Thai & Japanese Law on Conflict of Law


กฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่น ต่างได้บัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายขัดกันว่าด้วย ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ไว้เหมือนกัน

Conflict of Law on Torts, Management of Affair without Mandate, Undue Enrichment: Thai Law & Japanese Law Act Concerning the Application of Laws

Japanese Law

Article 11 (Formation and effect of obligation-rights arising by operation of law)

          1. The formation and effect of obligation-right arising from the voluntary management of affairs, unjust enrichment or torts, shall be governed by the law of the place where the events giving rise to such obligation-right have occurred.

          2. The provisions of the preceding paragraph shall not apply to torts in the cases where the events occurring in a foreign country are not unlawful according to Japanese law.

          3. Even when events occurring in a foreign country are unlawful according to Japanese law, the injured person may claim compensation only for damages or other remedies recognized by Japanese law.

Thai Law

          มาตรา 14 หนี้ซึ่งเกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง หรือลาภมิควรได้ ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดหนี้นั้นได้เกิดขึ้น

          มาตรา 15 หนี้ซึ่งเกิดจากการละเมิด ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริงซึ่งทำให้เป็นการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้น

          ความในวรรคก่อนไม่ใช่แก่บรรดาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งไม่เป็นการละเมิดตามกฎหมายสยาม กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหม หรือ ทางแก้อย่างใดไม่ได้นอกจากที่กฎหมายสยามยอมให้เรียกร้องได้

           จากบทบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่น มาตรา 11 สามารถเปรียบได้กับพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกัน มาตรา 14 และ มาตรา 15 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วย หนี้ อันเกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด ซึ่งหากพิจารณาบทบัญญัติของทั้ง 2 ประเทศเปรียบเทียบกัน ก็จะเห็นได้ว่า เป็นบทบัญญัติที่มีความคล้ายคลึงกันมาก กล่าวคือ กฎหมายที่บังคับใช้แก่คดี (Applicable Law) ในมูลหนี้ที่เกิดจากละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ คือ กฎหมายที่ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดหนี้นั้นได้เกิดขึ้น อีกทั้ง ยังมีบทบัญญัติที่เป็นเงื่อนไขในการนำกฎหมายมาบังคับใช้แก่หนี้อันเกิดจากละเมิด ที่มีเรียกว่า Double Actionability คือ การกระทำละเมิดนั้น จะต้องผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้ง 2 ประเทศ หากการกระทำนั้น ไม่มีความผิดตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศไทย ก็ไม่สามารถนำกฎหมายที่ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นมาบังคับแก่กรณีได้ และการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหายนั้น ทั้ง 2 ประเทศก็กล่าวไว้เหมือนกัน คือ การเรียกร้องค่าเสียหายหรือทางแก้อย่างใด จะเรียกได้เท่าที่กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นหรือไทยจะยอมให้เรียกร้องได้

           สรุปได้ว่า กฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่น ต่างได้บัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายขัดกันว่าด้วย ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ไว้เหมือนกัน

หมายเลขบันทึก: 49594เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็น WEB ที่ให้ความรู้ที่ดีมาก โดยเฉพาะตัวบทของกฎหมายของประเทศอื่นๆ และได้ภาษากฎหมายเป็น English ดีใจที่ค้นพบ Web นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท