ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ 3


ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ 3
    "สงครามทุกรูปแบบ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลอุบาย" ฉะนั้น เมื่อมีความสามารถ จงทำเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อคล่องตัว ก็แสร้งทำเป็นไม่คล่องตัว เมื่อเข้าใกล้ ทำให้ปรากฎเหมือนดังอยู่ไกล เมื่ออยู่ไกล ทำประหนึ่งอยู่ใกล้ วางเหยื่อล่อข้าศึก แสร้งทำเป็นสับสนอลหม่าน แล้วโจมตีข้าศึก  ทำให้แม่ทัพของข้าศึกเกิดความโมโห และหัวหมุนวุ่นวายใจ แสร้งทำเป็นอ่อนแอกว่า แล้วยั่วยุให้ข้าศึกเกิดความหยิ่งยะโส  เมื่อข้าศึกรวมตัวกันติด ทำให้แยกกันเสีย โจมตี จุดที่ข้าศึกมิได้เตรียมการป้องกัน ใช้ความฉับไวโจมตีในขณะที่ข้าศึกไม่ได้คาดคิด  "สิ่งเหล่านี้ คือ กุญแจอันจะนำไปสู่ชัยชนะของนักยุทธศาสตร์"   บรรพที่ ๒ การทำศึก ซุนจู้ กล่าวว่า.....          "ชัยชนะ เป็นความมุ่งหมายใหญ่ที่สุดในการทำสงคราม     ถ้าการทำสงครามถูกหน่วงเหนี่ยวให้ล่าช้าเพียงใด อาวุธจะสิ้นคม จิตใจทหารจะหดหู่  เมื่อยกกำลังเข้าตีเมือง กำลังของทหารจะสิ้นไป"           "ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ยินแต่ การทำสงครามที่รวดเร็ว และฉับพลัน เราไม่เคยเห็นปฏิบัติการสงครามที่ฉลาด ครั้งใด กระทำโดยยืดเยื้อ  ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจอันตรายอันเกิดจากการใช้กำลังทหาร  ย่อมจะไม่สามารถเข้าใจถึงความ ได้เปรียบของการใช้กำลังทหาร ได้ในทำนองเดียวกัน"          "ผู้ชำนาญการศึก ไม่ต้องการกำลังหนุนส่วนที่สอง และไม่ต้องการเสบียงอาหารเกินกว่าครั้งเดียว  กองทัพขนยุทโธปกรณ์ไปจากบ้านเมืองของตน และอาศัยเสบียงอาหารของข้าศึก  ด้วยเหตุนี้กองทัพจึงมีเสบียงอาหารมากมาย ไม่ขัดสน เมื่อประเทศต้องขัดสนเพราะการทำศึก เหตุก็เนื่องมาจากการลำเลียงมีระยะทางไกล                 กองทหารไปตั้งอยู่ที่ใด ราคาของจะสูงขึ้น     ความสมบูรณ์ พูนสุขของประชาชนก็จะหมดสิ้นไป                 เมื่อความสมบูรณ์ลดลง ประชาชนก็จะเดือดร้อน เพราะจะต้องมีการเรียกเก็บภาษียามฉุกเฉิน                 แม่ทัพที่ฉลาด จึงดำเนินการเพื่อให้กองทัพของตนอยู่ได้ด้วยเสบียงของข้าศึก   (ข้าวของข้าศึกหนึ่งถัง มีค่าเท่ากับข้าวของตนเองยี่สิบถัง)          "เหตุที่ทหารฆ่าฟันศัตรู ก็เพราะความโกรธแค้น"(นำข้อนี้มาเป็นอุบายให้ทหารเรามีใจรุกรบต่อสู้ได้)          "เมื่อจับเชลยศึกได้ ปฏิบัติดูแลให้ดี"  อย่างนี้เรียกว่า "ชนะศึกแล้ว เข้มแข็งขึ้น"  "สิ่งสำคัญในการทำศึก คือ ชัยชนะ มิใช่ปฏิบัติการที่ยืดเยื้อ ฉะนั้น แม่ทัพที่เข้าใจเรื่องราวของสงคราม จึงเป็นผู้กำชะตากรรมของพลเมือง เป็นผู้ชี้อนาคตของชาติ"  บรรพที่ ๓ ยุทธศาสตร์การรบรุก  ซุนจู้กล่าวว่า...             "โดยปกติธรรมดาในการทำสงคราม  นโยบายดีที่สุด คือ การเข้ายึดบ้านเมืองของข้าศึกได้โดยมิให้บอบช้ำ  การทำให้เกิดความพินาศฉิบหายย่อมด้อยกว่า"              "ชัยชนะร้อยครั้ง จากการทำศึกร้อยครั้ง มิได้แสดงว่า ฝีมือดีเยี่ยม   การทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องสู้รบ แสดงว่ามีฝีมือยอดเยี่ยม"              "ฉะนั้น  ความสำคัญสูงสุดในการทำสงคราม จึงอยู่ที่การโจมตีที่แผนยุทธศาสตร์ของข้าศึก                ที่ดีเยี่ยมรองลงมา คือ การทำให้ข้าศึกแตกแยกกับพันธมิตร                      ที่ดีรองลงมา คือ การโจมตีกองทัพของข้าศึก                นโยบายเลวที่สุด คือ การตีตัวเมือง   การเข้าตีตัวเมือง กระทำกันเมื่อไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น"              "เท่าที่ปรากฎ ศิลปะในการใช้ขบวนศึกมีอยู่ดังนี้                 เมื่อมีกำลังอยู่เหนือกว่าข้าศึก ๑๐ เท่า   ล้อมข้าศึกไว้                    เมื่อมีกำลังเหนือกว่า ๕ เท่า   ให้โจมตีข้าศึก                    ถ้ามีกำลังเป็น ๒ เท่า   แยกกำลังข้าศึก                    ถ้ามีกำลังทัดเทียมกัน   ท่านอาจเข้ารบโดยตรงได้ (แม่ทัพที่มีความ สามารถเท่านั้น เป็นผู้เอาชนะได้)                    ถ้ามีทหารจำนวนน้อยกว่า  ต้องมีความสามารถในการถอยทัพ                    และถ้าไม่ทัดเทียมกันในทุกแง่มุม เมื่อมีกำลังน้อยกว่า ต้องสามารถหลบเลี่ยงข้าศึกให้ได้ แต่ต้องเข้าตี เมื่อมีกำลังเหนือกว่า              "ผู้มีอำนาจปกครองสูงสุดในแผ่นดิน รู้จักเลือกคนดีไว้ใช้ ย่อมเจริญรุ่งเรือง   ใครที่ใช้คนดีไม่ได้  ย่อมพินาศฉิบหาย"         หนทางที่ผู้มีอำนาจในแผ่นดิน จะนำโชคร้ายมาให้กองทัพของตน มีอยู่ ๓ ประการ คือ                  ๑. เมื่อโง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้ว่ากองทัพยังไม่ควรรุก ก็สั่งให้รุก กองทัพที่มีปัญหาเช่นนี้ เท่ากับถูกมัดขา                     ๒. เมื่อผู้โง่เขลาในกิจการทหาร เข้ามายุ่งเกี่ยวในงานฝ่ายบริหารของกองทัพ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ บรรดาแม่ทัพนายกอง เกิดความสับสนงงงวย                     ๓. เมื่อขาดความรู้ในสายงานการบังคับบัญชา ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่     เหตุเช่นนี้ทำให้เกิด ความสงสัยขึ้นในจิตใจของแม่ทัพนายกอง  "ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่า คำสั่งบังคับบัญชาที่มาจากผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในเมือง"            มีสิ่งแวดล้อมอยู่ ๕ ประการที่จะช่วยให้ทำนายชัยชนะได้  คือ                  ๑. ผู้ที่รู้ว่าเมื่อใดควรรบ และเมื่อใดไม่ควรรบ  จะเป็นผู้ชนะ                     ๒. ผู้ที่รู้จักว่าจะใช้กองทหารขนาดใหญ่ และขนาดเล็กอย่างไร  จะเป็นผู้ชนะ                     ๓. ผู้ที่มีนายและไพร่พลกลมเกลียวเหนียวแน่นในการทำศึก จะเป็นผู้ชนะ                     ๔. ผู้ที่มีวิจารณญาณ และสงบนิ่ง  คอยข้าศึกผู้ขาดวิจารณญาณ จะเป็นผู้ชนะ                     ๕. ผู้ที่มีแม่ทัพ เป็นผู้ที่มีความสามารถ และไม่ถูกรบกวนแทรกแซงจากผู้มีอำนาจปกครองแผ่นดินสูงสุด จะเป็นผู้ชนะ    "รู้จักข้าศึก และรู้จักตัวของท่านเอง ในการรบร้อยครั้งท่านไม่มีวันประสบอันตราย   เมื่อท่านไม่รู้จักข้าศึกดีพอ แต่ท่านยังรู้จักตัวเอง  โอกาสที่ท่านจะแพ้หรือชนะมีอยู่เท่าๆกันถ้าไม่รู้จักให้ดีพอทั้งข้าศึกและตัวของท่านเอง  ท่านแน่ใจได้เลยว่า ในการศึกร้อยครั้ง ท่านจะประสบอันตราย"  บรรพที่ ๔ ท่าที   ซุนจู้กล่าวว่า...             "ในสมัยโบราณ สิ่งที่นักรบผู้ชำนาญพึงปฏิบัติ คือ  ทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้  แล้วคอยจนถึงเวลาที่ข้าศึก ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ"             "การทำมิให้มีผู้ใดเอาชนะได้ ขึ้นอยู่กับตัวเอง  ความเสียเปรียบของข้าศึกอยู่ที่ตัวของเขาเอง"    เหมยเย่าเฉิน อธิบายว่า...             "อะไรที่ขึ้นอยู่กับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าย่อมทำได้ แต่สิ่งที่ต้องขึ้นกับข้าศึก จะถือเอาเป็นการแน่นอนมิได้"             " การที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้ขึ้นอยู่กับการป้องกัน    ทางที่อาจมีชัยชนะได้อยู่ที่การโจมตี                เมื่อไม่มีกำลังเพียงพอ ก็ป้องกันตัว    เมื่อมีกำลังเพียงพอ (เหลือเฟือ) จึงโจมตี        ผู้ที่ชำนาญการทำศึก จึงยึดมั่นในหลักของเต๋า รักษากฎเกณฑ์ แล้วจึงสามารถกำหนดแนวที่จำนำชัยชนะมาได้"   "องค์ประกอบในการพิชัยสงครามนั้น             ข้อแรกทีเดียวคือ การจัดพื้นที่             ข้อที่สอง ประมาณปริมาณ             ข้อที่สามคือ การคิดคำนวณ             ข้อที่สี่ เป็นการเปรียบเทียบ             และข้อที่ห้า คือ โอกาสที่จะมีชัยชนะ" ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ บรรพที่ ๕ กำลังพล บรรพที่ ๖ ความอ่อนแอ และความเข้มแข็ง บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์ บรรพที่ ๘ สิ่งซึ่งผันแปรได้ ๙ ประการ บรรพที่ ๙ การเดินทัพ   บรรพที่ ๕  กำลังพลซุนจู้กล่าวว่า...  "โดยทั่วไปนั้น การจัดการคนจำนวนมาก ก็อย่างเดียวกับการจัดการคนสองสามคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบบริหาร การควบคุมคนจำนวนมากเหมือนกับการควบคุมคนสองสามคน  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับรูปขบวน และสัญญาณ"   "ใช้กำลังแข็งที่สุด โจมตีจุดว่างที่สุด"     โดยทั่วไปในการทำศึก ใช้ "กำลังรูปธรรมดา" เข้าปะทะกับข้าศึก  แล้วใช้ "กำลังรูปพิสดาร" เพื่อเอาชนะ     สำหรับผู้ชำนาญในการทำศึกนั้น ความสามารถในการใช้กำลังรูปพิสดารมีอยู่ไม่รู้จบรู้สิ้น (โน้ตดนตรี, แม่สี, รสอาหาร)       เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวพุ่งเข้าชนทำนบทะลายลง  นั่นก็เพราะมีพลังรวมของการเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (หมายถึง Momentum) นั่นเป็นเพราะ "จังหวะ"      ความหนักหน่วงในการเข้าตี เปรียบได้ดังหน้าไม้ที่ขึงตึงที่สุด จังหวะของเขาอยู่ที่การหน่วงไก     ความมีระเบียบและขาดระเบียบ ขึ้นอยู่กับ "การจัดรูปบริหาร"     ความกล้าหาญ และความขาดกลัว ขึ้นอยู่กับ "ภาวะแวดล้อม"     มีกำลัง หรืออ่อนแอ  ขึ้นอยู่กับ "ท่าทีของข้าศึก"      ผู้ที่ชำนาญในการทำศึกให้ข้าศึกต้องเคลื่อนที่ จึงปฏิบัติด้วยวิธี "สร้างสถานการณ์" ให้อำนวยประโยชน์แก่ตนเสียก่อน แล้วจึง "ลวง" ข้าศึกด้วยบางสิ่งบางอย่างที่คิดว่าข้าศึกพึงประสงค์  และคิดว่าจะทำให้มีความได้เปรียบ ขณะเดียวกันก็ "ซ่อนกำลัง" ไว้ขยี้ข้าศึก     ฉะนั้น "แม่ทัพผู้ชำนาญศึก จึงแสวงหาชัยชนะจากสถานการณ์" โดยไม่เรียกร้องชัยชนะจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา"  แม่ทัพเป็นผู้เลือกคน แล้วปล่อยมือให้คนของเขาหาประโยชน์เอาจากสถานการณ์ คนที่กล้าหาญ จะเข้าต่อสู้ ผู้ที่ไม่ประมาท จะคอยป้องกัน คนมีสติปัญญา  จะคอยให้คำปรึกษา  ไม่ทิ้งผู้มีความสามารถให้เปล่าประโยชน์   "วิธีจัดกำลังคน" นั้น    ให้ใช้คนโลภกับคนโง่   คนมีสติปัญญา ให้คู่กับคนที่กล้าหาญ  แล้วมอบหมายความรับผิดชอบให้แต่ละคู่ตามความเหมาะสม ของสถานการณ์ อย่ามอบหมายให้ใครทำงานที่เห็นว่าเขาทำไม่ได้  เลือกคนแล้วมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำตาม กำลังและความสามารถของคนนั้นๆ       "ผู้ที่ถือเอาสถานการณ์เป็นสำคัญ ย่อมใช้กำลังทหารเข้าสู้รบ เช่นเดียวกับการกลิ้งท่อนซุง หรือก้อนหิน ธรรมชาติของ ซุงและหินนั้น ถ้าแผ่นดินเรียบ มันก็หยุดนิ่ง  ถ้าแผ่นดินไม่ราบเรียบ มันก็กลิ้งง่าย  ถ้าซุง หรือหินเป็นรูปเหลี่ยม มันก็ไม่กลิ้ง ถ้ากลม ก็กลิ้งได้ง่าย"      ฉะนั้นความสามารถของกองทัพที่มีแม่ทัพเป็นผู้สามารถ จึงเปรียบได้ดังการผลักหินกลมให้กลิ้งลงจากภูเขาสูง  "เมื่อจะใช้ กำลังทหาร จะต้องถือเอาความได้เปรียบจากสถานการณ์ (ภาวการณ์)"  กำลังที่ใช้เพียงเล็กน้อย แต่ผลที่ได้รับนั้นมหาศาล     บรรพที่ ๖  ความอ่อนแอ และความเข้มแข็งซุนจู้กล่าวว่า...  "โดยทั่วไปนั้น ผู้ที่ตั้งค่ายในสนามรบได้ก่อน และคอยทีข้าศึกอยู่ ย่อมไม่เคร่งเครียด ผู้ที่มาถึงภายหลัง แล้วรีบเร่งเข้าทำการรบ ย่อมอิดโรย"  "ผู้ชำนาญการสงครามจึงชักจูงให้ข้าศึกเดินเข้ามาสู่สนามรบ  มิใช่ให้ข้าศึกนำตนเข้าสู่สนามรบ"   "เมื่อข้าศึกสบาย จงรังควานให้เกิดความอิดโรย เมื่ออิ่มท้อง ต้องทำให้หิว เมื่อหยุดพัก ทำให้เคลื่อนที่"    "ปรากฎตัวในที่ๆจะทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนอลหม่าน  เคลื่อนที่เข้าตีอย่างรวดเร็วในที่ๆข้าศึกไม่คาดคิดว่าท่านจะเข้าถึงได้"  "ท่านอาจเดินทัพได้ไกลพันลี้ โดยไม่อิดโรย เพราะเดินทางในเขตที่ไม่มีข้าศึก"  เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าตีจุดใด ย่อมยึดได้ที่นั้น จงเข้าตีจุดที่ข้าศึกขาดกันป้องกัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะป้องกันที่ตั้งไว้ได้ จงป้องกันพื้นที่ที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี  ฉะนั้น "สำหรับผู้ที่ชำนาญในการเข้าตี  ข้าศึกจะไม่รู้ว่าควรป้องกันที่ใด ส่วนผู้ที่ชำนาญในการป้องกันนั้น   ข้าศึกก็มิรู้ว่าจะเข้าตีที่ใด"   ผู้ที่รุกด้วยการทุ่มเทกำลังที่ไม่มีผู้ใดต้านทานได้ ลงตรงจุดอ่อนของข้าศึก ผู้ที่ถอยทัพโดยไม่ให้ผู้อื่นติดตามได้ จะกระทำอย่างรวดเร็วฉับพลันจนไม่มีผู้ใดไล่ได้ทัน มาดังลมพัด ไปดังสายฟ้า   "เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะเปิดการรบ"  แม้ข้าศึกจะมีกำแพงสูง และคูเมืองป้องกัน  ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงข้าพเจ้าได้  ข้าพเจ้าโจมตี ณ จุดที่ข้าศึกต้องการความช่วยเหลือ  "เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีกเลี่ยงการรบ"  ข้าพเจ้าอาจป้องกันตัวเองง่ายๆ ด้วยการขีดเส้นลงบนพื้นดิน  ข้าศึกก็ไม่อาจโจมตี ข้าพเจ้าได้  เพราะข้าพเจ้าจะเปลี่ยนมิให้ข้าศึกมุ่งไปยังที่เขาประสงค์จะไป      "ถ้าข้าพเจ้าจะสามารถคอยพิจารณาดูท่าทีของข้าศึก ขณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ช่อนเร้นท่าทีของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะสามารถรวมกำลัง โดยข้าศึกต้องแบ่งกำลัง  และถ้าข้าพเจ้ารวมกำลังได้ ขณะที่ข้าศึกแบ่งแยกกำลัง ข้าพเจ้าก็สามารถใช้กำลังทั้งหมดขยี้กำลังย่อยของข้าศึกได้ เพราะข้าพเจ้ามีจำนวนทหารมากกว่า ฉะนั้นเมื่อสามารถใช้กำลังเหนือกว่าโจมตีผู้มีกำลังด้อยกว่า ณ จุดที่ข้าพเจ้าเป็นผู้กำหนด ใครที่ต้องสู้กับข้าพเจ้าจะเหมือนดังอยู่ในช่องแคบอันเต็มไปด้วยอันตราย"    "ข้าพเจ้าจะต้องไม่ให้ข้าศึกรู้ว่า ข้าพเจ้าจะเปิดการรบ ณ ที่ใด  เมื่อไม่รู้ว่าข้าพเจ้าตั้งใจจะรบที่ใด  ข้าศึกก็ต้อง เตรียมตัวรับในที่ต่างๆกันหลายแห่ง    เมื่อข้าศึกต้องเตรียมรบในที่หลายแห่ง ณ จุดที่ข้าพเจ้าต้องการเปิดการรบ กำลังของข้าศึกจึงมีอยู่เพียงเล็กน้อย" จงพิจารณาที่แผนของข้าศึกเสียก่อน  แล้วท่านจึงรู้ว่าควรใช้แผนยุทธศาสตร์ใดจึงจะได้ผล      กวนข้าศึกให้ปั่นป่วน  แล้วดูรูปขบวนความเคลื่อนไหวของข้าศึกให้แน่ชัด   พิจารณาท่าทีของข้าศึก แล้ว "ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ (สมรภูมิ) ให้ถ่องแท้"   ตรวจสอบ และ "ศึกษาให้รู้ว่า กำลังของข้าศึกส่วนใดเข้มแข็ง และส่วนใดบอบบาง"    "สิ่งสำคัญในการวางรูปขบวนศึก อยู่ที่การไม่กำหนดรูปร่างให้แน่ชัด เพื่อมิให้สายลับของข้าศึกที่แอบแฝงอยู่อ่านรูปขบวนออก  ข้าศึกแม้จะมีสติปัญญาเพียงใด ก็ไม่สามารถวางแผนทำลายท่านได้" เมื่อข้าพเจ้าได้ชัยชนะครึ่งหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ยุทธวิธีนั้นซ้ำอีก แต่จะยึดถือเอาสภาวะแวดล้อมในลักษณะที่ผิดแปลกแตกต่างออกไปไม่รู้จบสิ้น ในการทำสงครามไม่มีภาวะใดคงที่     บรรพที่ ๗  การดำเนินกลยุทธ์ซุนจู้กล่าวว่า      ไม่มีอะไรยากไปกว่า ศิลปะในการดำเนินกลยุทธ์ ความยากลำบากของการดำเนินกลยุทธ์อยู่ที่การทำให้เส้นทางคดเคี้ยวเลี้ยวลด กลายเป็นทางตรงที่สุด  กลับโชคร้ายให้กลายเป็นความได้เปรียบ       ด้วยเหตุนี้ จงเดินทัพโดยทางอ้อม แล้วเปลี่ยนทิศทางของข้าศึกด้วยการวางเหยื่อล่อให้ข้าศึกเกิดความสนใจ ด้วยวิธีดังกล่าว ท่านอาจเคลื่อนขบวนข้าศึกทีหลัง แต่ถึงที่หมายก่อนข้าศึก      ผู้ที่สามารถปฏิบัติเช่นนี้ได้ ย่อมเข้าใจ "ยุทธวิธีแบบทางตรง และทางอ้อม"   ทั้งความได้เปรียบ และอันตราย เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้กลยุทธ์      ผู้ที่เคลื่อนทัพขบวน เพื่อหาความได้เปรียบ จะไม่มีวันรับความได้เปรียบ      ถ้าเขาทิ้งค่าย เพื่อแสวงหาความได้เปรียบ  สัมภาระจะเกิดความเสียหาย      สิ่งที่ตามมา คือ เมื่อเก็บเกราะ แล้วเดินทางด้วยความรีบเร่งเกินไป  ผลที่ตามมา กองทัพจะขาดอาวุธยุทโธปกรณ์หนัก เสบียงอาหาร และสัมภาระอื่นๆจะสูญเสีย       ผู้ที่ไม่รู้จักสภาพป่า ที่รกอันเต็มไปด้วยอันตราย พื้นที่ชื้นแฉะ และพื้นที่ของป่าชายเลน จะไม่สามารถนำทัพเดินทางได้      ผู้ที่ไม่รู้จักมัคคุเทศก์พื้นเมือง จะไม่อาจแสวงหาความได้เปรียบได้จากพื้นที่  รากฐานของการทำสงคราม คือ กลอุบาย  เคลื่อนที่เมื่อมีทางได้เปรียบ  แล้วสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยแยกกำลัง และรวมกำลัง  เมื่อลงมือเข้าตี ต้องรวดเร็วราวลมพัด      เมื่อเดินทัพ ให้มีความสง่าดังป่าไม้  เมื่อบุกทลวง ก็ให้เหมือนดังไฟไหม้        เมื่อหยุดยืน ก็ให้มั่นคงดังขุนเขา มิให้ผู้ใดหยั่งเชิงได้ดั่งเมฆ เมื่อเคลื่อนที่ ก็รวดเร็วดังสายฟ้าฟาด    เมื่อรุกเข้าไปในชนบท แบ่งกำลังออก เมื่อยึดดินแดนได้ให้แบ่งปันผลกำไร ชั่งน้ำหนักของสถานการณ์เสียก่อน แล้วจึงเคลื่อนทัพ
หมายเลขบันทึก: 49452เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท