เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล : หนูรอ... ก็ไม่เหงา ก็ไม่เครียด


จัดหาที่นั่งรออย่างมีความสุข การได้เล่นในสิ่งที่ชอบ ช่วยลดความวิตกกังวล ลดความเครียด

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องเล่าจากโรงพยาบาล เป็นภาพดีๆจากน้องนักรังสีเทคนิค โรงพยาบาลรามาธิบดี คณแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยากให้ช่วยแนะนำ เพื่อเผยแพร่ ต่อยอดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการต่อไป


โครงการ หนูรอ... ก็ไม่เหงา ก็ไม่เครียด



ความเป็นมา ผู้รับบริการที่เป็นเด็ก เมื่อต้องมารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่โรงพยาบาล หลายคนจะเกิดความกลัว มีความวิตกกังวล มีความเครียด เนื่องจากส่วนใหญ่รับรู้มาว่า เมื่อมารับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล หรือ คลินิก ต้องกินยา ฉีดยา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เด็กๆไม่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเข้าห้องตรวจหรือเครื่องมือตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย ที่มีรูปร่างหน้าตาแบบแปลกๆ  ที่เด็กไม่เคยเห็นมาก่อน ยิ่งทำให้เกิดความกลัว


ลักษณะของผลงาน : เป็นการจัดพื้นที่ให้บริการบางส่วน พร้อมกับจัดหาและวางของเล่นสำหรับเด็กระหว่างรอเข้าห้องตรวจ    


 

วิธีดำเนินการ : ที่บริเวณด้านหน้าห้องตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตร้าซาวน์ด (Ultrasound) ได้จัดที่นั่งรอให้น้องหนูเป็นพิเศษ พร้อมจัดหาของเล่นชนิดต่างๆ ให้เด็กได้เล่นสนุก เพลิดเพลินกับเครื่องเล่นเหล่านั้น เพื่อต้องการให้น้องหนูได้ปรับตัวให้เข้ารับสภาพแวดล้อม ก่อนเข้าห้องตรวจ ทำให้ลดความรู้สึกวิตกกังวลที่ต้องรอรับบริการตรวจที่(อาจจะ)นาน รวมถึงช่วยลดความกลัว ความเครียดที่มีต่อโรงพยาบาล


(โอกาสพัฒนา หากมีเครื่องอัลตร้าซาวน์ดที่ชำรุด หรือไม่ได้ใช้งานแล้ว อาจจะนำมาวางไว้ เพื่อให้เด็กๆได้เห็น สร้างความคุ้นเคยกับเครื่องมือที่เด็กต้องเข้ารับการตรวจ) 




ผลสัมฤทธิ์ : “งานเห็นผล คนเป็นสุข” เมื่อดำเนินการแล้ว พบว่า... เด็กๆที่มารอรับบริการ มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส มีความสุข สนุกกับของเล่นชนิดต่างๆ


เมื่อพาเด็กเข้าห้องตรวจ พบว่า... (โอกาสพัฒนา ลองเก็บข้อมูลดูว่า มีกี่คนที่กลัวและไม่กลัว) 




ความภาคภูมิใจ : รอยยิ้มของผู้รับบริการ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการมีความสุข เนื่องจากไม่ต้องเห็นน้ำตาของเด็กๆ ที่ต้องร้องไห้ เมื่อเข้าห้องตรวจ การให้บริการรวดเร็วขึ้น เนื่องจากเด็กให้ความร่วมมือมากขึ้น เด็กยิ้มแย้ม หัวเราะระหว่างรอตรวจ


(โอกาสพัฒนา ประเมินผลการดำเนินการด้วยการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ+รังสีแพทย์ เก็บข้อมูลระยะเวลาเปรียบเทียบ เด็กที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับเด็กที่ให้ความร่วมมือในการเข้าตรวจ)




ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : ทีมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานตระหนักในหน้าที่การให้บริการ คิดถึงใจเขา ใจเรา เห็นผู้รับบริการดุจญาติมิตร มองหาปัญหาที่เกิดจากการให้บริการ และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน



ข้อเสนอแนะ :

1. ควรจัดระบบการทำความสะอาด ดูแลที่นั่งเล่น ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องเล่นชนิดต่างๆ (เช่น ตุ๊กตาซ่อมแซม ทำความสะอาด นำไปตากแดด ล้าง อบรมฆ่าเชื้อโรค)

2. เลือกเครื่องเล่นที่ไม่เป็นอันตรายกับเด็ก

3. อาจมีการตบแต่งพื้นที่ให้เด็กสนใจมากขึ้น เช่น การวาดรูปการ์ตูนติดผนัง

4. หากมีงบประมาณมากขึ้น เลือกนำเสนอรายการทีวีสำหรับเด็ก มีรายการความรู้แก่เด็กและผู้ปกครอง

5. จัดหนักกว่าเดิม เช่น หากเป็นการตรวจเฉพาะวันเด็ก ให้บุคลากรแต่งตัวที่เด็กสนใจ เช่น

จากชุดนางพยาบาล เป็น ชุดนางฟ้า

จากพนักงานเปล เช่น สไปเดอร์แมน

6. ที่สำคัญ คือ การประเมินผลการดำเนินการ ว่า... ตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการจัดบริการแบบพิเศษนี้อย่างไร


ที่นำเสนอมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ผลสำเร็จจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และที่สำคัญคือ รอยยิ้มของทุกคน ทำให้โลกน่าอยู่ ครับ

หมายเลขบันทึก: 491132เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ชอบแนวคิดค่ะ.."เปลี่ยน..จากชุดนางพยาบาล เป็น.. ชุดนางฟ้า" "จากพนักงานเปล เช่น สไปเดอร์แมน".. ที่ศูนย์อนามัยก็มีมุมสำหรับเด็ก และมุมให้นมลูก "สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่(Breast feeding)"

เรียน คุณฐิตินันท์ ลองปรับเปลี่ยนบางส่วนของที่ทำงานให้น่ารัก เพื่อเด็กๆ ดูนะครับ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท