The Art of Foot Body Language : เมื่อเท้าบอกอะไรได้มากมาย !!


ระหว่างการสนทนา น้อยคนเหลือเกินที่ให้ความสนใจกับขาและเท้า นั่นเองที่เท้าสามารถบอกสิ่งที่พวกเขารู้สึกออกมาได้โดยไม่ตั้งใจ

   ในการอ่านภาษากาย คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับส่วนบนของร่างกาย ซึ่งในความจริงแล้วคนเราปกปิดความรู้สึกของตนโดย การทำหน้าตา แต่รู้หรือไม่ น้อยคนเหลือเกินที่ให้ความสนใจกับขาและเท้าของตนเอง(ยิ่งของคนอื่นยิ่งแทบจะไม่สนใจ) และนั่นเองที่เท้าสามารถบอกสิ่งที่พวกเขากำลังคิดและรู้สึกออกมาได้มากมายโดยไม่ตั้งใจ

สิ่งที่เรียนรู้ (What): การอ่านภาษากาย

วิธีการเรียนรู้ (How): สังเกตพฤติกรรมของผู้คนจากลักษณะการเคลื่อนไหวของขาและเท้าของพวกเขา และประเมินตามรูปแบบต่างๆ เช่น

1. เท้าแห่งความสุข - คือเท้าและขาที่สั่นหรือแกว่งและกระเด้งไปมาอย่างมีความสุข มักเกิดอย่างกะทันหันเมื่อได้เห็นหรือได้ยินบางสิ่งที่สำคัญและมีผลกระทบในแง่บวกต่อจิตใจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเช่น คู่รักทีเพิ่งได้เจอกันเมื่อไม่พบกันนานที่พบกันที่สนามบิน ขาไพ่ที่กำลังถือไพ่ดี เป็นต้น 

ข้อพึงระวัง เท้าที่สั่นอาจเกิดจากความประหม่า หรือเป็นสัญญานที่บอกถึงการหมดความอดทนก็เป็นได้

2. เท้าที่เปลี่ยนทิศทาง - เท้ามีแนวโน้มที่จะหันไปหาสิ่งที่เราชอบใจและหันหนีสิ่งที่ไม่ชอบใจ จากข้อความดังกล่าวเราสามารถนำมาประยุกต์ตามกรณีต่างๆ สมมติว่าคุณกำลังเดินเข้าไปใกล้คนสองคนที่กำลังพูดคุยกันอยู่ คุณเคยเจอสองคนนี้มาก่อนและอยากเข้าไปร่วมวงสนทนาด้วย คุณเจิงเดินตรงไปหาพวกเขาและกล่าว "สวัสดี" แต่ปัญหาก็คือ คุณไม่แน่ใจว่าพวกเขาอยากให้คุณร่วมวงหรือไม่ -- ให้ดูที่เท้าและลำตัว หากพวกเขาขยับเท้าไปพร้อมๆกับลำตัวเพื่อเปิดรับคุณ แสดงว่าเขายินดีต้อนรับคุณอย่างจริงใจ อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาไม่ขยับเท้า แต่บิดสะโพกเล็กน้อยและทักทาย แสดงว่าเขาอยากคุยกันแค่สองคนเท่านั้น อีกตัวอย่างเช่น โดยปกติเมื่อพูดคุยเราจะหันร่างกายตั้งแต่ส่วนสะโพกขึ้นมาไปทางคนที่เรากำลังคุยด้วย แต่ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบใจหรืออึดอัดใจกับการสนทนา เท้าของเราจะหันไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด เพื่อเป็นกานแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย

 

 

3.ขาที่แยกออก - คือการแสดงอำนาจและความต้องการอาณาเขต เมื่อคนสองคนกำลังคุยกันอย่างเมามัน เมื่อความคิดเห็นไม่ลงรอย คุณจะสังเกตเห็นว่าขาของแต่ละฝ่ายจะเริ่มแยกห่างออกจากกัน ไม่ใช่เพียงเพราะต้องการทรงตัวได้ดี แต่เป็นการแสดงเห็นถึงอำนาจของแต่ละฝ่าย  คุณจะไม่มีทางเห็นคนทะเลาะที่ยืนเถียงกัน โดยแต่ละฝ่ายยืนไขว้ขาด่ากัน!! และนั่นเองเมื่อเราต้องการลดความรุนแรงเมื่อทะเลาะกันจาก เราต้องยืนโดยไม่กางขามากเกินไปและค่อยๆหุบขาลง เพื่อลดความต่อต้านอำนาจของอีกฝ่าย 

4. ขาที่แสดงความสบายใจและพอใจ - คือขาที่กำลังไขว้กันขณะที่คนๆหนึ่งกำลังยืน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคุณยืนไขว้ขา การทรงตัวของคุณจะแย่ลงมากและเมื่อคุณต้องเจอกับอันตรายคุณจะไม่สามารถหนีได้เลย ดังนั้นสมองส่วนลิมบิกจะอนุญาตให้คุณทำท่านี้ ก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกสบายใจเท่านั้น

5. เท้าและพื้นที่ส่วนตัว - คนเราต่างมีพื้นที่ส่วนตัวในการยืน ระหว่างสนทนาหรือมีปฎิสัมพันธ์ใดๆในสังคม เมื่อมีการลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว จะทำให้คนๆนั้นแสดงออกและมีความคิดในแง่ลบขึ้นมา ความกว้างของพื้นที่ส่วนตัวสามารถบอกถึง ความรู้สึกไว้ใจ ใกล้ชิด และความรู้สึกต่ำต้อยหรือสูงกว่าผู้อื่น เช่น เราจะปล่อยให้คนในครอบครัวและคนรักเข้ามาใกล้ตัวเราได้มาก และถอยห่างไปเรื่อยๆตามความไว้วางใจที่ลดลง ส่วนในแง่ของความรู้สึกต่ำต้อยและสูงกว่าผู้อื่น สามารถอธิบายได้คือ คนที่มีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า เมื่อกำลังยืนพูดคุย จะมีพื้นที่ส่วนตัวมากกว่า กล่าวคืออยู่ห่างกับคู่สนทนามาก เป็นต้น

และนี่ก็เป็นลักษณะตัวอย่างในเทคนิคการอ่านภาษากายในส่วนของขาและเท้าที่ผู้เขียนทราบ

ผลของการเรียนรู้ (Outcome): ทำให้ทราบว่าการเรียนรู้ภาษากายไม่ใช่การจับผิดผู้อื่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น ในสิ่งที่พวกเขาต้องการในใจแต่แสดงออกไม่ตรงกับที่สิ่งพวกเขารู้สึก อาจเป็นเพราะว่าเป็นสิ่งที่อึดอัดใจ ไม่ชอบใจ ทำให้ผู้เขียนหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรและรู้ว่าจะปฎิบัติตัวต่อพวกเขาอย่างได้อย่างเหมาะสมอย่างไร อีกทั้งทำให้ผู้เขียนรู้เท่าทันผู้อื่นได้ดีอีกด้วย

ข้อคิดจากประสบการณ์ (Reflection): ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีประโยชน์เสมอ อยู่ที่เราเลือกที่จะใช้สิ่งเหล่านั้นในทางที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ อย่างเช่น การรู้ในภาษากาย หากนำมาปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความเข้าใจผู้อื่นก็จะเกิดประโยชน์ได้ แต่ถ้าหากนำความรู้ดังกล่าวมาจับผิดคนอื่นจนเป็นนิสัย ก็จะเกิดโทษกับตัวเอง เพราะทำให้เรากลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายที่มองหาแต่ข้อเสียของคนอื่น ไม่เกิดความสุขใจกับตนเอง..

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (Reference)

Navarro, Joe. What Every Body Is Saying. 1 st ed. New York, NY.10022, USA. HarperCollins Publishers. 2008.
Pease, Allan & Barbara. The Definitive Book of Body Language. 2 nd ed. Bangkok, Thailand. Matichon Publishing House. 2009.

หมายเลขบันทึก: 497119เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 02:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 01:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นความรู้ที่ดีมากนะ เค้าชอบวางท่าลำบาก เวลาคนอยู่เยอะๆอ่ะ ข้อมูลดีๆ : D

ไม่เคยสังเกตเลยนะเนี่ย!!!

เดี๋ยวจะลองสังเกตดูบ้าง 555 ^^

โห เพิ่งรู้นะเนี่ยว่ามีแบบนี้ด้วย ต้องลองสังเกตดูซะแล้ว

มันน่าสนใจจริงๆ ต้องลองสังเกตดูแล้ว ฮ่าๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท