พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก


การพัฒนา Multimodal Transport ของแต่ละประเทศนั้น จะต้องวิเคราะห์โดยอาศัยเหตุและปัจจัยที่แจกต่างกันไปอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงการคำนึงถึงความเป็นสากลและการยอมรับจากต่างชาติด้วย

                                โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกันกันในเวลาอันรวดเร็ว เราจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้ามารองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในวันนี้

 

                                ในการประกอบการทำการค้าระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายประการที่ต้องคำนึงถึง และต้องอาศัยกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในแทบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้กฎหมายในการเข้าทำสัญญา การเลือกวิธีการชำระราคา การส่งมอบ การขนส่ง และการประกันภัย เป็นต้น

                                 เศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตก้าวหน้าไปด้วยดี ด้วยเหตุที่มีการวางรากฐานของกฎหมายที่สอดคล้องและเป็นธรรมกับความเปลี่ยนแปลงของโลก 

                                พระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548

                               เป็นอีกหน้าหนึ่งของการพัฒนาในวงการกฎหมายไทย ที่ตระหนักและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อการทำการค้าระหว่างประเทศ กับทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport) อีกทางหนึ่งด้วย                               

                                       เพื่อความเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคตอันใกล้  ให้ประเทศไทยเป็นเวทีหนึ่งที่น่าสนใจในการเข้ามาลงทุน นำมาซึ่งสร้างงาน และนำมาซึ่งรายได้  และเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป                               

        [ข้อมูลโดยสังเขป]

 

                                ชื่อกฎหมาย    พระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548

 

                                หลักการและเหตุผล

                               โดยที่รูปแบบของการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศได้พัฒนาไปจากเดิมที่มีลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งสินค้าจากท่าเรือถึงท่าเรือ หรือจากท่าอากาศยานถึงท่าอากาศยานจนสามารถขยายบริการเป็นลักษณะจากจุดรับมอบสินค้าที่ต้นทางจนถึงจุดส่งมอบสินค้าที่ปลายทางมีรูปแบบหรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบหรือหนึ่งประเภท ภายใต้สัญญาขนส่งเพียงฉบับเดียว ฉะนั้น จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและหลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการเพื่อรองรับการบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดังกล่าว และเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูงมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต 

                                จำนวนมาตรา    80 มาตรา (4 หมวด)

 

                                วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ   ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

                                หน่วยงานที่รับผิดชอบ   กระทรวงคมนาคม

ที่มาตัวบท : ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 122 ตอนที่ 61ก วันที่ 27 กรกฎาคม 2548   [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00167847.PDF]

หมายเลขบันทึก: 49137เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  •  แวะมาทักทายน้องลิครับ
  •  ทำไม ? อยูระหว่างดำเนินการนานจังเลย รออ่านอยู่นะ...

 

      

จัดให้เบื้องต้นมาเป็น"ของว่าง" เรียกน้ำย่อยก่อนค่ะคุณฉัตรชัย

barbapapa.jpg

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท