นวัตกรรมเครื่องมือแข่งขันทางธุรกิจจริงหรือ


นวัตกรรมเครื่องมือแข่งขันทางธุรกิจจริงหรือ

    นวัตกรรมเครื่องมือแข่งขันทางธุรกิจจริงหรือ

          นวัตกรรม มีบทบาทสำคัญในการสร้างศักยภาพการแข่งขันทางการค้าทั้งในระดับธุรกิจ และระดับประเทศ เพราะความได้เปรียบในเชิงประสิทธิภาพของการดำเนินงานไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้ยากอีกต่อไป ยังกลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานการประกอบธุรกิจไปแล้ว ขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้อย่างเข้มข้น  กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ด้วยการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์และหรือบริการที่ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้รับความพึงพอใจอันเกิดจากความสุขทางอารมณ์และความคิด มากกว่าที่จะคำนึงถึงเฉพาะราคาหรือต้นทุนที่เกิดขึ้น

      นวัตกรรมการตลาด

        รูปแบบของนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาด(Marketing Mix) ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการกำหนดว่าจะเลือกแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการในตลาดใดเหมาะสมที่สุดทั้งนี้นวัตกรรมตลาดมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการได้แก่ (Johne, 1999)
          1.การกำหนดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพรวมถึงรูปแบบใหม่ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการและวิธีการเข้าสู่ตลาด ผู้ประกอบการต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการกำหนดส่วนแบ่งตลาดที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน ผลประโยชน์จากส่วนแบ่งตลาด (Market Share Benefit) รวมถึงโอกาสในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ(Usage Occasions) ทำให้นักการตลาดทราบโอกาสทางการตลาดที่มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต
          2.ผู้ประกอบการต้องสามารถคัดเลือกตลาดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ดียิ่งกว่าเดิม ผู้ประกอบการสามารเข้าใจรายละเอียดของ “ความพึงพอใจในการซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย”จะทำให้ลูกค้ายินดีและมีแนวโน้มที่จะจ่ายค่าราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สูงกว่าธุรกิจคู่แข่ง
          Mathur และKenyon(1997) กล่าวถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง นักการตลาดได้แบ่งผู้บริโภคเป็น 4ประเภท คือ
        - ผู้บริโภคที่เน้นผลิตภัณฑ์ (Commodity-buy mode) ผู้บริโภคมีความรู้หรือได้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นอย่างดีใช้ระดับราคาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อ    
       -ผู้บริโภคที่เน้นการใช้งาน (Product-buy mode) มีความรู้หรือได้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นอย่างดีเช่นกันแต่แสวงหาในข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้งานพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานพื้นฐาน และยินดีที่จะพร้อมจ่ายค่าราคาส่วนเพิ่ม( premium price)
       -ผู้บริโภคที่เน้นระบบ (System-buy mode) จะเป็นผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานของผลิตภัณฑ์หรือบริการบ้างเล็กน้อยและพร้อมที่จะตัดสินใจซื้อเมื่อมีการแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ขาย
       -ผู้บริโภคที่เน้นคำปรึกษา (Consulting-buy mode) จะเป็นผู้บริโภคที่ต้องการเพียงคำแนะนำในการบริโภคผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ขายและจะทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ทันที
           นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจ ผู้ประกอบการของไทยจะต้องทราบถึงความสามารถของตนว่าจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไร  รูปแบบใด เพื่อสร้างความแตกต่างในธุรกิจ  จะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์และจะก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจคู่แข่งในโลกแห่งการค้าเสรีได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2550.นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.กรุงเทพ
          มหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.2551.นวัตกรรมเพื่อ
          สร้างคุณค่าและความยั่งยืนของSMEs.กรุงเทพมหานคร: สำนัก   
          งานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
www.utcc.ac.th/thesis/academicweek/2553/business/thanoot.pdf

 

 

หมายเลขบันทึก: 492657เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท