กัมมันตภาพรังสีคืออะไร


กัมมันตภาพรังสีคืออะไร

          กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)  เป็นคุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบางส่วน ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุหรือไอโซโทปอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการปลดปล่อยหรือส่งรังสีออกมาด้วย ปรากฏการณ์นี้ได้พบครั้งแรกโดย เบคเคอเรล เมื่อปี พ.ศ. 2439 ต่อมาได้มีการพิสูจน์ทราบว่า รังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลายตัวของธาตุหรือไอโซโทปนั้นประกอบด้วย รังสีแอลฟา, รังสีเบต้า และรังสีแกมมา

 

          หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี

          หน่วย คือ ชื่อเฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้บอกขนาดและปริมาณของสิ่งต่างๆ หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี มีดังต่อไปนี้ 

ปริมาณ

หน่วยเดิม

หน่วยใหม่ (SI unit)

กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

คูรี (Ci)

เบคเคอเรล (Bq)

รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)

แรด (Rad)

เกรย์ (Gy)

รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

เรินท์เกน (R)

คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)

รังสีสมมูล (Dose Equivalent)

เรม (Rem)

ซีเวิร์ต (Sv)

 

1. ปริมาณกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

     1 (Bq) = 1s-1 และ 1 Ci = 3.7x1010Bq

 

2. ปริมาณรังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)

     1 Gy = 1 Jkg-1 = 100 rads

 

3. ปริมาณรังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

     1 เรินท์เกน = 2.58x10-4 คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม

 

4. ปริมาณรังสีสมมูล (Dose Equivalent)

     HT = SRWRxDTxR


  สำหรับการเกิดอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์ อาจแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ



           1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก (External exposure) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

            2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย (Internal exposure) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิด ขึ้นอยู่ในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ 

           การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝังสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้


 ขีดจำกัดขนาดของรังสีขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล

อวัยวะ หรือ เนื้อเยื่อ ขนาดรังสีสูงสุดที่อนุญาตให้รับได้ สำหรับ ผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติงานทางรังสี   "MPD" ขีดจำกัดขนาดของรังสีสำหรับประชาชน "Dose limit"
อวัยวะสืบพันธุ์ 3 เร็ม ใน 3เดือน 0.5 เร็ม ใน 1ปี
ไขกระดูกทั่วร่างกาย 5 เร็ม ใน 1ปี หรือถ้าจำเป็นก็ใช้สูตร 5(N-18)เร็ม (N=อายุเป็นปี)
ผิวหนัง 15 เร็ม ใน 3 เดือน 7.5 เร็ม ใน 1ปี
กระดูกไธรอยด์ 30 เร็ม ใน 1ปี
มือ และ แขน 40 เร็ม ใน 3 เดือน 7.5 เร็ม ใน 1ปี
เท้า และ ข้อเท้า 38-75 เร็ม ใน 1ปี
อวัยวะอื่นๆ 15 เร็ม ใน 1ปี 1.5 เร็ม ใน 1ปี

ขนาดของรังสีกับอาการเจ็บป่วยที่ปรากฏ

ขนาดของรังสี ที่ร่างกายได้รับทั้งร่าง (Rem)

อาการเจ็บป่วยที่ปรากฏ

0-25 ไม่ปรากฏแน่ชัด
25-50 มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดโลหิต
50-100 เม็ดโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย อาเจียน ไม่มีความพิการปรากฏ
100-200 มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น มีความพิการ
200-400 มีการเจ็บป่วยทางรังสี มีความพิการ หรืออาจเสียชีวิตได้
400 โอกาสรอดชีวิต 50 เปอร์เซนต์
มากกว่า 400 โอกาสเสียชีวิตสูง

 

ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492695

        http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=164&Itemid=172

         http://health.kapook.com/view24286.html

                 http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/65/nuclear1/limit.html

         http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=N&biw=1241&bih=606&tbm=isch&tbnid=c3odpIuilSRxWM:&imgrefurl=http://rinnarat6237.blogspot.com/2010/09/ionizing-radiation-1.html&docid=7K-eYFSQWRt-RM&imgurl=http://1.bp.blogspot.com/_fSo25einp3k/TKB78e71kfI/AAAAAAAAAIU/2hNYdLwzX5E/s320/220px-Gisei32.jpg&w=220&h=261&ei=TvHrT8y7AoHJrAfonYm9BQ&zoom=1&iact=rc&dur=334&sig=105383391833868444078&page=1&tbnh=113&tbnw=100&start=0&ndsp=22&ved=1t:429,r:9,s:0,i:102&tx=38&ty=53



หมายเลขบันทึก: 492735เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท