การศึกษาไทยในยุคใหม่ ทำไม?...จึงนิยมใช้ e-book


การศึกษาไทยในยุคใหม่ ทำไม?...จึงนิยมใช้  e-book

              มาลินี  พุ่มมาลัย 

   นิสิตปริญญาโทชั้นปีที่ 2

  สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

          ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาในไทยทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา เพราะเป็นสิ่งจำเป็น การเรียนการสอนของไทยในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไป ค่อนข้างมาก นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนด้วยกันทั้งสิ้น เทคโนโลยีหนึ่งที่ถูกนามาใช้ในการเรียนการสอนของไทยในยุคปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะนาไปใช้ในอนาคตอย่างแพร่หลายด้วย นั่นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e -book)

          ผู้เขียนขอนำเสนอความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e -book)

 

           ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์  (2542: 20) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้ง ข้อความ  ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ผ่านคอมพิวเตอร์โดยการเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์ของเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออยู่ในแฟ้มเข้าด้วยกันโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใด หากเป็นการเชื่อมโยงข้อความที่เป็น ตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) และถ้าหากข้อมูลนั้นรวมถึงเสียงและภาพเคลื่อนไหวด้วยก็เรียกว่า สื่อประสมไฮเปอร์มีเดีย(hypermedia).การพัฒนาสื่อการสอน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/472834

           จากความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิมมาอยู่ในรูปดิจิตอลเนื้อหาสาระมีหลายมิติสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ ทั้งจากข้อมูลภายในและจากเครือข่ายมีการจัดเก็บและเผยแพร่โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

          e-book ที่จะอ่านได้และคาดว่าจะเป็นที่นิยมบนอุปกรณ์เหล่านี้ เท่าที่เห็นอาจจะมีราวๆ สามกลุ่ม ดังนี้

 

ปก "The Innovation secret of Steve Jobs"

ฉบับ e-book บน iPad ยังเป็นตัวหนังสือล้วนๆ เหมือนฉบับจริง

          กลุ่มแรก คือพวกที่มีตัวหนังสือและภาพนิ่งล้วนๆ อย่างที่ Amazon ขายอยู่บน Kindle store, Apple ขายอยู่ใน iBookstore ไม่ว่าจะเป็นภาพสีหรือขาวดำก็ตาม กลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการจำลองแบบจากหนังสือเล่มที่เป็นฉบับพิมพ์จริงมาโดยตรงหน้าต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย วรรณกรรม สารคดี วิชาการ บริหารธุรกิจ ฯลฯ

          โดยทั่วไปการแปลงหนังสือกลุ่มนี้เป็น e-book จะมีการเพิ่มความสามารถปรับขนาดฟอนต์ในการแสดงผลให้ใหญ่- เล็กตามหน้าจอหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้ แต่บางทีถ้าเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบที่วางแบบสวยงาม ชิดซ้าย ชิดขวา หรือวางข้อความล้อมรูป การปรับฟอนต์ก็พาลทำให้หน้าที่จัดเลย์เอาท์ไว้ดีๆ รวนไปเสียจนอ่านไม่รู้เรื่องก็มี อันนี้นับเป็นข้อจำกัดอันหนึ่งในการแปลงไฟล์ที่จัดหน้าแบบหนังสือให้กลายเป็น e-book ซึ่งไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ต้องจัดการกันอย่างพิถีพิถันหน่อย

          กลุ่มที่สอง คือพวกที่เพิ่มมัลติมีเดีย วิดีโอ เสียงประกอบ ฯลฯ เข้าไป เช่นบางภาพแทนที่จะดูภาพนิ่งก็กลายเป็นวิดีโอแทน มีเสียงบรรยายประกอบบางช่วง มีดนตรีประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศในการอ่าน ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนิยาย (ที่อาจจะต้องสร้างบางฉากเป็นหนังสั้นแบบมิวสิควิดีโอหรือ mv) หรือสารคดีที่ผสมกันระหว่างคำบรรยายกับภาพและเสียง

 

 หนังสือนำเที่ยวเชียงใหม่ (ซ้าย) VS แอพพลิเคชั่นนำเที่ยวเชียงใหม่   บน iPhone (ขวา) พัฒนาโดยโปรวิชั่น หนังสือดูเพิ่มที่ www.provision.co.th

          กลุ่มที่สาม อาจจะเรียกว่ามีพัฒนาการขึ้นไปอีกขั้น จนไม่แน่ใจว่ายังควรจะเรียกว่า e-book, application หรือ game กันแน่ คือกลุ่มที่เพิ่มเอฟเฟ็คต์และความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อ่านเข้าไปด้วย เช่นหนังสือนิยายผจญภัยประเภทที่ให้ผู้อ่านเลือกฉากที่จะเล่น (อ่าน) เองได้ หนังสือท่องเที่ยวที่มีแผนที่และข้อมูลสถานที่ต่างๆ สัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ เป็นต้น

          ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้นั้นครูผู้สอนต้องเป็นครูยุคใหม่ ต้องเลือกสรรและใช้รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย หมั่นศึกษาเรียนรู้สื่อใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางและทันสมัย รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ไขปัญหาและมีทักษะในเชิงปฏิบัติ มีการสร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น และกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งหลายคนทราบดีว่าธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัยหรือประถมศึกษานั้นชอบ "เล่น" การจัดการเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกับความต้องการและวัยของผู้เรียน เมื่อเด็กชอบเล่นครูควรใช้ "การเล่น" มาเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ โดยครูต้องมีวัสดุอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วม เพื่อสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ สื่อที่ใช้ต้องสามารถเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของเด็กในเรื่องที่จะเรียนเมื่อ เด็กเกิดความสนใจก็จะเกิดความพยายามเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ แล้ว การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการร่วมกิจกรรมและลงมือปฏิบัติถือเป็นวิธีการที่ ดีที่จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้ติดตัวที่คงทนและยั่งยืน

          การศึกษาไทยในยุคใหม่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e -book)   เป็นหนทางหนึ่งของการพัฒนาคน ปัจจุบัน e-book เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนสามารถอ่านหนังสือได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น ซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ หาก e-book ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน หรือแวดวงการศึกษาไทย ได้แล้ว สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book ก็คงไม่ได้รับความนิยมจนถึงเวลาปัจจุบันนี้ เหตุผลที่สถานศึกษาไทยหรือแวดวงการศึกษาไทยนิยมใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book  นั่นคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bok มีส่วนช่วยสนับสนุน การศึกษาตลอดชีวิตของคนไทยได้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 มาตรา ๖๖ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนตรง กันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งยากที่เป็นนามธรรมได้ง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะสิ่งสำคัญของ E-book . ช่วยให้สามารถย้อนกลับมาอ่านได้และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลา-สถานที่ที่ตนเองสะดวก  การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี  สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา เข้าถึงและใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ อย่างทั่วถึง มีความเสมอภาคและมีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกัน ที่สำคัญจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะนา พา ไปสู่การสร้างสังคมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต” สังคมโลกหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการปรับการ เรียนการสอน มีการวางแผนยุทธศาสตร์ห้องเรียนแห่งอนาคตในทศวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นระบบห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบ สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทาง ระบบอินเทอร์เน็ต ที่มีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สูงขึ้น
            e-book ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลไกสำคัญอีกระบบหนึ่งที่มีคุณลักษณะในการสนับสนุน ส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างอิสระ ช่วยให้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายได้อย่าง รวดเร็วและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย ซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ หาก e-book ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน หรือแวดวงการศึกษาไทย ได้แล้ว บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book ก็คงไม่ได้รับความนิยมจนถึงเวลาปัจจุบันนี้

                              ---------------------------------- 

แหล่งอ้างอิง

เอกสารออนไลน์

 

ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์  (2542: 20) 

สืบค้นข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/472834

 

พระราชบัญญัติการศึกษา 2542 มาตรา ๖๖

สืบค้นข้อมูลจาก

http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/Nlaw/N1188/m43-69.html

 

e-book กับจุดจบของสิ่งพิมพ์แบบที่คุณเคยรู้จัก

สืบค้นข้อมูลจาก

http://www.thaiebook.info/business/e-book

 

เว็บไซต์ (Website)

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/472834

http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/Nlaw/N1188/m43-69.html

http://www.thaiebook.info/business/e-book

www.provision.co.th

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-book
หมายเลขบันทึก: 493357เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำหรับพี่ e-book ....น่าจะมาแรงมากครับ... แต่พี่ยังชอบ...อ่านหนังสือที่เป็นเล่ม...ได้สัมผัสอย่างลึกๆ กับตัวอักษร และบางครั้งเหมือนหลุดเข้าไปในหนังสือ....และสามารถพกไปได้ทุกที่...อันปลั๊ก... บันทึกน้องข้อมูลแน่น และได้ความรู้มากครับ...เขียนเรื่อยๆ นะครับ...จะมารออ่านครับ

ขอขอบคุณความเห็นของคุณทิมดาบมากค่ะ ที่ให้ทั้งคำชม และกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท