Chanaporn
นางสาว ชนันพร เรียวเรืองแสงกุล

วิธีการเล่นบริดจ์แบบคร่าวๆ


วิธีการเล่นบริดจ์

วิธีการเล่นไพ่บริดจ์ (Bridge)

Encheres bridge How to play : ไพ่บริดจ์ (Bridge)

ผู้เล่นจะต้องจัดเตรียมไพ่ 1 สำรับ ประกอบด้วยไพ่ 52 ใบ แบ่งออกเป็นไพ่ประเภท โพดำ (spade), โพแดง (heart), ข้าวหลามตัด (diamond), ดอกจิก (club) เรียงลำดับจากความใหญ่ไปเล็กของประเภทไพ่อย่างละ 13 ใบตั้งแต่ 2 – 9, Jack, Queen, King, Ace ซึ่งผู้เล่นจะได้รับไพ่คนละ 13 ใบ และจำเป็นต้องเล่นครั้งละ 4 คนเสมอในลักษณะหันหน้าเข้าหากันในโต๊ะ เรียกว่า 1 บอร์ด โดยมากแล้วไพ่สำหรับการเล่นบริดจ์จะเป็นไพ่ที่มีขนาดเล็กกว่าไพ่ปกติ

นอกจากนี้ผู้เล่นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการเรียกประมูลไพ่ก่อนที่จะเริ่มต้น ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป หรือเป็นกระดาษกับดินสอ ปากกาก็ได้

ผู้ที่นั่งเล่นตรงข้ามกับเราจะถือว่าเป็นคู่ขา (Partner) และผู้ที่นั่งติดกับเราจะเป็นปรปักษ์ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา (Opponent) โดยการเล่นจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการประมูล (Auction Phase) และขั้นตอนการเล่น (Playing Phase)

ขั้นตอนการประมูล (Auction Phase)

การประมูลมีวัตถุประสงค์ที่จะแย่งสัญญาเพื่อการเริ่มเล่นก่อนในขั้นตอนถัดไป โดยผู้เล่นจะต้องประมูลหน้าไพ่ที่มีค่าสูงที่สุดให้ได้ (Trump) โดยเริ่มต้นจากผู้แจกไพ่ และวนลำดับตามเข็มนาฬิกา โดยมีระดับประมูลทั้งสิ้น 7 ระดับ ตั้งแต่ 1 – 7 โดยสัญญากับผู้เล่นว่า จะกินขั้นต่ำกี่กอง ไล่ตั้งแต่ระดับ 1 + 6 = 7 กอง จนถึงระดับ 7 + 6 = 13 กอง โดยผู้ตามเล่นด้วยการลงไพ่ดอกเดียวกันกับผู้เริ่มจนครบรอบ

การเล่นไพ่บริดจ์จะเรียกสัญลักษณ์ย่อเพื่อให้สามารถจนบันทึกได้โดยง่าย ได้แก่

  • ดอกจิก (Club) เรียกโดยย่อว่า “จิก” สัญลักษณ์คือ “C”
  • ข้าวหลามตัด (Diamond) เรียกโดยย่อว่า “เหลี่ยม” สัญลักษณ์คือ “D”
  • โพธิ์แดง (Heart) เรียกโดยย่อว่า “แดง” สัญลักษณ์คือ “H”
  • โพธิ์ดำ (Spade) เรียกโดยย่อว่า “ดำ” สัญลักษณ์คือ “S”
  • โนทรัมพ์ (No Trump) สัญลักษณ์คือ “NT”

ตัวอย่างความหมายโดยตรงของการประมูล เช่น 2S -> ประมูลโดยสัญญาว่าจะกิน 8 กอง (จาก 13 กอง) โดยให้ โพธิ์ดำ เป็น ทรัมพ์ 3NT -> ประมูลโดยสัญญาว่าจะกิน 9 กอง (จาก 13 กอง) โดยให้ไม่มีอะไรเป็น ทรัมพ์ 7C -> ประมูลโดยสัญญาว่าจะกิน 13 กอง (จาก 13 กอง) โดยให้ ดอกจิก เป็น ทรัมพ์

นอกจากการไล่ประมูลตามปกติแล้ว ยังมีการเล่นประมูลในคำสั่งอื่น ๆ อีก ได้แก่

  • Pass (ผ่าน /) โดยเมื่อขอผ่านไปแล้วจะไม่สามารถกลับมาประมูลได้อีก ซึ่งการประมูลจะจบลงทันที่เมื่อมีผู้ขอผ่าน 3 คนติดกัน
  • Double (ถั่ว X) คือการต้องการท้าปกป้องและต้องการปรามาสผู้ที่จะประมูลว่าไม่สามารถทำได้ตามเงื่อนไข โดยต้องปรามาสคนที่จะประมูล ซึ่งหากสามารถทำนายได้ถูกต้อง จะได้แต้มเพิ่มอีกเท่าตัว แต่ถ้าหากเสียก็จะเสียมากขึ้นอีกเท่าตัว
  • Redouble (XX) เป็นการประมูลของผู้ที่จะชนะการประมูลที่ยืนยันว่าตนเองจะสามารถทำได้ตามที่สัญญาแน่ ๆ โดยต้องมีการทำ Double ก่อน และผลที่ได้รับก็จะเพิ่มอีกเท่าตัวจากผลของ Double

การใช้ Double และ Redouble จะใส่สัญลักษณ์ต่อท้ายการประมูล เช่น 3NTX หรือ 7CXX เป็นต้น

คู่ที่ชนะการประมูลจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่น โดยคนที่เล่นเรียกว่า Declarer ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้ได้ตามที่สัญญาไว้ ผู้ที่นั่งฝั่งตรงข้ามจะเรียกว่า Dummy ซึ่งจะต้องเปิดไพ่ให้ดูหลังฝ่ายปรปักษ์เป็นฝ่ายนำครั้งแรก และจะต้องทำตามหน้าที่ที่ Declarer สั่งเท่านั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดกติกา และปรปักษ์ (Defender) ซ้าย – ขวา จะมีหน้าที่ที่ทำให้ Declarer ไม่สามารถทำตามสัญญาได้

คนที่เริ่มเล่นจะถูกกำหนดจากผู้ที่เริ่มเล่นประมูลในหน้าที่ชนะการประมูล เช่น ผู้เล่นทิศเหนือชนะการประมูล 3NT แต่ผู้ที่เริ่มประมูล 1NT อยู่ทิศใต้ ดังนั้นจึงจะเริ่มต้นจากผู้เล่นที่อยู่ทิศใต้ก่อน และเมื่อทราบว่าใตรเป็น Declarer, Dummy และ Defender แล้วจึงจะเริ่มต้นการเล่น

ขั้นตอนการเล่นไพ่บริดจ์หลังการประมูล (Playing Phase)

การเล่นจะเริ่มต้นจากให้ปรปักษ์ทางด้านซ้าย (Left-Handed Defender) เริ่มนำไพ่ โดยวางไพ่ลงบนโต๊ะ จากนั้น Dummy จะวางไพ่ให้หงายทั้งหมดและวางลงบนโต๊ะ และ Declarer จะเล่นไพ่แทน Dummy ทั้ง 13 รอบ และ Dummy มีสิทธิ์แค่หยิบไพ่ตาม Declarer สั่ง และไม่มีสิทธิ์แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น

เมื่อวางไพ่ครั้งแรก ผู้เล่นจะต้องวางไพ่ในดอกเดียวกันกับที่ผู้นำเริ่มวางไพ่ลงไปให้ครบวง โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่ แต่หากผู้เล่นไม่มีไพ่ตาม ผู้เล่นจะสามารถวางไพ่ใด ๆ ก็ตามได้ แต่จะถือว่าเป็นไพ่ที่เล็กที่สุดโดยไม่สนใจเลขบนหน้าไพ่ ยกเว้นไพ่ใบนั้นจะเป็น Trump ซึ่งถือเป็นดอกที่ใหญ่ที่สุด เรียงตามลำดับตัวเลข

ใน 1 รอบจะมีไพ่ทั้งหมด 4 ใบ เทียบค่าสูงสุดกัน ใครได้คะแนนสูงสุดจะได้ 1 กองกิน (ตองกิน – Trick) และวางไพ่กองที่กินได้ในแนวตั้งหน้าตัว ไพ่ที่เสียจะวางในแนวตะแคงหน้าตัว โดยไพ่ที่เล่นไปแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาดูได้อีก จากนั้นผู้ที่ได้กองกินนั้นเริ่มต้นเป็นผู้นำ เล่นจนครบ 13 รอบ จากนั้นจึงนับว่าสามารถทำได้ตามที่สัญญาในขั้นตอนการประมูลหรือไม่ โดยมักจะมีตารางคะแนนในการแข่งขันให้ดู

ไพ่ที่ทำสำเร็จจะเรียกว่า Made หรือ Making ไพ่ที่ทำไม่สำเร็จจะเรียกว่า Down ส่วนไพ่ที่กองกินเกินกว่าสัญญาจะเรียกว่า Overtrick และไพ่ที่กินขาดสัญญา เรียกว่า Undertrick

การเรียกไพ่ล้มเหลวจะเรียกตามจำนวนกองกินที่ขาดไป เช่น

  • ไพ่ 3NT ผล 2down (2d) หมายถึง ประมูลไพ่ว่าจะกิน 9 กองโดยไม่มีทรัมพ์ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดคือกินขาดไป 2 กอง หรือกินได้แค่ 7 กอง
  • ไพ่ 2H ผล 4made (4m) หมายถึง ประมูลไพ่ว่าจะกิน 8 กองโดยให้โพธิ์แดงเป็นทรัมพ์ แต่ผลลัพธ์คือกินเกินจนสามารถประมูลที่ระดับ 4 ได้ หรือกินได้ถึง 10 กอง

การคิดคะแนน

การคิดคะแนนของไพ่บริดจ์จะจัดคะแนนความสำคัณจากดอกไพ่และ No Trump โดยเรียกดอกจิก และข้าวหลามตัดว่า Minor เรียกโพแดงและโพดำว่า Major และจะคำนึงถึงค่าความเสี่ยงภัยจาก Declarer ว่ามีหรือไม่มี ถ้าทำตามสัญญาสำเร็จก็จะได้คะแนนมาก แต่ถ้าทำตามสัญญาไม่สำเร็จก็จะเสียคะแนนมากเช่นกัน

การคิดคะแนนเมื่อทำสัญญาสำเร็จ เช่น 3NT 3m Declarer จะได้คะแนนในส่วนนี้ จะคิดคะแนนจากในส่วน made โดยไพ่ Minor จะได้คะแนน made ละ 20 คะแนน ไพ่ Major จะได้คะแนน made ละ 30 คะแนน ส่วน no trump จะได้ made แรก 40 คะแนน made ต่อไป made ละ 30 คะแนน นอกจากนี้จะมีคะแนนโบนัสดังต่อไปนี้

  • Pass Score เป็นโบนัสที่ได้เมื่อทำสัญญาสำเร็จ ได้ 50 คะแนน
  • Game จะได้รับคะแนนเพิ่มเติมเมื่อสามารถทำ made ในขั้นตอนแรกได้เกิน 100 แต้มจากการประมูล Minor ระดับ 5 ขึ้นไป Major ระดับ 4 ขึ้นไป No Trump ระดับ 3 ขึ้นไป โดยจะได้รับคะแนนเพิ่มอีก 300 แต้ม เมื่อไม่มีค่าเสี่ยงภัย (Vulnerable) และ 500 แต้ม เมื่อมีค่าเสี่ยงภัย
  • Slam โบนัสระดับนี้จะได้รับเมื่อเลือกสัญญาระดับ 6 ขึ้นไป โดยมี 2 ประเภทได้แก่
    • Small Slam กิน 12 จาก 13 กอง หากสำเร็จจะได้รับคะแนนเพิ่มอีก 500 แต้มจาก Game bonus รวมเป็น 800 แต้ม เมื่อไม่มีค่าเสี่ยงภัย (Vulnerable) และเพิ่มอีก 750 แต้มจาก Game bonus รวมเป็น 1,250 แต้ม เมื่อมีค่าเสี่ยงภัย
    • Grand Slam กิน 13 จาก 13 กอง หากสำเร็จจะได้รับคะแนนเพิ่มอีก 500 แต้มจาก Game bonus + Small Slam รวมเป็น 1,300 แต้ม เมื่อไม่มีค่าเสี่ยงภัย (Vulnerable) และเพิ่มอีก 750 แต้มจาก Game bonus + Small Slam รวมเป็น 2,000 แต้ม เมื่อมีค่าเสี่ยงภัย

การคิดคะแนนเมื่อสัญญาล้มเหลว ฝ่ายป้องกัน (Defender) จะได้รับคะแนนส่วนนี้

  • หากไม่มีค่าเสี่ยงภัยจะได้ Down ละ 50 คะแนน คูณ 2 ในดาวน์แรกเมื่อใช้ Double เป็น 100 คะแนน และได้เพิ่มอีก Down ละ 200 คะแนน คูณ 4 ในดาวน์แรกเมื่อใช้ Redouble เป็น 200 คะแนน และได้เพิ่มอีก Down ละ 400 คะแนน
  • หากมีค่าเสี่ยงภัยจะได้ Down ละ 100 คะแนน คูณ 2 ในดาวน์แรกเมื่อใช้ Double เป็น 200 คะแนน และได้เพิ่มอีก Down ละ 300 คะแนน คูณ 4 ในดาวน์แรกเมื่อใช้ Redouble เป็น 400 คะแนนและได้เพิ่มอีก Down ละ 600 คะแนน

bridge duplicate board How to play : ไพ่บริดจ์ (Bridge)

การตัดสินในการเล่นไพ่บริดจ์เพื่อการแข่งขันนั้นจะนำคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับทีมอีกทีมอีกโต๊ะหนึ่ง โดยคำนวณส่วนต่างและใช้ไพ่สำรับ ทิศและชุดเดียวกัน เพื่อความยุติธรรม โดยเรียกว่า IMP (International Match Point) โดยทีมที่ได้คะแนน IMP มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

ตารางแต้ม International Match Point

ส่วนต่างของแต้ม

IMPs
20-40 1
50-80 2
90-120 3
130-160 4
170-210 5
220-260 6
270-310 7
320-360 8
370-420 9
430-490 10
500-590 11
600-740 12
750-890 13
900-1090 14
1100-1290 15
1300-1490 16
1500-1740 17
1750-1990 18
2000-2240 19
2250-2490 20
2500-2990 21
3000-3490 22
3500-3990 23
4000+ 24
หมายเลขบันทึก: 492923เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท