สัจจะเป็นที่ตั้ง...ของใจ


แทบทุกวัน...ข้าพเจ้ามักมีเรื่องที่ต้องได้ใคร่ครวญและพิจารณาถึง "สัจจะ" อยู่เสมอ

สำหรับชีวิตของข้าพเจ้าแล้วการรักษาไว้ซึ่งสัจจะนั้นไม่ได้รับการถูกสอนโดยตรง และไม่ต้องมามีใครเน้นย้ำ และพร่ำสอนโดยตรง แต่ข้าพเจ้าก็รับรู้และใส่ใจเสมอว่าได้รับการบ่มสอนโดยอ้อม

ครูคนแรกคือ แม่...ที่มักเน้นย้ำเรื่องการรักษาสัจจะอยู่เสมอและให้กำลังใจว่า "ทำให้ได้"

บุคคลที่ดำเนินชีวิตให้เห็น...ดั่งเช่น Prof. Vicharn Panich ที่ท่านปฏิบัติให้ดูในชีวิตประจำวัน

และที่สำคัญดั่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์....

หลวงตามหาบัว หลวงปู่ประสาร ที่ท่านเมตตากรุณาเล่าประสบการณ์และถ่ายทอดถึงวิธีคิดให้เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ทราบเสมอ

"สัจจะ"ที่หลวงตาท่านมีต่อหลวงปู่มั่น พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเอ่ยอะไร ให้ทำอะไร หลวงตาท่านจะมุ่งมั่นทำเสมอและรักษาสัจจะที่ตั้งใจไว้กับหลวงปู่มั่น แม้ว่าบางเรื่องจะเป็นเรื่องที่ขัดใจท่าน แต่ท่านก็ให้ความเคารพต่อสัจจะนั้น

"สัจจะ"ที่หลวงปู่ประสาร สุมโนมีต่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ผั่นเองก็เช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความเมตตาของท่านที่ท่านกรุณาเล่าอย่างอ้อม แต่ปฏิบัติให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องการรักษาไว้ซึ่งสัจจะ ... ท่านกรุณาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า หลวงปู่ผั่นท่านฝากวัดให้หลวงปู่ประสารดูแล แม้ว่าลูกศิษย์ลูกหาจะนิมนต์หรือแม้แต่สหมิกธรรมจะนิมนต์ท่านไปจำวัตรที่ไหน ท่านก็ไม่ไปท่านบอกว่า "รักษาสัจจะที่มีต่อองค์หลวงปู่ผั่น"

เมื่อย้อนกลับมาที่ข้าพเจ้าเอง

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาและกรุณาสอนเราขนาดนี้ สิ่งที่ดีทำไหมเราจะไม่ทำตาม

ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสกราบหลวงปู่ ท่านเมตตากรุณาว่า "มาช่วยกันเด็กๆ คืออนาคตของชาติ" ข้าพเจ้าเพียงรับปากต่อองค์ท่านว่า "เจ้าค่ะ" ...แต่ในใจนี้มุ่งมั่นอย่างมากในการมาร่วมบ่มเพาะเด็กๆ และเยาวชนที่วัดในการฟื้นฟูฯจิตใจและปัญญาของเขา (โมเดลบ่มเพาะต้นกล้า"แห่งอนาคต" ใน thinnabho) นี่ย่างเข้าปีที่ ๔ ของกรณีรักษาไว้ซึ่งสัจจะนี้ แม้ไม่สบาย เหนื่อยลำบากจากการกรำงาน หรือมีภาระที่ซ้อนเข้ามาทั้งสำคัญมากหรือสำคัญน้อย เหนือยิ่งกว่าสิ่งใดไม่มีเสียจากการรักษาไว้ซึ่ง "สัจจะ"ที่มีอยู่ในใจตน

เมล็ดพันธ์ุ"สัจจะ"จึงเติบโตอยู่ในใจของข้าพเจ้าอยู่เสมอ

เพราะฝึกฝนจึงเกิดเป็นทักษะและความชำนาญ...

รักษาไว้ซึ่ง "สัจจะ" ที่ไม่ทำให้ผมยาวมากกว่านี้ คือ ...การที่หลวงปู่เมตตาให้เราพิจารณาต่อตัวเราเอง...ท่านไม่ได้สั่งแต่ท่านกระตุ้นถามเพื่อให้คิดพิจารณาและใคร่ครวญในตนเองว่าเราสามารถที่จะเสียสละในเรื่องนี้ได้ไหม

ข้าพเจ้าต้องเดินทางไปพบปะผู้คนมากมาย ต่อทวนกระแสกับสังคมและโลก และต่อต้อสู่กับกิเลสที่กวนในใจอยู่เสมอ แต่เมื่อใคร่ครวญพิจารณาไม่ทำได้อย่างไรในเมื่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเอ่ยเปิดทางให้เราได้ฝึกฝนในตนเองขนาดนี้....

ไม่ต้องไปรอถึงวันข้างหน้าที่พร้อมถึงค่อยทำตาม โอกาสของความเมตตากรุณาที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านนำพาให้เราได้ก้าวย่างไปสู่วิถีแห่งมรรคแปด๘ ที่ทำให้ใจเราหลุดพ้นจากพันธนาของสังโยชน์อันเป็นสิ่งที่ร้อยรัดในใจเราไว้และมักมาด้วยเหตุที่ดีเสมอหากปัญญาไม่มากก็รู้ไม่เท่าทัน(เหตุผลของคนหลงทาง...ไม่ใช่หนทางที่ใช่)...แล้วใยเราจะไม่ทำเล่า...

ยิ่งทำยิ่งปฏิบัติ...

ก็ยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงในตนเอง แต่ระหว่างทางสิ่งที่ทำก็ไม่ได้เรียบง่าย หากแต่ต้องอาศัยความเพียร ความอดทน และฝึกฝนปัญญานำพาตนเองออกจากอารมณ์และความคิดที่เป็นกิเลส...

ผล...ที่เกิดจะเป็นข้อเชิงประจักษ์ให้เราได้เห็น เป็นการมองเห็นได้ด้วยปัญญา คือ สภาวะใจที่กระเพื่อมน้อย และพลังแห่งความมุ่งมั่นที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...

...

๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 495381เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 05:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท