการหลักๆอยู่ ๓ วิธีด้วยกัน คือ


ภาพจาก: http://www.abconcretecoring.com/images/Core%20Drill%20Vert%20Pencil%20Art.JPG

              ๑. การขุดเจาะหลุมเพื่อเก็บตัวอย่างชั้นหิน (Core drilling) เพื่อเปรียบเทียบชนิดของชั้นหินและชนิดของหิน เพื่อหาโ๕รงสร้างทางธรณีในบริเวณที่ศึกษา


ภาพจาก: http://www.kgs.ku.edu/Publications/Oil/gifs/fig21.gif

              ๒. การสำรวจโดยคลื่นสั่นสะเทือน (Seismic prospecting) โดยการขุดหลุมลึกประมาณ ๕๐ เมตร เพื่อจุดระเบิด แล้วทำการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน โดยพิจารณาเวลาที่คลื่นสั่นสะเทือน (Seismic) เคลื่อนที่ ซึ่งจะคำนวณระยะ ความลึก และโครงสร้างทางธรณีได้


ภาพจาก: http://guru.sanook.com/picfront/sub/resize_4908__27112006053839.jpg

              ๓. การสำรวจโดยความโน้มถ่วง (Gravity prospecting) เป็นการใช้ความรู้เรื่องค่าความโน้มถ่วงของโลก ในส่วนของสมบัติความถ่วงจำเพาะที่แตกต่างกันของหินชนิดต่างๆใต้เปลือกโลก โดยหากชั้นหินวางตัวในแนวระนาบ เครื่องมือที่ใช้วัดค่าความโน้มถ่วงของโลกที่ละเอียด จะให้ค่าความโน้มถ่วงที่คงที่ แต่หากชั้นหินมีการวางตัวเอียงขึ้น/ลง (อาจเนื่องมาจากมีเชื้อเพลิงฟอสซิล) ค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้จะแปรผันกับแนวการวางตัวของชั้นหินบริเวณนั้น

          จากทั้ง ๓ วิธีข้างต้น วิธีสุดท้ายเป็นวิธีที่ไม่ต้องทำลายชั้นหินอย่างพร่ำเพรื่อ และประหยัดค่าใช้จ่ายได้พอสมควรในการที่ไม่ต้องขุด เจาะ หรือระเบิดชั้นหิน อย่างไรก็ตามเราควรใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย รู้คุณค่าความสำคัญของแหล่งพลังงานเพื่อความสุขของลูกหลานในอนาคต

ลองคิดดู: ภาพด้านล่างนี้ แต่ละส่วนเป็นการสำรวจแบบใดบ้าง?


ภาพจาก: http://www.gazprominfo.com/f/story/29/551825/w676h676d_05-explorations.png
 

อ่านเพิ่มเติม เรื่อง การเสาะหาปิโตรเลียม

๑. การสำรวจปิโตรเลียม@tharua.ac.th

๒. การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม@สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

หมายเลขบันทึก: 497186เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท