ติวเข้มนักข่าว (น้อย) พลเมืองชาวเล


ติวเข้มนักข่าว (น้อย) พลเมืองชาวเล

ติวเข้มนักข่าว (น้อย) พลเมืองชาวเล
ใครลองได้ติดตาม “โครงการสร้างสรรค์กิจกรรมสำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส” ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เน้นทำกับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสทางสังคม คงรู้ว่าอีกหนึ่งไฮไลท์กิจกรรมหนีไม่พ้นโครงการ “พัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเยาวชนชาวเล จ. ภูเก็ต”

 

เพราะนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มชาวเลชาติพันธุ์ได้มีโอกาสพบปะ ร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในชุมชนแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งคือจัดกิจกรรมอบรม “นักข่าวพลเมือง” ให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการด้วยอย่างล่าสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็มีการเปิดอบรมอีกครั้งที่โรงแรมไอเฟล อินน์ จ.ระนอง โดย “ปราโมทย์ แสนสวาสดิ์” ผู้ประสานงานโครงการบรรยายหลักคิด กว่าจะเป็นกิจกรรมกับ “ทีมกระจายสุข” ว่า หลังจากเกิดเหตุสึนามิ เมื่อปี 2547 ทำให้สังคมได้รับรู้ว่า 6 จังหวัดของชายฝั่งอันดามัน มีชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวเล”ซึ่งมีประชากรกระจายกว่า 30 ชุมชน รวมกว่า 10,000 คน อยู่ แต่ถึงเช่นนั้นสังคมทั่วไปยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับชาวเล จนส่งผลกับคนกลุ่มนี้ในหลายมิติ ทั้งการประกอบอาชีพ การศึกษา จนทำให้เยาวชนรู้สึกเป็นปมด้อย ไม่มีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ดั้งเดิม

 

“เริ่มแรกเราจึงต้องการให้เขาภูมิใจในตัวเอง และมีวิธีการจะบอกเรื่องราวกับคนในวงกว้างด้วยการผลิตสื่อเพราะเราชื่อว่าสื่อมีพลัง การกระตุ้นให้เขาหันมาสนใจปัญหาของตนเองเป็นจุดเริ่มในการแก้ปัญหา แต่บางครั้งสื่อมาช่วยแต่การสื่อสารอาจที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เราเลยพยายามผลักดันให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการข่าว ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้เมื่อกลับไปในพื้นที่เด็กๆ จะไปขยายความรู้สู่เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาเข้าร่วมและคงมีสักกลุ่มหนึ่งที่ลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งต้องใช้ทักษะและเวลาอีกสักพักใหญ่” นายปราโมทย์ กล่าว

 

หากถึงจะเป็นแค่มือสมัครเล่นแต่ถ้าใครลองมานั่งสังเกตการณ์อย่างเราก็จะเห็นว่าการฝึกอบรมของเพื่อนๆครั้งนี้ไม่แพ้มืออาชีพเลยทีเดียว กระบวนการฝึกทักษะนั้นเริ่มตั้งแต่ อธิบายเรื่องการเขียนข่าว การคิดประเด็นข่าว โดยยกตัวอย่างและเปิดข่าวจากรายการนักข่าวพลเมืองให้เด็ก ๆดู หลังจากนั้นสอนวิธีการใช้อุปกรณ์ โดยสอนการใช้เครื่องมือ การรู้จักขนาดของภาพ ระยะใกล้-ไกลที่ควรใช้ในการนำเสนอ

 

ก่อนที่หลังจากนั้นจะแบ่งทีมเป็น 2 กลุ่ม เพื่อลงพื้นที่ไปในสถานที่ที่จัดไว้ให้คือไปน้ำพุร้อน รักษะวารินทร์ และกลุ่ม “ฅนเล” ไปตลาดใหม่ระนองธานี เพื่อให้เยาวชนผลิตเนื้อหามานำเสนอในมุมใดมุมหนึ่ง (งานนี้เรียกได้ว่าเที่ยวไปเรียนไปเลยทีเดียว) “ฉัตรชัย ประโมงกิจ”หนุ่มน้อยผู้ร่วมกิจกรรม เล่าว่า เริ่มทีเดียวก่อนไปลงพื้นที่ ที่น้ำพุร้อนรักษะวารินทร์นั้น พวกตนมีการคิดประเด็นไว้แล้ว โดยมีเนื้อหาหลักเน้นไปทางว่าการนำเสนอเรื่องการท่องเที่ยว แต่อุปสรรของฝนที่ตกตลอดทั้งวัน ทำให้ต้องเปลี่ยนแผน เน้นไปที่เรื่องราวของเจ้าของร้านขายของที่ระลึกแทน “แต่สุดท้ายก็ไม่ค่อยได้สัมภาษณ์ใคร เพราะเขาพร้อมที่จะเล่าแต่ไม่อยากออกกล้อง เราจึงได้ข้อมูลมา แต่ไม่มีภาพ เลยไปขอจากกลุ่มอื่นๆมาประกอบ โดยเอาข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดมาผสมเข้าไป แล้วเรียกความสนใจด้วยคำขวัญเป็นตัวเปิดเรื่อง”เขาว่าถึงกระบวนการทำงาน ที่คล้ายกับต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา

 

ขณะที่เยาวชนอื่นๆนั้นก็ดูจะสนใจในประเด็นเรื่องราวที่แตกต่างกัน อาทิ อยากสะท้อนปัญหาเรื่องที่ดินสำหรับอยู่อาศัยของชาวอูรัคราโว้ย ใน ต.ราไวย์ ที่ตอนนี้นายทุกกำลังรุกรานเข้ามาและพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ครอบครองการไม่รู้หนังสือ แล้วถูกนายทุนหลอกให้ประทับลายนิ้วมือในหนังสือขอเช่าที่ ผมว่าเรื่องนี้คุกคามคนในพื้นที่อย่างหนัก แต่การทำข่าวเพื่อเผยแพร่จะช่วยเราให้คนนอกเข้าใจและรับรู้เรื่องราวของเรามากขึ้น” หนึ่งในผู้ร่วมเข้าอบรมพูด ทั้งนี้เช่นเดียวกับประเด็นด้านเช่นประเพณี วัฒนธรรม ขอชาวอูรัคลาโว้ย ที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน

“บัญชา หาดทรายทอง” ตัวแทนจากกลุ่ม “ฅนเล” บอกกับเราถึงการทำงานของเขาว่า ต้องการทำเรื่อง ความแตกต่างด้านการค้าขายระหว่างพม่ากับไทย เพราะระนองเป็นพื้นที่ ชายแดน จึงลงพื้นที่ ตลาดใหม่ระนองธานี ระหว่างที่ทำการพูดคุย ได้ทราบเรื่องข้อกฎหมายที่ห้ามชาวต่างชาติทำธุรกิจในประเทศไทย แต่ไม่มีใครยอมให้สัมภาษณ์เรื่องดังกล่าว จึงมุ่งไปที่การพูดพูดคุยกับชาวพม่า และบรรยากาศการอบรมของนักข่าวพลเมืองในครั้งนี้แทน แม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่สำหรับผู้ที่ติดตามก็คงจะเห็นถึงพัฒนาการในก้าวแรกที่คนชายขอบอย่างเด็กชาวเลจะร่วมมีโอกาสในการทำกิจกรรมเช่นนี้ แน่นอนว่าถึงผลลัพธ์ที่ได้จะไม่สวยหรูนัก แต่มันก็เรียกรอยยิ้มจากพวกเขาได้มากโขอยู่

ผลงานชิ้นแรกของเด็กๆ

ติดตามผลงานของกลุ่ม sea king ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=69SbvT-M5W4

ติดตามผลงานของกลุ่ม ฅนเล ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=dX68VZS_B8w

หมายเลขบันทึก: 491430เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท