เรียนวิชาภูมิศาสตร์สัตว์ วันที่ 26/06/55


โลก

-โลกเราหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา แรงเหวี่ยงของมันทำให้เกิดแรงสู่ศูนย์กลาง แรงหมุนที่แรงที่สุดตรงบริเวณแกนกลางของโลก

-โลกของเรานั้น หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วที่สมดุล

-โลกของเราหมุนด้วยความเร็วที่เหมาะสม ที่เหมาะสมกับมวลและขนาดของมันเอง

-ปัจจัยที่ทำให้โลกหมุนรอบตัวเอง การที่โลกที่หมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวัน-คืน

-องศาที่กระทบบนผิวโลกมีความแตกต่างกัน แสงจากดวงอาทิตย์ส่องกระทบเป็นเส้นขนานมาบนโลกทั่วทั้งโลก

-องศาที่กระทบของดวงอาทิตย์มีผลต่ออุณหภูมิ รวมทั้งความเข้มแสงด้วย

-รังสีที่ส่องมายังโลกจะถูกกลั่นกรองโดยชั้นบรรยากาศและพวกฝุ่นต่างๆ เช่น ชั้นโอโซนจะลดรังสียูวีที่ส่องมายังโลก ทำให้รังสีเบาลงกว่าเดิม

-ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่มีรังสียูวีอยู่ในระดับ 5 ซึ่งสูงที่สุด

ตอบคำถาม

1 โลกเราหมุนด้วยความเร็วเท่าไหร่

ตอบ โลกมีคาบการหมุนรอบตัวเอง เป็นเวลา 0.997 258 วัน (23.934 ชั่วโมง)และ เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตรเท่ากับ 40,075 km

ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง จึงเท่ากับ 1674.38 km/h = 465.11 m/s(ที่เส้นศูนย์สูตร)

2 ปัจจัยที่ทำให้โลกหมุนรอบตัวเอง

ตอบ 

วงโคจรและการหมุนรอบตัวเอง

วงโคจรและการหมุนรอบตัวเอง โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่นักวิทยาศาสตร์คำนวณได้ 23.56 ชั่วโมง แต่จะใช้ 24 ชั่งโมงเป็นหลัก และ 365 วันในหนึ่งปี โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านไมล์ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 108,000 ไมล์ต่อชั่วโมง[2]
วงโคจรของดวงจันทร์ อยู่ห่างจากโลก 250,000 ไมล์ ดวงจันทร์จะหันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาโลกอยู่เสมอ และโคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกับวัตถุขนาดเล็กกว่าพันชิ้น และดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านส่วนแขนออริออน ดาราจักรทางช้างเผือก และจะเคลื่อนที่ครบรอบในอีก 10,000 ปีข้างหน้า[3]การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด (Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 20 – 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด
เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำ เสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่ 23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ

3 แรงกดอากาศบริเวณเส้นผ่านศูนย์กลางและบริเวณขั้วโลกมีค่าเท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร

ตอบ หายังไม่ได้ รอก่อนนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #โลก
หมายเลขบันทึก: 492654เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ข้อที่ 2 ยังไม่ชัดเจนนะ ลองหาเพิ่มเติมว่า ทำไมโลกถึงหมุนรอบตัวเอง

ที่ โลกหรือดวงดาวต่างๆ มีการหมุนรอบตัวเองนั้น เกิดจากการที่ ขณะ ที่สสารมารวมตัวกันเพื่อที่จะก่อตัวเป็นโลก สสารพวกที่เริ่มรวมกลุ่มจับตัวกันก่อน จะมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าสสารที่อยู่กระจัดกระจายกันบริเวณรอบๆ ก็เลยโน้มถ่วงให้สสารที่อยู่บริเวณโดยรอบเข้ามา จนเริ่มเข้าใกล้กันมากขึ้น และจับกลุ่มกันจนเป็นก้อนใหญ่มากขึ้น แต่พลังงานจลน์ของสสารที่เคลื่อนที่เข้ามาจับตัวกัน มันไม่ได้หายไปไหน เพราะไม่มีมวลให้ถ่ายเถไปที่อื่น ก็เลยส่งผลทำให้กลุ่มก้อนของสสารนั้น ยังคงหมุนตัวตามทิศทางที่มันเริ่มจับตัวกันใหม่ๆ จนมาถึงทุกวันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท