บันทึกการเรียน 05/07/2555


บันทึกการเรียน 05/07/2555

The Biosphere and Animal Distribution
ชีวมณฑลและการกระจายตัวของสัตว์

-น้ำมีคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญในการดำรงชีวิตบนแผ่นดินโลก
-รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยแสงอาทิตย์ในการดำรงชีวิต
-มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
Earth Environment
-มีเทน และแอมโมเนีย เริ่มลดลงในบรรยากาศ
-ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศเริ่มมีมากขึ้น
-สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวและเริ่มมีวิวัฒนาการ
Biosphere
- Lithosphere  บนบกดิน  น้ำแข็ง
-
Hydrosphere ในน้ำ
-
Atmosphere ในอากาศ
Greenhouse Effect
"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน

Biomes
 (Biome – ชีวนิเวศ) หมายถึงบริเวณที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นได้ทั้งสภาพแวดล้อมบนบกและในน้ำ การแบ่งประเภทของไบโอมจะดูได้จาก พืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนั้น บริเวณนั้นได้รับแสงแดดมากน้อยขนาดไหน รวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ยหรือสภาพภูมิอากาศของบริเวณดังกล่าว
-  ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rainforest)  , ทุ่งทุนดร้า (Tundra) , ทุ่งหญ้า (Grassland)  เป็นต้น
Aquatic Biomes
Inland Waters
-น้ำจืดส่วนใหญ่บนโลกเป็นน้ำแข็ง
-น้ำส่วนใหญ่บนโลกเป็นน้ำเค็ม
-Lotic บริเวณน้ำไหล ออกซิเจนมาก
-Lentic  บริเวณน้ำนิ่ง ออกซิเจนน้อย
-Oligotrophic lakes  สมบูรณ์น้อย ออกซิเจนมาก
-Eutrophic
lakes  สมบูรณ์มาก ออกซิเจนน้อย
     ...
eutrophication  เช่น ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ_ปรากฏการณ์บูม
-Streams and rivers   ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสี
Wetlands
-พื้นที่ที่มีน้ำขังในช่วงที่มีน้ำหลาก ในช่วงหน้าน้ำ
-พื้นที่ชุ่มน้ำ
-เช่น บึงบอระเพ็ด   ห้วย หนอง คลอง บึง ลำธาร
Estuaries
-พื้นที่บริเวณน้ำกร่อย
Aquatic Biomes
-Rocky Intertidal Zone
-Rocky Subtidal Zone
        ... Kelp forests
        ... Coral reefs

หมายเลขบันทึก: 493683เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในประเทศไทยมีป่าไม้กี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้างครับ และอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ครับ

  ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน
สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

     1.  ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ  (Evergreen)  
     2.  ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous) 
   ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen) 

ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภท ที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท นี้ ได้แก่

     1.  ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)

ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก
ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น
ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมากๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา
ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้

      1.1  ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)  ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ  เช่น  ยางนา  ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ  พวกไม้กอ  เช่น  กอน้ำ  กอเดือย
    1.2  ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ 
      1.3  ป่าดิบเขา (Hill  Evergreen Forest)  ไม้ส่วนมากเป็นพวก  Gymonosperm  ได้แก่  พวกไม้ขุนและสนสามพันปี  นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่  พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา ได้แก่  เป้ง  สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
        2.  ป่าสนเขา (Pine Forest) 

ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

     3.  ป่าชายเลน (Mangrove Forest) 

บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วม พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น

      4.  ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest) 
      5.  ป่าชายหาด (Beach Forest) 
      ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่

      1.  ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)

ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น

      2.  ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)

หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ

      3.  ป่าหญ้า (Savannas Forest)

ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือ ติ้วและแต้ว

       ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าไม้น่าจะมาจาก การกระจายของฝน  ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน  รวมถึงแสงสว่าง (Light)  อุณหภูมิ (Temperature)  สภาพภูมิอากาศ (Climate)  สภาพภูมิประเทศ (Site)  สภาพของดิน (Soil)   และสิ่งมีชีวิต (Creature) ด้วยค่ะ  ดั่งแนวพระราชดำริในการ อนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม คือ 

เมื่อมีป่าก็จะมีน้ำ มีดินอันอุดม มีความชุ่มชื้นของอากาศ และเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของคน …ค่ะ...^

ที่มา : http://www.prdnorth.in.th/The_King/king_forest_02.php

       http://www.108wood.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=578655&Ntype=6

ที่มารูปภาพ : http://www.siamfreestyle.com/travel-tip/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท