นวัตกรรมองค์กรและอุปสรรคแห่งการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม


         สวัสดีค่ะ  วันนี้ขอกล่าวถึงนวัตกรรมองค์กรและอุปสรรคของการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมค่ะ

           นวัตกรรมองค์กร  หมายถึง  องค์กรที่นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ  มาประยุกต์ใช้จนเป็นผลสำเร็จและแพร่กว้างออกไปจนกลายเป็นระเบียบวิธีปฎิบัต แก่บุคคลทั่วไป  (บุญเกื้อ  ควรหาเวช, 2543)

อุปสรรคของการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม                                     

         ปัจจุบันองค์กรของไทยส่วนใหญ่ มักจะมีการนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเข้ามาใช้งาน รวมทั้งยังมีการเข้าขอรับการรับรองมาตรฐาน ISO อีกเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะไม่ทราบว่า หากมีการนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งาน หรือการได้รับการรับรองมาตรฐานทำให้ท่านรู้สึกสบายใจว่าองค์กรได้มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วท่านอาจจะกำลังสร้างอุปสรรคทางด้านวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ให้องค์กรยากต่อการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในการออกแบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนั้น หรือการดำเนินการขอรับการรับรองมาตรฐาน เป็นการดำเนินการขององค์กรที่อยู่บนพื้นฐานของขั้นตอนการปฏิบัติการ (Procedure) หรือคู่มือการปฏิบัติการ (Work-Instruction) ของหน่วยงานในองค์กร โดยซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนั้น มุ่งที่จะเข้ามารองรับสนับสนุนการปฏิบัติการ สำหรับมาตรฐานต่างๆ นั้นก็มักจะมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติการที่กำหนดออกมาอย่างชัดเจน และมีกลไกในการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติการต่างๆ ให้ยังคงความชัดเจนสำหรับคนในหน่วยงาน

          ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเราพิจารณาถึงที่มาของแต่ละองค์กรแล้วแต่ละองค์กรมีรายละเอียดหรือองค์ประกอบมากกว่านั้น นั่นคือ ต้องมีการสร้างรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ซึ่งเจ้ารูปแบบธุรกิจนี้ก็มีองค์ประกอบมากมาย  อาทิ

• วิสัยทัศน์ (Vision)     

• พันธกิจ (Mission)

• เป้าหมายทางธุรกิจ (Business Goal)

• คุณค่าขององค์กร (Values)

• กลยุทธ์ (Strategy)

• โครงสร้างองค์กร (Organization)

• กระบวนการทำงานของกิจกรรมหลักต่างๆ (Primary Activity)

• กระบวนการทำงานของกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ (Supporting Activity)

• กลุ่มเป้าหมาย (Prospect, Stakeholder)

• กลุ่มของ Supplier

• Brand (Corporate, Products, Management)

ฯลฯ

     ตัวอย่างขององค์ประกอบข้างต้น ทำให้เราต้องพิจารณาอย่างหนักในการดำเนินการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับขั้นตอนปฏิบัติงานขององค์กร ซึ่งมีส่วนประกอบที่ละเอียดมากๆ การนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งาน และการขอเข้ารับการรับรองมาตรฐาน อย่าง ISO นั้น มักจะดำเนินการโดยขาดการคำนึงถึงองค์ประกอบหลักๆ ข้างต้น  ดังนั้น เมื่อองค์กรหนึ่งๆ มีความต้องการในการเข้ารับรองมาตรฐาน หรือการนำซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งานนั้น องค์กรนั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรขององค์กรที่เข้าใจในองค์ประกอบหลักๆ ขององค์กรเป็นอย่างดี เข้าไปร่วมในทีมงานที่ดำเนินการในประเด็นเหล่านี้ และต้องเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการนั้นด้วย นอกเหนือจากความเข้าใจในองค์-ประกอบหลักขององค์กรเป็นอย่างดีแล้ว บุคลากรเหล่านั้นยังต้องมีความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กรนั้นอีกหลายประเด็นดังนี้

1. SWOT และความเสี่ยงขององค์กร (SWOT and Business risks)        

2. ปัจจัยที่สามารถเข้ามากระทบต่อธุรกิจได้ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ (Business Drivers)                        

3. วงจรธุรกิจในแต่ละช่วงเวลา (Business Cycle)          

4. อุตสาหกรรมขององค์กร (Industry)

     บุคลากรที่จะเข้าใจในประเด็นต่างๆ ขององค์กรที่ยกมาข้างต้นนี้ น่าจะต้องเป็นผู้ที่ทำงานกับองค์กรนั้นๆ มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรจึงจะสามารถเข้าใจในองค์ประกอบหลักๆ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขององค์กรหรือไม่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นมาเป็นเวลายาวนาน

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรมองค์กร
หมายเลขบันทึก: 496334เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท