การพัฒนาคลินิกเบาหวานรพ.พยุหะคีรี


พัฒนาคลินิกเบาหวาน

 ก้อห่างหายไปนานกับการเล่าเรื่อง วันนี้ได้มีโอกาสเล่าประสบการณ์เล็กน้อยที่ผ่านมา เริ่มจากการพัฒนาคลินิกเบาหวาน จากการที่ทีมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาคลินิกเริ่มจากการให้ความรู้ จากเดิมไม่มีแนวทางที่ชัดเจน มีการให้ความรู้ ในเรื่องที่ผู้ป่วยควรทราบ ตั้งแต่ เรื่องทั่วๆไปของโรคเบาหวาน อาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย การดูแลตนเองในภาวะพิเศษ ฯลฯ ทั้งหมด 9 เรื่องโดยทางทีมช่วยกันสอน เรื่องละ 1 เดือน มีการตรวจเท้าและให้ความรู้ ทางทีมหวังในเรื่องของการตระหนักในการดูแลเท้า เพราะ ยังไม่มีคลินิกเท้าที่ชัดเจน และระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเท้าที่ชัดเจน ปรับระบบการให้คำปรึกษาในผู้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มานอนรพ. มีระบบการดูฉลผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งจะเล่ารายละเอียดในครั้งต่อไป จากการดำนินงานอย่างต่อเนื่องพบปัญหามากมายทั้งผลกระทบที่มีต่องานอื่นๆ มีการจัดประชุม เพื่อปรับแก้กันหลายครั้ง เพราะบางจุดคิดว่ากิจกรรมที่ทำในคลินิกจะทำให้ผู้ป่วยเสียเวลาในการเข้าตรวจ จนกระทั่งในปัจจุบัน เป็นระบบมากขึ้น คือ เริ่ม เจาะเลือดให้ผู้ป่วย ประมาณ 06.30 น. รับประทานข้าวต้มที่ทางรพ.จัดให้ เวลา 07.30-08.00น. ให้ความรู้ 08.00น. ออกกำลังกาย โดยปรับรูปแบบใหม่ สลับกันระหว่างการรำไม้พลองกับการบริหารกล้ามเนื้อ อย่างละ 1 เดือน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ผู้สูงอายุมาก ผู้ที่เคลื่อนไหว /ยืนไม่สะดวกไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายได้ และได้นำดนตรีบรรเลงเพลงช้าๆมาเปิดร่วมด้วย จากการพัฒนาคลินิก ได้ประเมิน จากการสอบถามผู้ป่วย พบส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากและไม่รู้สึกว่าทำให้ได้รับการตรวจที่ช้ามากกว่าปกติ ผลจากความสำเร็จเล็กๆเรื่องที่เป็นความภาคภูมิใจของทีมงานคือ สามารถให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่ปฏิเสธการฉีดอินซูลินมาหลายปีให้ยอมรับการรักษาด้วยวิธีฉีดอินซูลิน และ สนใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมและยอมรับทีมผู้ให้บริการมากขึ้น ขอเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมเล็กน้อย มีผู้ป่วยชายไทยวัย 46 ปี ป่วยเป็นเบาหวานมาประมาณ 10 ปี ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอด แพทย์ได้ปรับยาจนถึงขนาดสูงสุด พยายามให้คำปรึกษาเรื่องการฉีดอินซูลินหลายครั้ง ผู้ป่วยจะปฏิเสธและไม่เข้าร่วมกลุ่ม ทุกครั้งที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ครั้งนี้ได้ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยในทุกจุดที่พบผู้ป่วย พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และให้ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน มาเล่าประสบการณ์ให้ผู้ป่วยรายนี้ฟัง และติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง(ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน) ในที่สุดผู้ป่วยยอมฉีดอินซูลิน ครั้งแรกผู้ป่วยรับยาแล้วเข้าใจผิดในเรื่องการฉีด จึงได้มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในครั้งนั้น หลังจากนั้นมาผู้ป่วย จะเข้ามาพบที่คลินิกทุกครั้งที่พบปัญหาและบางครั้งที่ผู้ป่วยพาผู้อื่นมารพ.ผู้ป่วยจะเข้ามาที่คลินิกและเล่าอาการต่างๆ การใช้ยาให้ฟัง ทำให้ทางทีมรู้สึกภาคภูมิใจถึงแม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆน้อยๆทำให้เกิดกำลังใจในการทำงานต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ส้มเสี้ยว
หมายเลขบันทึก: 49272เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีใจที่ได้พบคุณส้มเสี้ยวผ่านบล็อกอีก พร้อมงานที่ก้าวหน้าขึ้น จะคอยติดตามค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท