67 ใครอยากเป็นพิธีกร...เชิญทางนี้


พิธีกร...

เป็นที่รู้แล้วว่า  การประชาสัมพันธ์เป็นหัวใจสำคัญที่มีส่วนเอื้ออำนวยให้เกิดการเข้าใจกันและร่วมมือกันจากทุก ๆ ฝ่าย  เพราะเชื่อว่าการที่จะทำการสิ่งใดให้ได้ผลและสำเร็จในองค์กร  ต้องได้รับจากการยอมรับ ความเข้าใจ และความสนับสนุนร่วมมือจากผู้อื่นเสมอ  จึงเป็นที่มาที่เกือบทุกองค์กรต้องมีการประชาสัมพันธ์ ประกาศเสียงตามสายเพื่อชี้แจงข่าวสารต่างๆ

 

น.ส.ปณิศฬา   คานศุวงค์  (น้องเรย์)

 

 

 

วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่น้องเรย์   ซึ่งเข้ารับการอบรม  เรื่อง “การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและเทคนิคการเป็นพิธีกรมืออาชีพ ได้เก็บเกี่ยวความรู้บวกกับประสบการณ์จริงที่ได้มานาน  มาเล่าให้เพื่อนและผู้ที่สนใจฟัง    และผู้เขียนซึ่งไม่ชอบพูดแต่ชอบเขียนจะเป็นผู้ร้อยเรียงถ่ายทอดผ่านตัวอักษรให้ท่านที่สนใจได้อ่านกันค่ะ

น้องเรย์เริ่มที่เรื่อง   “การจัดรายการเสียงตามสายแบบมืออาชีพ”  และเพื่อให้ตรงกับได้ผลดี    เราต้องสำรวจก่อนว่าของคนและองค์กร   ต้องการอะไรจากการออกเสียงตามสาย    ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุน   ช่วยกันสร้างความรู้  ความเข้าใจ เผยแพร่และชี้แจง   เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร   ให้เป็นที่รู้จัก ได้รับความไว้วางใจ

 

และนี่คือตัวอย่างความต้องการที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้นของคนกรมอนามัย 

 

 

 

เมื่อสำรวจแล้ว  ขั้นต่อไป คือ ดำเนินการ  ต่อไปเป็นเทคนิคที่น้องเรย์ เอามาแบ่งปัน ... 

เทคนิคในการเป็นผู้ประกาศเสียงตามสาย

1   การเตรียมตัว

  • การเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง (น้ำเสียงต้องไม่เป็นหวัด)

  • การเตรียมเนื้อหาที่จะพูดหรือเล่า  

  • เลือกภาษาที่จะใช้ให้เหมาะสม  เช่น ภาษาพื้นเมือง หรือ  ภาษากลาง

  • ต้องฝึกซ้อมเพื่อรักษาเวลา

     2   น้ำเสียง

  • ชัดเจน

  • อักขระ วิธีถูกต้อง

  • ลีลาการนำเสนอน่าฟัง

  • ให้อารมณ์

  • สื่อความหมายได้

  •  

  •  

 

นั่นเป็นเพียง  การประกาศเสียงตามสาย   ซึ่งยังจำเป็นต้องมีการเตรียมตัว  เพื่อไม่ให้ประหม่า  เสียงสั่น  เวลาพูดซึ่งบางครั้งไม่ได้พูดต่อหน้าชุมชนหรือในเวทีต่างๆเลย   แล้ว...ถ้าต้องพูดในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมในคนหมู่มากที่กำลังดำเนินการอยู่จะทำอย่างไร  ?

 

ซึ่งในบทบาทนี้    น้องเรย์บอกว่าเขาเรียกว่า  “  พิธีกร”   หรือที่เรียกกันติดปากทั่วไป ว่า  MC  ย่อมาจาก Master of Ceremony นั่นหมายถึง  ผู้ที่มีหน้าที่  กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้ 

 

หน้าที่ของพิธีกร 

1  เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วม  เช่น

  • แจ้งกำหนดการ

  • แจ้งรายละเอียดของรายการ

  • แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

  • แนะนำผู้พูด ผู้แสดง

  • ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ

  • กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ

2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน

  • กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน

  • เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม

  • เชิญ เปิดงาน ปิดงาน

3 .เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน

  • ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ

  • มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ

  • กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล

 

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์   มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต  แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร   จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง    เพราะฉะนั้นการที่จะเป็นพิธีกรที่ดี ควรปฏิบัติตัว ดังนี้  

  

 

นอกจากนั้นน้องๆ  ยังเอาสูตรสำเร็จพร้อมใช้มาแบ่งปัน  แบบเรัยนทางลัด    ใครอยากเป็นพิธีกรแบบมืออาชีพ   ลองทำตามดูนะคะ 

 

 

 

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 495531เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้เคล็ดวิชาแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

การเตรียมความพร้อมน่าสนใจมากเลยค่ะ ครอบคลุมดีค่ะ

ใช่แล้วค่า น่าสนใจมาก

ขอบคุณมากๆน่ะค่ะ สำหรับข้อมูลดีดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท