Biome


Biome

               

  • มาอธิบายสิ่งที่เล็กกว่าก่อนแล้วกันค่ะ กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) คือบริเวณทางภูมิศาสตร์ใดๆก็ตามที่มีสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีแนวโน้มจะมีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ตามปรกติแล้ว เราจะตั้งชื่อกลุ่มสิ่งมีชีวิตตามพืชพรรณที่พบเห็นได้มากในบริเวณนั้น และเราจะได้ชื่อนี้มาจากไบโอม
  • ไบโอม (Biome – ชีวนิเวศ) หมายถึงบริเวณที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นได้ทั้งสภาพแวดล้อมบนบกและในน้ำ การแบ่งประเภทของไบโอมจะดูได้จาก พืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนั้น บริเวณนั้นได้รับแสงแดดมากน้อยขนาดไหน รวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ยหรือสภาพภูมิอากาศของบริเวณดังกล่าวด้วย
  • ไบโอมประเภทต่างๆคือ ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rainforest) ทุ่งทุนดร้า (Tundra) และทุ่งหญ้า (Grassland)

อย่างไรก็ตาม ชื่อของกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะเป็นชื่อเดียวกันกับไบโอมค่ะ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ไบโอม ด้วยความหมายของมันแล้ว หมายถึงบริเวณทางภูมิศาสตร์ที่กว้างใหญ่ ส่วนกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นจะหมายถึงบริเวณที่เล็กกว่ากันมาก

  • คราวนี้เรามาพูดถึงไบโอมบนบก (Terrestrial Biome) กันค่ะ แน่นอน มันต้องเป็นไบโอมที่พบบนพื้นดิน สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อไบโอมบนบกคือ ตำแหน่งที่ตั้งของมัน เพราะที่ตั้งจะเป็นตัวกำหนดว่าไบโอมนั้นจะได้รับแสงแดดมากน้อยแค่ไหน และยังส่งผลถึงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย ประเภทของดินและสารอาหารในดิน น้ำที่มีอยู่ในบริเวณ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตั้วกำหนดว่าไบโอมนี้จะมีพืชพรรณใดเจริญเติบโตได้บ้าง

ไบโอมบางประเภทอาจหนาวเย็นมาก อย่างทุ่งทุนดรา หรือร้อนมาก อย่างทะเลทราย

ต่อไปเรามาพูดถึงไบโอมในน้ำกันค่ะ (Aquatic Environment)

  • โลกของเราถูกปกคลุมไปด้วยน้ำเสียส่วนใหญ่ ตั้ง 75%  ดังนั้น สภาพแวดล้อมทางน้ำเค็มจะถูกแบ่งย่อยออกโดยพิจารณาจาก แสงแดดที่ส่องถึง และความใกล้ไกลจากฝั่งด้วย   มาพูดถึงแสงแดดกันก่อนนะคะ แน่นอนว่าแสงแดดไม่สามารถส่องไปถึงก้นมหาสมุทรได้ เราจึงแบ่งสองระดับนี้ออกเป็น ระดับที่แสงส่องถึง (photic) และระดับที่แสงส่งไม่ถึง (aphotic)
  • โฟติก (photic)  คือระดับของน้ำที่แสงแดดยังคงสามารถส่งถึงได้อยู่   ในระดับชั้นนี้คุณจะพบแพลงตอนพืช (phytoplankton) และมีพืชทะเลอยู่มาก ส่วนระดับเอโฟติก (aphotic) จะเป็นระดับที่มีแสงน้อยมากถึงไม่มีเลย นอกจากนี้ ระยะห่างจากชายฝั่งของบริเวณนั้นก็มีความสำคัญเหมือนกัน

บริเวณที่อยู่ระหว่างชายฝั่งกับมหาสมุทร จะเรียกว่า เขตน้ำขึ้นน้ำลง (intertidal zone)  นี่จะเป็นบริเวณที่ถูกน้ำปกคลุมในบางช่วงเวลาของแต่ละวัน และแห้งในบางช่วงเวลา ต่อไปเป็นเขตพื้นมหาสมุทรหรือ benthic zone และเขตน้ำทะเล หรือ pelagic zone

ต่อไปเป็นไบโอมน้ำจืด (freshwater biome) เช่นในแม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธาร หรือหนองบึง และพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเหล่านี้สำคัญสำหรับมนุษย์อย่างเรามาก เพราะมันเป็นแหล่งน้ำดื่มของเรา

>>>>>สุดท้ายคือบริเวณน้ำกร่อย (brackish)  น้ำกร่อยคือน้ำที่ผสมระหว่างน้ำเค็มจากมหาสมุทรและน้ำจืดจากลำธารต่างๆ น้ำกร่อยไม่ได้เป็นบริเวณน้ำเค็ม และก็ไม่ได้เป็นน้ำจืดด้วยเหมือนกัน แต่เป็นอย่างละนิดอย่างละหน่อยครับ :)

 http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=393

คำสำคัญ (Tags): #biome
หมายเลขบันทึก: 495152เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอาทิตย์หน้านะครับ วันที่ 31 ครับ

ครับอาจารย์ ..... อาจารย์ครับแบบฟรอม์ project ... กล้วยไม้คับ project มี Venda , Ascocentrum ใช่ไหมคับ... อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท