กระบวนการของนวัตกรรมและทฤษฎีนวัตกรรม


ดีจัยอย่างยิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม สำหรับวันนี้ขอนำเสนอ   กระบวนการของนวัตกรรมและทฤษฎีนวัตกรรมค่ะ
กระบวนการของนวัตกรรม
การค้นหาความคิดใหม่ : Idea  Generation
     6  แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม
            1. ความรู้
            2. การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า
            3. การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า
            4. การออกแบบที่เข้าถึงใจคน
            5. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
            6. นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร
 
 การรับรู้โอกาส : Opportunity  Recognition
      - สิ่งที่สำคัญ คือ  เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมันตรงหน้า (Norman  Augustine)
       -  หลักการรับรู้โอกาสด้วย  แผนผังอรรถประโยชน์
             - นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง
             - อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของ    ผู้อื่นเพียงใด
             -  อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด
             - สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม         ที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
 
การประเมินความคิด : Idea  Evaluation
     -  ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร
     -  ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม
     - ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ
 
การพัฒนานวัตกรรม : Development
      -  ตัวกรองความคิด
 
การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด : Commerciali-zation
      -  การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน  Cbreakeven-zation
      -  การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด  (discounetd  cash  flow  analysis)
 
ทฤษฎีนวัตกรรม
1. Disuptive  Innovation  ทฤษฎีแบบผ่าเหล่าผ่ากอ  เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสินค้าหรือบริการ  ที่สามารถที่จะล้มล้างเทคโนโลยี สินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมในตลาด
     แนวคิดของ Disruptive  Innovation  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
     -  New-market  Disruption  Innovation
     -  Lower-end  Disruption  Innovation
2.  ทฤษฎี  Diffusion  Innovation  Theory  (DOI)
ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม                                            
แนวความคิดทฤษฏีของ Roger ได้แบ่งกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีไว้ดังนี้
กลุ่มคนในสังคม
%
พฤติกรรม
บุคลิกลักษณะ
Innovators
2.5%
ต้องเป็นคนแรก
ผู้ที่ชอบเสี่ยง, มีความรู้, เป็นนักประดิษฐ์หรือมีความรอบรู้เทคโนโลยี
Early adopters
13.5%
ชอบของใหม่
ชอบเป็นผู้นำ, ได้รับความนิยมทางสังคม, มีการศึกษา, ชอบความใหม่
Early majority
34%
อยากมีบ้าง
เป็นคนรอบคอบ, ชอบแบบสบาย ๆ ไม่เป็นทางการ
Late majority
34%
จำเป็นต้องมี
เป็นคนช่างสงสัย, หัวโบราณ, ฐานะไม่ดี
Laggards
16%
ก็ดีเหมือนกัน
รับฟังข้อมูลจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อน หรือญาติและกลัวการเป็นหนี้

      ทฤษฎีนี้อธิบายให้เห็นถึงพฤติกรรมและบุคลิกลักษณะของบุคคลแต่ละกลุ่มในสังคมเพื่อให้เข้าใจวิธีการรับเทคโนโลยีของคนแต่ละกลุ่มในสังคม ได้ดังนี้

Inventor คือคนกลุ่มแรกในสังคมที่นอกจากเป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้นแล้วยังรวมไปจนถึงผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอนั่นเอง
Early Adopters เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ อาจเป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม
Early Majorityกลุ่มนี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบแต่ต้องใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมของกลุ่มนี้มักดูจากการตัดสินใจของสองกลุ่มแรก
Late Majorityกลุ่มนี้กว่าจะมีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้วแ ละมีความจำเป็นต้องการใช้งานจริงๆ จึงจะใช้ ในความคิดของผู้เขียนคิดว่า นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใดเข้าถึงการยอมรับของคนกลุ่มนี้ได้ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
Laggard เป็นกลุ่มที่มีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเมื่อตกรุ่นไปแล้ว และเป็นกลุ่มสุดท้ายในสังคม กลุ่มนี้จะเลือกซื้อโดยสอบถามข้อมูลจากคนรอบข้างโดยเฉพาะดูพฤติกรรมของคนในสังคมกลุ่มก่อนๆ
 
S-Curve of Technologyอธิบายปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในสังคม โดยแกน Y แทนประสิทธิภาพหรือเทียบจำนวนผู้ใช้ในสังคมก็ได้เช่นกัน ส่วนแกน X เป็นเวลา
สถานะที่ 1 (Section I) เป็นช่วงเวลาของการประดิษฐ์คิดค้นจนประสบความสำเร็จออกมา และเริ่มทดสอบวางตลาด
สถานะที่ 2 (Section II) เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมีการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมให้รับรู้ว่ามีเทคโนโลยีนี้แล้ว และสังคมเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีนี้ไปจนถึงการได้รับความนิยมจากคนในสังคม เกิดเป็นธุรกิจนวัตกรรมรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีมีการพัฒนาประสิทธิภาพได้สูงขึ้นเรื่อยอย่างรวดเร็ว และพร้อมกับการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำธุรกิจที่สุด และทุกคนอยากทำธุรกิจในช่วงเวลานี้ และแน่นอนที่สุดผู้ที่มีนวัตกรรมใหม่ ควรจะเข้าสู่ตลาดในช่วงนี้
สถานะที่ 3 (Section III) เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีอิ่มตัว ประสิทธิภาพการพัฒนาของเทคโนโลยีนั้นถึงขีดสุดของทรัพยากรที่ใช้ผลิตไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้แล้ว ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจะมีใช้คงที่โดยไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้จนกว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่มาทดแทน และเทคโนโลยีนี้ก็จะหายไปจากสังคม
S-Curve of Technology นั้น Roger ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนถึง การเกิด การนิยม และการตกรุ่น ตามประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นๆ จะสอดคล้องกับการแพร่กระจายเทคโนโลยนั้นๆ ไปในสังคมผ่านกลุ่มคนแต่ละกลุ่มในสังคม
 
3. ฤษฎี The Chasm Model หุบเหวแห่งการยอมรับของ       นวัตกรรมเทคโนโลยีในสังคม
     ทฤษฎีของ โรเจอร์ นั้น การเริ่มยอมรับนวัตกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อหลังจากผ่านสถานะแรกหรือผ่านคนกลุ่มแรก (Innovators) หรือคือการได้รับการยอมรับจากนักประดิษฐ์นวัตกรรมหรือผู้ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่จำนวนหนึ่ง ทดสอบทดลองจนสิ้นสงสัยและยอมรับเทคโนโลยีนั้นแล้วถัดไปก็จะเกิดการยอมรับของกลุ่ม Early Adopters และ Early Majority ได้ง่ายขึ้น แต่ มัวร์ ได้ให้ความสำคัญต่อการยอมรับนวัตกรรมในกลุ่ม Early Adopters อย่างมากที่สุด และกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งว่านวัตกรรมนั้นจะมีอยู่หรือดับไปในสังคม มัวร์  จึงเปรียบว่าในคนกลุ่มนี้จะมี หุบเหว ซึ่งคอยดักนวัตกรรมใดๆ ว่าจะอยู่หรือดับไปและนวัตกรรมใดๆ จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Early Adopter กับผู้ผลิตจนกว่านวัตกรรมนั้นๆ จะตรงกับอุปสงค์ในสังคมจนเกิดการยอมรับในที่สุดหากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีโทรคมนาคมใดผ่านหุบเหวนี้ไปได้
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 492313เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท