อำนาจแห่งนวัตกรรม


เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญกับความเสี่ยง หลายองค์กรจึงตัดสินใจที่จะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางนวัตกรรม ถึงแม้รู้ว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีก็ตาม  การกระทำเช่นนี้ไม่ส่งผลดีนักต่อองค์กรโดยเฉพาะในสภาวะที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะหากองค์กรต้องการที่จะอยู่รอด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

จากการศึกษาอัตราการอยู่รอดของบริษัทขนาดใหญ่ของ Foster และ Kaplan พบว่าตั้งแต่ปี 1857 ถึงปี 1997 จากบริษัท 500 บริษัทใหญ่ที่อยู่ในการจัดอันดับของ   Standard and poor 500 นั้นจะมีเพียง 74 บริษัทเท่านั้นที่ยังคงอยู่รอดได้ เช่น General Electric และเป็นที่ชัดเจนว่า บริษัทขนาดใหญ่ที่เข็มแข็งอย่าง IBM, GM หรือ KODAK สามารถแสดงถึงศักยภาพที่เหนือกว่าบริษัทขนาดเล็กที่มักไม่เห็นความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเลย

บางบริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพื่อที่จะต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในธุรกิจต่อไป อีกทั้งก็มีหลายบริษัทที่เริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมหนึ่งและได้มีการปรับตัวเรื่อยมาจนสามารถเติบโตในอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงได้ เช่น บริษัทโนเกียที่แต่เดิมเริ่มก่อตั้งดำเนินธุรกิจไม้และกระดาษ ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการผันตัวเข้าสู่ธุรกิจการผลิตกระดาษ พัฒนาเข้าสู่ยุคสำนักงานไร้กระดาษ “Paperless Office”  ในธุรกิจ   IT จนปัจจุบันนี้โนเกียเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่รายสำคัญของโลก


  นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในทศวรรษนี้เห็นจะหนีไม่พ้นอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบันเทิงอย่างมากโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเพลง  แต่ก่อนผลกระทบยังถูกตีกรอบอยู่ที่การจัดจำหน่าย CD ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเช่น ผ่านทาง  www.amazon.com  นวัตกรรมได้เพิ่มทางเลือกและช่องทางการให้บริการการจัดจำหน่ายเพลงในรูปแบบต่างๆ 

ด้วยเหตุที่ไฟล์  MP3 สามารถส่งในอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อทำการแปลงไฟล์จากออดิโอไฟล์เป็นไฟล์ MP3 รวมทั้งการแปลงไฟล์ MP3 กลับเป็นออดิโอไฟล์เป็นจำนวนมาก 
                นอกจากนี้ที่สำคัญคือทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเพลงหากแต่เป็นการเข้ามาเล่นของผู้ดำเนินธุรกิจคอมพิวเตอร์เช่น I-Pod ของ Apple ที่เป็นเครื่องเล่น MP 3 ที่มีการดาวน์โหลดในราคาเพลงละ 99 เซนต์เท่านั้นผ่าน Application iTune โดยในสัปดาห์แรกที่วางตลาดประมาณกลางปี 2003 สามารถสร้างรายได้จากการดาวน์โหลดเพลงกว่า 1 ล้านครั้งและจนทุกวันนี้มีการดาวน์โหลดแล้วกว่า 50 ล้านครั้ง
                จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับการที่มีสายตาที่กว้างไกลมองเห็นแนวทางในการวางกลยุทธ์โดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจความรู้

เรื่องที่สำคัญในการบริหารนวัตกรรมคือการพยายามที่จะระบุถึง “Best practice” แต่จากการศึกษาพบว่าบริษัทส่วนใหญ่นั้นจะใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้และบริหารนวัตกรรมเช่น การเรียนรู้การบริหารเทคโนโลยีนั้นส่วนใหญ่จะได้มาจากประสบการณ์ของบริษัทของสหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีระดับสูง

ขณะที่กฎต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นจะมีพื้นฐานอยู่บนการค้นคว้าวิจัยตามแบบแผนของบริษัทผู้ผลิตของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะไม่มีแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่เรียกว่า  Best practice ในการบริหารนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยเหตุที่แต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันทั้งเรื่องเทคโนโลยี โอกาสทางการตลาด และรูปแบบการบริหารของแต่ละองค์กร

แน่นอน ที่ถึงแม้จะมีความล้มเหลวเกิดขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง สำหรับองค์กรส่วนใหญ่จะถือว่าความล้มเหลวนั้นเป็นบทเรียน จะมีการกลับไปศึกษาถึงเหตุของความล้มเหลวนั้น เช่นศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1970 Xerox เป็นผู้นำสำคัญในอุตสาหกรรการทำสำเนาเอกสาร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (radical technology) ที่คิดค้นโดยนาย Chester Carlsen และ สถาบัน Battelle Institute ถึงแม้ Xerox จะมี Core Technology ที่สำคัญและมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีนั้นๆ แต่ก็พบว่า Xerox  กำลังถูกแทรกแซงจากบริษัทญี่ปุ่น

ถึงแม้ว่า Xerox จะมีประสบการณ์มากในอุตสาหกรรมนี้และมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน Core technology ของตัวเอง ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 8 ปี ที่ Xerox ชะล่าใจไม่ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้มีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งประสบความล้มเหลว โดยส่วนแบ่งทางการตลาดหายไปกว่าครึ่ง และยังต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอีกด้วย

เช่นเดียวกันในปี 1950 บริษัท RCA ผู้นำอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ผู้พัฒนาวิทยุแบบพกพาที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน แต่ RCA ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนาในเทคโนโลยีพื้นฐานนี้ แต่กลับมุ่งไปที่การ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับ Sony ที่ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอุปกรณ์ที่พกพาได้ ซึ่งสามารถสร้างตลาดและเข้าถึงความต้องการลูกค้าได้ ทำให้ Sony ประสบความสำเร็จในการแข่งขันในตลาดนี้

การเกิดขึ้นของนวัตกรรมย่อมต้องมีความเสี่ยงควบคู่ไปด้วยจากความไม่แน่นอนของนวัตกรรม การพัฒนาทางเทคนิค การตลาด สังคม การเมือง และปัจจัยอื่น ๆ กับผลลัพธ์ที่ได้มาถึงแม้ว่ามันจะล้มเหลวก็ตาม แม้กระทั่งบริษัทที่มีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยมก็ยังผิดพลาดได้ เช่น ความสำเร็จของ 3 M’s เจ้าของ Post-it  ซึ่งในอดีตก็ประสบปัญหามากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าความล้มเหลวเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลย

นวัตกรรม เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทั้ง ความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีขององค์กร ตัวขององค์กรเอง หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ โอกาสและอุปสรรคทางเทคโนโลยี ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งยากที่จะทำความเข้าใจหรือเลือกใช้กลยุทธ์ทางนวัตกรรมที่เหมาะสม ทำให้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในท้ายที่สุด ก็เป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาด้วยเช่นกัน

ดังนั้นมันจึงไม่มีเครื่องมือหรือสูตรสำเร็จใดๆ ในการบริหาร จัดการที่จะสามารถรับประกันความสำเร็จให้กับองค์กรได้  ในทุกๆ สถานการณ์จำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์และการวิเคราะห์เป็นอย่างมาก
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49418เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งดเหล้ามั้งนะโว้ยใกล้สอนแล้ว

5555555555

 

งดเที่ยวบ้างนะ ต่อจากข้อความข้างบนอะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท