หมออนามัย พนักงานกีฏะวิทยา


หมออนามัย พนักงานกีฏะวิทยา

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 ข้าพเจ้าสมัครเข้าทำงานที่ศูนย์กำจัดไข้มาลาเรียเขต1 อำเภอพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ในตำแหน่งพนักงานกีฏะวิทยาลูกจ้างชั่วคราวอัตราเงินเดือน 5,400 บาท มีค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายประมาณ 500 – 1000 บาท พร้อมค่าที่พัก พื้นที่รับผิดชอบจำนวน 12 จังหวัดได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ สุรินทร์ การทำงานอยู่ในพื้นที่ชนบทและทำงานในเวลากลางคืน ทำหน้าที่ในการให้ยุงก้นปล่องกัดที่บริเวณขา และให้ยุงดูดกินเลือดจนอิ่ม แล้วใช้หลอดแก้วครอบและจับยุงและใช้สำลีอุดหลอดแก้ว ในพื้นที 12 จังหวัดที่รับผิดชอบ จับยุงตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้าโดยหมุนเวียนผลัดเป็นสองกะ  กะ 6 โมงเย็นถึง 6 ทุ่ม และกะ 6 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้า บางวันอากาศหนาวเย็นมาก หนาวเข้ากระดูก (ห้ามก่อไฟผิง) จะมีสองทีม จับในบ้านและนอกบ้านที่อยู่หากกัน โดยมีๆฟฉายเป็นอาวุธประจำกาย หลอดแก้ว สมุดบันทึกลงเวลาการจับยุงได้ว่า ได้เวลาเท่าไหร่แต่ละตัว บางวันมีฝนตกมาทิ่มที่อยู่นอกบ้านต้องรักษาหน้าของตนเอง นำมาแช่น้ำแข็งที่เตรียมไว้ ทีมที่จับยุงหัวค่ำต้องมานั่งผ่ายุง หารักไข่ ต่อมน้ำลาย และออกไปปฏิบัติหน้าที่ค้นหาลูกน้ำในแหล่งลำธารต่างๆที่อยู่ใกล้บริเวณจับยุง เพื่อทำสถิติความชุกของลูกน้ำยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย นำมาวิเคราะห์และทำการพ่นสารเคมีตกค้างในที่พักอาศัยของชาวบ้านหรือมีการใช้น้ำยาสารเคมีชุบมุ้ง เจ้าหน้าที่บางคนล้มป่วยด้วยโรคมาลาเรีย มีอาการแล้วแต่ชนิดของเชื้อที่เป็น บางคนรักษาหายขาด แต่ก็กลับมาเป็นซ้ำ บางคนเสียชีวิต ชีวิตไม่มีค่าไม่มีราคา เป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราว บางคนลาออกไปประกอบอาชีพอย่างอื่น บางคนสอบไปเรียนหมออนามัย บางคนไปเป็นทหาร ตำรวจ บางคนไปเป็นครู และหลากหลายอาชีพ วันนี้ที่ผมเขียนมานี้เพื่อเจ้าหน้าที่หรือพนักงานกีฏะวิทยาทุกคนทั่วประเทศว่าครั้งหนึ่งเราทำงานมาด้วยความยากลำบากตรากตรำ ทั้งอาหารการกินและที่พักอาศัย แต่ชาวบ้านที่เข้าไปช่วยเหลือเขาให้การต้อนรับเป็นอย่างดี บางคนไปกลับเป็นลูกเขยในหมู่บ้านที่เราเคยเข้าไปทำงาน วันนี้ผมของสดุดีเจ้าหน้าที่มาลาเรียทุกๆท่านไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งพนักงานเยี่ยมบ้าน พนักงานกีฏะวิทยา หัวหน้าส่วนมาลาเรีย หัวหน้าหน่วยมาลาเรีย จงภูมิใจในเกียรติชื่อเสียงที่เราได้ร่วมกันทำให้กับประชาชนมีความสุขสบาย หรือบางคนเปลี่ยนสายงานไปเป็นสาธารณสุขอำเภอ ผมเป็นคนหนึ่งที่สอบได้ไปเรียนหมออนามัย แต่ไม่เคยลืมชีวิตของหมอมาลาเรีย ที่เสียสละทั้งร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณ พ่อแม่ผมทำงานอยู่ในศูนย์กำจัดไข้มาลาเรียมาตอนหลังเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง ผมขอกราบเคารพเพื่อนๆพี่และน้องๆชาวมาลาเรียทุกๆท่าน สวัสดีครับ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กีฎะ
หมายเลขบันทึก: 491607เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท