การบริหารธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมทางพุทธศาสนา


             การบริหารธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และหลักธรรมทางพุทธศาสนา

         เป้าหมายในการทำธุรกิจของคนส่วนใหญ่ คือ การทำกำไรสูงสุด หรือ ความสำเร็จ แต่สิ่งเหล่านี้ คือ เป้าหมายที่แท้จริงแน่หรือ บ่อยครั้งที่เราเห็นว่า “คนที่ประสบความสำเร็จมักไม่มีความสุข คนที่มีความสุขมักไม่ประสบความสำเร็จ” จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าความสำเร็จจะมาพร้อมกับความสุข วิธีที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จและความสุข คือ ปรัชญาแห่งการพัฒนาอย่างสมดุล ตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
3 ห่วง ประกอบด้วย           
           - ความพอประมาณ   หมายถึง  ความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไป  และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น            
           - ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง   ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ           
           - มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล        
          2 เงื่อนไข ประกอบด้วย          
          - เงื่อนไขความรู้   ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน   ความรอบคอบ   ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน   เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขึ้นปฏิบัติ      
          - เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตะหนักในคุณธรรม   มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความอดทน  มีความเพียร   ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ  และไม่ตระหนี่
สรรพสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่พร้อมกับเจริญยั่งยืนไปได้ เพราะ มีความสมดุลในตัวเอง
          อะไรที่สมดุลจะมั่นคง เมื่อมั่นคงพอเวลาผ่านไปก็จะยั่งยืน แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มักพัฒนาอย่างไม่สมดุล เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “เงิน” คิดถึงแต่ผลกำไรมากเกินไป ยิ่งได้กำไรมาก ก็ยิ่งต้องการกำไรมากขึ้นไปอีก โดยลืมคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือ ความสุข ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากความ “พอดี” เพราะ เมื่อคนเรารู้จักพอดี ก็จะรู้สึก “พอใจ” หาก พอใจ ได้ ก็จะมีความสุขได้ อีกทั้งยังเหลือทรัพยากรไปช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งก่อให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้นอีกทางจาก “การให้” หรือ “การทำประโยชน์ให้ผู้อื่น”
ความสมดุล คือ รากฐานชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เหมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับโครงสร้างอาคาร บ้านจะมั่นคงได้อยู่ที่เสาเข็มการทำธุรกิจก็เช่นกัน หากมองที่กำไรอย่างเดียวเป็นสิ่งอันตราย รมี

ความสมดุลในการทำธุรกิจ 4 มิติ ได้แก่

      1.พึ่งพาตัวเองให้ได้ ไม่ใช่พึ่งคนอื่น หรือ ต่างประเทศ
      2.ปรับตัวแข่งขันในกระแสความเปลี่ยนแปลงการสร้างนวัตกรรม การสร้างแบรนด์ การพัฒนาสินค้า
      3.กลับไปเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่น ทุกสิ่งในโลกนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้แต่ขึ้นอยู่กับเครื่องมือควบคุมความรู้ คือ คุณธรรม คนเก่งที่อยู่ในองค์กรจึงต้องมีคุณธรรมควบคู่กับความรู
      4.แบ่งบันให้ใครได้บ้าง การแบ่งปันนี้ไม่จำกัดเพียงทรัพย์สินเงินทอง แต่รวมถึงความรักและความรู้
         การเป็นผู้ประกอบการ คือ การเป็นผู้นำที่ดี คือ ผู้นำที่ให้ความรัก แล้วผู้คนรักตอบ ดังเช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงขึ้นครองราชย์ ท่านตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ใช้คำว่า “ปกครอง” ซึ่งหมายถึงการใช้อำนาจ แต่พระองค์ทรงใช้คำว่า “ครอง” ซึ่งเป็นการใช้ความรัก คุณสมบัติของผู้นำที่ดีควรยึดหลักตาม ทศพิธราชธรรม 10 หรือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม
คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในการดูแลบริหารองค์กร ดังนี้
     1.ทาน (ทานํ) : ผู้ให้ การให้ทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียวไม่พอ ยังไม่อาจซื้อใจคนได้ เพราะ หากมีใครให้เขามากกว่าเขาก็พร้อมจะไป ผู้นำต้องให้ 4 ด้านอย่างสมดุลตามหลัก สังคหวัตถุ 4 คือ
   - ทาน การให้วัตถุสิ่งของ
   - ปิยวาจา การพูดจาดี ผู้ใต้บังคับบัญชาชอบคำชื่นชม คำแนะนำ
   - อัตถจริยา การใช้ประสบการณ์ กำลังกายเข้าไปช่วย เช่น การช่วยเหลือยามน้ำท่วม
   - สมานัตจตา การร่วมสุขร่วมทุกข์กับผู้อื่นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
   2. ศีล (ศีลํ) : หมายถึง ความปกติ ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างปกติ หากผู้นำไม่มีศีล ลูกน้องก็ไม่เชื่อมั่น
   3. บริจาค (ปริจาคํ) : การเสียสละเพื่อส่วนรวม เสียสละความสุขส่วนตัว
   4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) : ความเป็นผู้ตรงต่อตนเองและคนอื่นอย่างจริงใจ พูดคำไหนคำนั้น
   5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) : ความเป็นผู้อ่อนโยนดั่งรวงข้าวที่เมล็ดข้าวพันธุ์ดีสุด ย่อมโค้งตัวลงต่ำสุด
   6. ความเพียร (ตปํ) : มีความเพียร อุตสาหะ ไม่ย่อท้อต่อปัญหา
   7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) : เวลาทำงาน ยิ่งเกี่ยวข้องกับคนเยอะๆ ยิ่งมีปัญหาให้โกรธมากขึ้น ความโกรธ
      ทำให้ร้อนใจ เผาตัวเองก่อน คนอื่นไม่รับรู้ด้วยมีแต่คนโกรธที่เป็นทุกข์
   8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) : จากการกระทำและทางคำพูด ผู้นำต้องคิดทุกคำที่พูด แต่ไม่จำเป็น
      ต้องพูดทุกอย่างที่คิด เพราะ คำพูดจะกลายเป็นนายของเรา
   9. ความอดทน (ขันติ) : ความอดทนจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
  10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) : วางตนเป็นหลัก หนักแน่นในธรรม จะทำอะไรต้องยึดหลักความถูกต้อง

หลักเศรษฐีในอุดมคติ
   1.
.jpg
อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่เป็นทางสู่ความสำเร็จ ได้แก่
- ฉันทะ : ความรัก ความสุข ความพอใจในสิ่งที่ทำ เวลาทำธุรกิจให้เลือกในสิ่งที่ชอบและถนัด 
- วิริยะ: ความหมั่นเพียร เมื่อมีใจรักในสิ่งที่ทำ ความหมั่นเพียรก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ
- จิตตะ: ความจดจ่อ เมื่อใจรักที่จะทำและทำด้วยความหมั่นเพียร จิตใจก็จะจดจ่อ มีสมาธิ 
 
- วิมังสา: หมั่นทบทวน เพื่อแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ผิด

    2.
.jpg
   ความสันโดษ คือ การพอใจในสิ่งที่มี ยินดีกับสิ่งที่ได้ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอดีในชีวิต

  3.
.jpg                                       
  การบริหารสู่ความยั่งยืน

             ต้องมี สมดุล 3 มิติ หรือ Triple bottom line( 3p) : Profit, People ,Planet ต้องเชื่อมโยงประสานกัน

 
.jpgเป้าหมายขององค์กร
การแบ่งปันต่อผู้อื่น โดยยึดหลัก “พึ่งพาตนเอง ปรับตัวแข่งขันได้ กลับไปเป็นที่พึ่งให้คนอื่น”
- พึ่งพาตนเอง>> สร้างBrandของตนเอง ไม่ต้องพึ่งBrandของคนอื่น
- ปรับตัวแข่งขันได้>> รู้จักปรับตัว สร้างนวัตกรรมที่แตกต่าง ตอบสนองกับชีวิตความต้องการของลูกค้า สร้างภูมิคุ้มกันเมื่อเริ่มขยายธุรกิจส่งออก โดยทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ประกันภัย จดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์
- เป็นที่พึ่งและแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น>> ดูแลใส่ใจพนักงานเสมือนคนในครอบครัว และมีกิจกรรมทำดีต่างๆเพื่อสังคม
เอกสารอ้างอิง
References
http://www.moralcenter.or.th
http://www.moralcenter.or.th
http://news.sanook.com
http://www.nationejobs.com
http://www.oknation.net/blog/suchai/2009/05/15
http://www.trueplookpanya.com

หมายเลขบันทึก: 494418เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท