มารู้จักทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม


นวัตกรรมสื่อสารผ่านช่องทางใดบ้าง

ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม

        การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovations Theory (DOI) ของ Everett Rogerแนวความคิดทฤษฏีของ Roger  การยอมรับ (Adoption) สิ่งใดของสังคม จะมีกระบวนการ (Process) คล้ายๆ กัน โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งยอมรับคิดว่าดีแล้ว จะเกิดการแพร่กระจาย (Diffusion) ไปตามช่องทางการสื่อสาร (Channels) ต่างๆ ของคนกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งในสังคม อยู่ที่สิ่งใหม่นั้นมีความดึงดูดใจสูงก็จะทำให้การยอมรับสิ่งนั้นในสังคม ใช้ระยะเวลาในการยอมรับสั้นขึ้น การแพร่กระจายความนิยมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือ Promotion ใดให้เกิดความนิยม แต่ล้วนแล้วเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปตามช่องทางสื่อสารต่างๆ สังคมโดยธรรมชาติ ธรรมชาติของโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจสมัยใหม่ก็เช่นกัน

ส่วนประกอบของการแพร่กระจายนวัตกรรมDiffusion of Innovation

              1.นวัตกรรม (Innovation)

              2.ช่องทางการสื่อสาร  (Communication Channels)

              3.ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (Time)

              4.ระบบสังคม(Social System)

                                         Communication Channels

                            Innovation     →     Social System

                                                  Time

          กระบวนการซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ของระบบสังคม โดยใช้เวลาในการเข้าสู่สมาชิกในสังคม ทั้งสี่ส่วนประกอบหลักในสังคมนั่น คือ นวัตกรรม ช่องทางในการสื่อสาร เวลา และ ระบบสังคม

          แนวความคิดทฤษฏีของ Roger ได้แบ่งกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีไว้ดังนี้
++++Consumer++++%++++Behavior+++++Characteristics+++

ประเภทการยอมรับนวัตกรรม

Innovators 2.5%          ต้องเป็นคนแรก ผู้ที่ชอบเสี่ยง เป็นนักประดิษฐ์หรือ

                                 มีความรอบรู้เทคโนโลยี
Early adopters 13.5%   ชอบลองของใหม่ ชอบเป็นผู้นำ ได้รับความนิยมทาง

                                 สังคม มีการศึกษา ชอบความใหม่

Early majority 34%      อยากมีบ้าง เป็นคนรอบคอบ ชอบแบบสบายๆไม่เป็น

                                ทางการ  ยอมรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 

Late majority 34%       จำเป็นต้องมีเป็นคนช่างสงสัย หัวโบราณ ฐานะไม่ดี
Laggards 16%            มีก็ดีเหมือนกันรับฟังข้อมูลจากคนรอบข้างเช่น 

                                เพื่อน หรือญาติ และกลัวการเป็นหนี้

ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม (Adoption Process)

           1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness)

           2. ขั้นสนใจ (interest)

           3. ขั้นประเมินผล (evaluation)

           4. ขั้นทดลอง (trial)

           5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption)

กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation decision process)

          1. ขั้นความรู้ (knowledge)

          2. ขั้นชักชวน (persuasion)

          3. ขั้นตัดสินใจ (decision)

          4. การตัดสินใจใช้ (implementation)

          5. ขั้นยืนยัน (confirmation)

การค้นหาความคิดใหม่ : Idea Generation

          6.แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม

          1.ความรู้ใหม่

          2.การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า

          3.การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า

          4.การออกแบบที่เข้าถึงใจคน

          5.ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

          6.นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร

การรับรู้ถึงโอกาส : Opportunity Recognition

         “สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่า สิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมันอยู่ตรงหน้า” (Norman Augustine)

    • หลักการรับรู้โอกาสด้วย “แผนผังอรรถประโยชน์”
      • นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง
      • อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของผู้อื่นเพียงใด
      • อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด
      • สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

การประเมินความคิด : Idea Evaluation

      • ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร
      • ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม
      • ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

การพัฒนานวัตกรรม : Devment elopment

          - ตัวกรองความคิด

          - ระบบแบบ “ขั้นตอนและประตู (stage-gate system)

          - การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

          - การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด : Commerciali-zation

          - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (breakeven analysis)

          - การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด(discounted cash flow analysis)

          นวัตกรรมการแพร่กระจายถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน สร้างความได้เปรียบในด้านธุรกิจ  ในการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์การสื่อสารทุกช่องทาง เช่นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วารสารและหนังสือพิมพ์  ดังนั้นทุกองค์กรจึงให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน เสาะแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างนวัตกรรมและสามารถใช้นวัตกรรมสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจของตน

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.Learners.in.th

http://www.pochanukul.com

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 492268เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท