สัมมนาวิชาการผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษาครั้งที่1/2555


ประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 24 มิถุนายน 2555

     เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2555 กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในฐานะเจ้าภาพศูนย์เทียบระดับการศึกษาแนวใหม่ ได้ไปร่วมการสัมมนาวิชาการของผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษา(แนวใหม่) ครั้งที่1/2555 ภายใต้การบริหารจัดการของผู้อำนวยการ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา นายพานิช  ศรีงาม และเจ้าหน้าที่งานเทียบระดับการศึกษา คณะกรรมการประเมินมิติประสบการณ์ และเครือข่ายเจ้าหน้าที่ศูนย์เทียบระดับร้องใหม่ กศน.อำเภอบางปะอิน และกศน.อำเภอเสนา ณ บ้านทุ่งกระโปรง ม.12 ต.ป่าขะ อ.บ้านนา จ.นครนายก  โดยมีนายสมหมาย เกตุแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทุ่งกระโปรงให้การต้อนรับ  ที่แรกที่สัมผัสกับบ้านทุ่งกระโปรงก็คือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 21 คน ได้รับความรู้ด้านวิชาการและศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  ระดับ “พออยู่ พอกิน ” เพื่อที่จะได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบ้านทุ่งกระโปรงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติพัฒนาหมู่บ้านของตนเองให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะได้ก้าวไปสู่การพัฒนาหมู่บ้านที่เข้มแข็งและยังยืนไม่หลงทางในกรอบความคิด

       สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบ้านทุ่งกระโปรงก็คือ   “เป็นการใช้ชีวิตแบบพอมี พอกิน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักประหยัด อดออม  ไม่สร้างหนี้สินให้เกินความจำเป็น ไม่ฟุ้งเฟ้อ โดยสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่ดี  มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ชุมชนมีภูมิคุ้มกันทางสังคม ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และรู้จักแบ่งปัน ทำให้สามารถสร้างความสุขให้แก่ตนเอง ครอบครัว หมู่บ้าน/ชุมชนแนวทางการดำเนินชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยชักชวน แนะนำ และสร้างความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

      - รณรงค์การปลูกพืชแบบผสมผสาน
      - ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนให้ได้ประโยชน์สูงสุด
      - ให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาคนให้รู้จัก รัก และสามัคคีกัน  เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและชุมชนเข้มแข็ง  

                                                                                                          
     - เราต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่ตัวเองและผู้คนใกล้ ๆ ตัวเรา
     - เราได้รู้วิธีทำงาน  แล้วคิดว่าเราต้องทำให้ได้บ้าง
     - กลับมาพูดคุยกับผู้นำหมู่บ้านเพื่อสร้างเครือข่ายหมู่บ้าน  เพื่อสร้างความภูมิใจที่เป็นผู้นำที่นำความรู้กลับมาถ่ายทอดและใช้ประโยชน์
     - ตั้งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ  เช่น เกษตรผสมผสาน  ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้มากที่สุด
    - นำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านทราบและปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม
    - สอนให้คนรู้จักใช้ชีวิตร่วมกัน  ทำงานทุกอย่างร่วมกัน  ไม่ต่างคนต่างทำ  ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา
    - นำความรู้ที่ได้รับเพิ่มจากการปลูกผักปลอดสารพิษ  ไปใช้ในการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
    - นำความรู้ที่ได้รับมาเป็นแนวคิดในการใช้ทรัพยากรหรือทุนในชุมชนให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
    - เริ่มจากการถ่ายทอดการเรียนรู้ที่ได้รับจากการประชุมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ตามเศรษฐกิจพอเพียง  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้
   - แนะนำให้ครัวเรือนและคนใกล้เคียงจัดทำบัญชีครัวเรือน
   - มีระเบียบวินัยในการใช้จ่าย โดยออมเงิน 1 ส่วน ใช้จ่าย 3 ส่วน
   - การปลูกผักสวนครัว และมีการแนะนำให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ การแนะนำให้ปลูกพืชผักกินโดยไม่ใช้สารพิษ (ปุ๋ยเคมี) และปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
   - ทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยจากการผลิตเองตามธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์ ซากพืช
    - การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งจะได้ปรับปรุงความเป็นอยู่ และประมาณตัวในการใช้จ่าย
    - ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น อาทิเช่น ลดปุ๋ยเคมีจาก 100% ให้เหลือ 20% โดยใช้ปุ๋ยหมัก/ชีวภาพ/อินทรีย์แทน และหากมีพื้นที่ว่างข้างบ้าน จะปลูกพืชผัก สวนครัวเพื่อการบริโภค เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น  รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน
    - การให้ความรู้แก่ชุมชนหมู่บ้านให้ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค โดยไม่ต้องซื้อเพื่อลดรายจ่าย
     - สร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยให้ชุมชนร่วมกันลด ละ เลิกอบายมุข ประหยัด และมัธยัสถ์ รวมทั้งเน้นการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษ การสืบสานทางวัฒนธรรม
    - การประชุมประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งพาตนเอง และข้อตกลงร่วมกันเพื่อเริ่มต้นในการดำเนินชีวิต และการพัฒนาชุมชน

      ในการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการของผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษาครั้งที่1/2555 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการประเมินในรุ่นเดียวกัน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรมของบุคคล สร้างจิตสำนึกร่วมกันในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนนอกโรงเรียน

     ฉะนั้น ผู้ที่ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชาการจึงจะถือว่าเป็นผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษาอย่างสมบูรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สัมมนาวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 492317เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท