“ยิ้มกระจายสุข”


“ยิ้มกระจายสุข”

“ยิ้มกระจายสุข”
ย้อนไปไม่กี่เดือน ใครจะรู้…เรื่องเล็กๆที่เราทำ วันนี้มันสร้างความสุขมหาศาลเป็นความสุขที่ทำให้เรายิ้มตลอดวัน เป็นทั้งการยิ้มที่ออกจากริมฝีปาก ยิ้มออกจากใจ และยิ้มออกไปเพราะคือคำอธิบายความรู้สึก ย้อนไปช่วงเดือน มกราคม ทีมงาน “กระจายสุข”เคยนำเสนอเรื่องราวของ “โครงงานถ่านไฟเก่า” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม “โครงการวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า” ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้การสนับสนุน ผ่านทางหน้า Blog ที่อยู่http://www.gotoknow.org/blogs/posts/473441

ผ่านไปไม่นานใครจะรู้ว่าเรื่องราวเศษซากพืชและขยะเหลือใช้ ที่ถูกนำมาสร้างประโยชน์ใหม่นี้ได้รับความนิยมจากผู้สนใจอย่างมาก ทั้งจากยอดจำนวนผู้เข้าชม และการกดแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน นอกจากส่งเสียงทักทายเยี่ยมเยียน ทีมงาน “กระจายสุข” โทรไปสอบถาม อ.พยุงศรี ทองคำกูล อาจารย์วิชาสุขศึกษาในโรงเรียนโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเด็กพิเศษ (เด็กออทิสติก - เด็กปัญญา) ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการก็ได้ความว่า “หลังจากเปิดหน้าเว็ปไซท์ให้ ด.ช.อภิรัตน์ ใจมัง (น้องเอ็ม) เจ้าของโครงงานดังกล่าวดู ก็พบว่าน้องเอ็มมีอาการดีใจและหัวเราะที่ได้เห็นหน้าตนเองอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงได้ขออนุญาตอาจารย์จด ชื่อเว็ปไซท์ โดยบอกว่าจะนำไปเปิดให้คุณแม่ดู” หวังจะอวดคุณแม่ถึงผลงานของตัว และการเผยแพร่ผ่านสื่อที่มีจำนวนยอดคลิ๊กกว่าพันครั้งในรอบไม่กี่เดือน รวมถึงคำบอกเล่าถึงเกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์ดีๆใช้ได้จริงเป็นใครคงประทับใจทั้งนั้น

ส่วนคุณแม่ “นงลักษณ์ ใจมัง” เมื่อได้รับฟังเรื่องราวครบถ้วนแล้ว ถึงกับมีน้ำเสียงสั่นเครือ ตื้นตัน ด้วยเพราะ “น้องเอ็ม”แม้กายภาพจะไม่อำนวยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ หากแต่มีความสามารถ และความมุมานะไม่แพ้ใคร โดย “เธอ”บอกว่า แม้จะยังไม่ได้เห็นหน้าเว็ปไซท์ แต่แค่ได้ฟังก็รู้สึกดีใจมาก ทั้งนี้ครอบครัวทำสวนลำใย แต่ก็มีการปลูกผักไว้รับประทานกันเองในครอบครัวด้วย เวลาน้องเอ็มอยู่บ้านจะชอบช่วยงานเช่นการปลูกมะเขือยาว ช่วยทำสวนผักกาด เป็นต้น ตนจำได้แม่นว่า “โครงงานถ่านไฟเก่า” ลูกเอาวัตถุดิบตระไคร้และใบมะกรูด จากหลังบ้านไป

“มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเอ็มกลับมาถึงบ้านก็รีบนำเงินรางวัลมาให้ และบอกว่าได้รับรางวัลชนะเลิศดาวทอง จากการเข้าร่วมประกวดกิจกรรมโครงการโครงงาน (เชิง) วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ถึงแม้จะไม่ค่อยเข้าใจนักว่าเป็นรางวัลอะไรแต่ก็ภูมิใจที่ลูกมีความสุขและสามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ กับเด็กทั่วไปได้ ดังนั้นทุกครั้งที่โรงเรียนมีจดหมายมาขออนุญาตพาน้องไปทำกิจกรรมจึงไม่เคยห้ามเพราะรู้ว่าเขาดูแลตัวเองได้”คุณแม่พูดถึงลูก

 

ส่วนในมุมของกระแสตอบรับ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความเห็นอื่นๆนั้น อยากแนะนำให้ดูเอาเองจากหน้าเพจของ “กระจายสุข” เพื่อจะรู้คำตอบ เพราะใครจะรู้ว่า…เสียงชื่นชม มิตรภาพ แรงบันดาลใจ กระทั่งคำวิจารณ์จากนี้และที่ผ่านมา ทำให้คนตัวเล็กๆอย่างพวกเรายิ้มกว้างแบบไม่ต้องอายใคร

หมายเลขบันทึก: 494483เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท